คีธ แฮริง |
---|
แฮริงในปีค.ศ. 1988 | เกิด | คีธ อัลเลน แฮริง 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1958(1958-05-04) รีดดิง , รัฐเพนซิลเวเนีย, สหรัฐ |
---|
เสียชีวิต | กุมภาพันธ์ 16, 1990(1990-02-16) (31 ปี) นครนิวยอร์ก, สหรัฐ |
---|
สาเหตุเสียชีวิต | ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเอดส์ |
---|
การศึกษา | - ดิไอวีสคูลออฟวิชวลอาร์ตส์
- สคูลออฟวิชวลอาร์ตส์นครนิวยอร์ก
|
---|
ผลงานเด่น |
- คีธ แฮริง มูรัล (1984)
- แครกอิสแวก (1986)
- ทาวเวอร์ (1987)
- โตโดส ฆุนโตส โปเดโมส ปาราร์ เอล ซิดา (1989)
- ตุตโตมอนโด (1989)
|
---|
ขบวนการ | |
---|
เว็บไซต์ | www.haring.com |
---|
ลายมือชื่อ |
---|
|
คีธ อัลเลน แฮริง (อังกฤษ: Keith Allen Haring; 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1958 – 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990) เป็นศิลปินชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นงานศิลปะประชานิยมที่เกิดจากกลุ่มวัฒนธรรมย่อยรอยขูดขีดเขียนในนครนิวยอร์กช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 รูปภาพแอนิเมชันของเขา "กลายเป็นภาษาภาพที่ได้การยอมรับอย่างกว้างขวาง"[2] ผลงานส่วนใหญ่ของเขามีทั้งการพาดพิงถึงเรื่องเพศซึ่งนำไปสู่การเคลื่อนไหวของสังคมในการใช้รูปภาพสนับสนุนเรื่องการร่วมเพศอย่างปลอดภัย และการรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ นอกจากนี้ผลงานของเขายังได้ถูกจัดแสดงในงานนิทรรศการศิลปะมากมาย ซึ่งเขาได้มีส่วนร่วมในการแสดงผลงานทั้งในระดับประเทศ และในระดับนานาชาติ อาทิ ดอคูเมนทา ในคัสเซิล, งานนิทรรศการศิลปะวิตนีย์ ในนครนิวยอร์ก, งานนิทรรศการศิลปะเซาเปาลู และงานนิทรรศการศิลปะเวนิส โดยพิพิธภัณฑ์วิตนีย์ได้จัดแสดงนิทรรศการศิลปะของผลงานแฮริงอีกครั้งในปี ค.ศ. 1997
ความนิยมของแฮริงได้พัฒนาขึ้นจากการที่เขาได้ไปวาดภาพในรถไฟใต้ดินนครนิวยอร์กโดยใช้ชอล์กวาดร่างทั้งในรูปแบบของรูปทรงที่หลากหลาย, รูปสุนัข และรูปภาพแบบสมัยใหม่บนพื้นที่สีดำที่วางเปล่า[4] หลังจากที่เขาเริ่มได้รับการยอมรับจากสาธารณชนมากขึ้น แฮริงก็ได้เริ่มสร้างสรรค์ผลงานสีสันขนาดใหญ่บนกำแพงเป็นจำนวนมาก[4] เขาได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะในที่สาธารณะมากกว่า 50 ชิ้นในช่วงปีค.ศ. 1982 ถึง 1989 ผลงานหลายชิ้นที่เขาสร้างขึ้นได้ถูกบริจาคไปให้กับโรงพยาบาล, ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก และโรงเรียน ในปีค.ศ.1986 แฮริงได้ทำการเปิดกิจการป็อปช็อปเพื่อเป็นการขยายผลงานของเขา ซึ่งผลงานในช่วงหลังของเขามักจะสื่อถึงประเด็นทางการเมือง และสังคมเป็นส่วนใหญ่ ทั้งในประเด็นการต่อต้านโคเคน, ประเด็นการต่อต้านการถือผิว, การร่วมเพศอย่างปลอดภัย, รักร่วมเพศ และโรคเอดส์ ซึ่งผ่านการยึดถือของเขาเอง[5]
ด้านชีวิตส่วนตัวแฮริงได้ออกมาเปิดเผยว่าเขาเป็นเกย์[6] แฮริงได้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990[7][8] ในปีค.ศ. 2014 ชื่อของเขาได้ถูกจารึกลงในถนนเกียรติยศสายรุ้ง ณ ซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นถนนที่รวบรวมรายชื่อของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่มีส่วนสำคัญในสายอาชีพของตนเอง[9][10][11] ในปีค.ศ. 2019 เขาได้รับการจารึกชื่อให้เป็น 1 ใน 50 ของชาวอเมริกันที่เป็น "ผู้ริเริ่ม, ผู้บุกเบิก และวีรบุรุษ" บนกำแพงเกียรติยศแอลจีบีทีคิวแห่งชาติซึ่งอยู่ภายในอนุสาวรีย์แห่งชาติสโตนวอลล์ ณ สโตนวอลล์อินน์, นครนิวยอร์ก[12][13]
