ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่
ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ (อังกฤษ: Modern Standard Arabic, MSA) หรือ ภาษาอาหรับรูปเขียนสมัยใหม่ (Modern Written Arabic, MWA)[3] ที่นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ใช้[4] เป็นภาษาอาหรับรูปแบบมาตรฐานที่พัฒนาในโลกอาหรับเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอาหรับรูปแบบนี้ใช้งานในวรรณกรรม, สถาบันการศึกษา, สื่อสิ่งพิมพ์กับสื่อมวลชน, กฎหมายและนิติบัญญัติ แม้ว่าจะไม่พูดเป็นภาษาแม่ ซึ่งคล้ายกับภาษาละตินร่วมสมัย[4] นักภาษาศาสตร์หลายคนจัดให้ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่มีความแตกต่างจากภาษาอาหรับคลาสสิก ซึ่งเป็นภาษาเขียนก่อนช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 แม้ว่าไม่มีข้อตกลงว่าเมื่อใดที่ภาษาอาหรับคลาสสิกกลายเป็นภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่[5] นอกจากนี้ ยังไม่มีชุดเกณฑ์ทางภาษาที่ตกลงกันซึ่งจะแยกแยะภาษาอาหรับคลาสสิกกับภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่[5] ผู้พูดภาษาอาหรับเป็นภาษาแม่โดยทั่วไปไม่แยกระหว่าง "ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่" กับ "ภาษาอาหรับคลาสสิก" เป็นภาษาต่างหาก แต่จะเรียกทั้งสองเป็น อัลอะเราะบียะตุลฟุศฮา (العربية الفصحى) หมายถึง "ภาษาอาหรับแบบพูด"[6] โดยถือว่าเป็นภาษาเดียวที่แบ่งออกเป็นสองยุค โดยจะแยกความแตกต่างเป็น فصحى العصر ฟุศฮา อัลอัศร์ (อาหรับมาตรฐานสมัยใหม่) กับ فصحى التراث ฟุศฮา อัตตุรอษ (อาหรับคลาสสิก)[6] ประวัติภาษาอาหรับคลาสสิกภาษาอาหรับคลาสสิกหรือภาษาอาหรับอัลกุรอ่านเป็นภาษาที่ใช้ในอัลกุรอ่านและวรรณกรรมในสมัยราชวงศ์อุมัยยัดและอับบาสิดเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 – 14 ภาษานี้ถือเป็นภาษาต้นกำเนิดของภาษาพูดรูปแบบต่าง ๆ ของภาษาอาหรับ แต่บางคนก็มองว่าภาษาอาระเบียเหนือโบราณหลายสำเนียงที่ใช้พูดในพุทธศตวรรษที่ 12 อาจจะเป็นจุดกำเนิดของภาษาพูดด้วย ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ภาษานี้จัดเป็นมาตรฐานของภาษาเขียนในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ และเป็นหนึ่งในภาษาราชการ 6 ภาษาของสหประชาชาติ เอกสารในโลกอาหรับเช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสารราชการ และแบบหัดอ่านสำหรับเด็กจะเขียนด้วยภาษามาตรฐานนี้ จัดเป็นภาษาราชการของประเทศอาหรับทุกประเทศ และใช้สอนในโรงเรียนทุกระดับ สถานะของภาษาเชิงสังคมของภาษาอาหรับในโลกปัจจุบันเป็นตัวอย่างของการใช้สำเนียงที่แตกต่างกันของภาษาเดียวกันสองสำเนียงในสถานะทางสังคมที่แตกต่างกัน ผู้พูดภาษาอาหรับที่ได้รับการศึกษาจะสามารถสื่อสารด้วยภาษาอาหรับมาตรฐานในสถานการณ์ที่เป็นทางการในต่างแดนได้ ในกรณีที่สื่อสารด้วยภาษาอาหรับต่างสำเนียงแล้วไม่เข้าใจกัน การเปลี่ยนจากภาษาอาหรับคลาสสิกเป็นภาษามาตรฐานสมัยใหม่ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่จะมีศัพท์ที่จัดว่าแปลกสำหรับผู้ใช้ภาษาอาหรับคลาสสิก ซึ่งอาจยืมมาจากภาษาอื่นเช่น فيلم ฟิล์ม หรือสร้างจากรากศัพท์เดิมที่มีอยู่แล้วเช่น هاتف hātif หมายถึงโทรศัพท์ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่มีโครงสร้างของภาษาที่ได้รับจากภาษาอื่น เช่นในภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่มีโครงสร้าง "X, X, X, และ X" แต่ในภาษาอาหรับคลาสสิกใช้ "X และ X และ X และ X" และพบประโยคที่ขึ้นด้วยประธานในภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่มากกว่า ในกลุ่มของผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาอาหรับจะถือว่าภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่กับภาษาอาหรับคลาสสิกเป็นคนละภาษา โดยต่างกันในด้านรูปแบบ รากศัพท์และการเพิ่มสิ่งใหม่ที่ไม่ได้ถูกควบคุมโดยเข้มงวดตามกฎของภาษาอาหรับคลาสสิก อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่จะมีความแตกต่างในแต่ละบริเวณขึ้นกับอิทธิพลของภาษาอาหรับท้องถิ่นและอิทธิพลของภาษาต่างชาติเช่น ภาษาฝรั่งเศสในแอฟริกาเหนือและเลบานอน ภาษาอังกฤษในอียิปต์และจอร์แดนเป็นต้น ความแตกต่างในแต่ละพื้นที่ภาษาอาหรับมาตรฐานมีการใช้ในรูปแบบเดียวกันทั่วตะวันออกกลาง แต่จะมีความแตกต่างที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาพูดอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น ในอัลญาซีรา โฆษกที่พูดภาษาอาหรับมาตรฐานจะเปลี่ยนการออกเสียงบางหน่วยเสียงตามแบบสำเนียงอียิปต์ เช่นออกเสียงج เป็น [ɡ] หรืออาจต่างกันที่การเน้นคำ การออกเสียงสระ และพยัญชนะบางตัว หมายเหตุอ้างอิง
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
|