อ้างอิง
- ↑ Haggerty, George (November 5, 2013). Encyclopedia of Gay Histories and Cultures. Taylor & Francis. pp. 425–. ISBN 978-1-135-58513-6. สืบค้นเมื่อ September 7, 2014.
- ↑ 4.0 4.1 Holmes, Julia (October 1, 2002). 100 New Yorkers: A Guide To Illustrious Lives & Locations. Little Bookroom. pp. 98–99. ISBN 978-1-892145-31-4. สืบค้นเมื่อ September 7, 2014.
- ↑ Hamilton, Denise (December 1, 1989). "Artist With AIDS Races the Clock to Spread His Message: Art: The painter, who started his career by scrawling graffiti on subway cars, was at Art Center to paint a mural for 'A Day Without Art.'". Los Angeles Times.
{{cite news}} : CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ Steele, Tom (May 2005). "Keith Haring". Out: 46.
- ↑ Young, Michelle (September 17, 2020). "See Inside Keith Haring's Last Apartment in NYC". Untapped New York (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ May 5, 2021.
{{cite web}} : CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ Yarrow, Andrew L. (February 17, 1990). "Keith Haring, artist, Dies at 31; Career Began in Subway Graffiti". The New York Times. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
- ↑ Shelter, Scott (March 14, 2016). "The Rainbow Honor Walk: San Francisco's LGBT Walk of Fame". Quirky Travel Guy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ July 28, 2019.
- ↑ "Castro's Rainbow Honor Walk Dedicated Today". SFist. September 2, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2019. สืบค้นเมื่อ August 13, 2019.
- ↑ Carnivele, Gary (July 2, 2016). "Second LGBT Honorees Selected for San Francisco's Rainbow Honor Walk". We The People. สืบค้นเมื่อ August 12, 2019.
- ↑ Glasses-Baker, Becca (June 27, 2019). "National LGBTQ Wall of Honor unveiled at Stonewall Inn". www.metro.us. สืบค้นเมื่อ June 28, 2019.
- ↑ Rawles, Timothy (June 19, 2019). "National LGBTQ Wall of Honor to be unveiled at historic Stonewall Inn". San Diego Gay and Lesbian News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ June 21, 2019.
บรรณานุกรม
หนังสือเพิ่มเติม
- Haring, Keith. Keith Haring Journals, Penguin Classics, 2010. ISBN 978-0143105978
- Reading Public Museum, Keith Haring: Journey of the Radiant Baby, Piermont, New Hampshire : Bunker Hill Publishing Co., 2006. ISBN 978-1-59373-052-9
- Van Pee, Yasmine. Boredom is always counterrevolutionary: art in downtown New York nightclubs, 1978–1985 (M.A. thesis, Center for Curatorial Studies at Bard College, 2004)
แหล่งข้อมูลอื่น
—
|
---|
นานาชาติ | |
---|
ประจำชาติ | |
---|
วิชาการ | |
---|
ศิลปิน | |
---|
ประชาชน | |
---|
อื่น ๆ | |
---|
|