ฆี คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) พลังงาน 3,690 กิโลจูล (880 กิโลแคลอรี) 99.8 g
อิ่มตัว 64.9 g
0.2g
แร่ธาตุ โพแทสเซียม (0%)
6.5 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
ฆี (อักษรโรมัน : Ghee) เป็นเนยใส ประเภทหนึ่งที่มีที่มาจากอนุทวีปอินเดีย ใช้งานทั้งในการประกอบอาหาร, เป็นยารักษาโรค และเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา ฆีเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประกอบอาหารต่าง ๆ ของอนุทวีปอินเดีย ตั้งแต่บิรยานี ไปจนถึงพวกของทอดกรอบ องค์ประกอบรสหลักของฆีมาจากสารคาร์บอนิล , กรดไขมันอิสระ , แล็กโทน และ แอลกอฮอล์ [ 1] ฆีเป็นไขมันที่นำมาใช้ทอดกรอบ ได้ดีเนื่องจากมีจุดเกิดควัน อยู่ที่ 250 องศาเซลเซียส (482 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งสูงกว่า 200 องศาเซลเซียส (392 องศาฟาเรนไฮต์) และสูงกว่าจุดเกิดควันของน้ำมันพืชส่วนใหญ่[ 2]
สูตรสำหรับทำฆีตามธรรมเนียมแบบอายุรเวท ระบุว่าทำโดยการนำนมดิบมาต้มเดือด ทิ้งไว้ให้เย็นลงที่อุณหภูมิห้องนาน 12 ชั่วโมง จากนั้นเติมดาหี (โยเกิร์ต) และทิ้งไว้ข้ามคืน จากนั้นนำไปคนกับน้ำ และนำไปเคี่ยวกลายเป็นฆี[ 3]
ศัพทมูล
คำว่า ghee มาจากคำว่า "ฆฤต" (สันสกฤต : घृत ; ghṛta- , สัทอักษรสากล: [ɡʱr̩tɐ] ) 'เนยใส', จากราก ฆฤ- 'โปรย'[ 4] ส่วนในภาษากลุ่มทราวิฑ เรียกฆีว่า นฺยฺยิ (เตลูกู : నెయ్యి ; neyyi ), นฺยฺ (ทมิฬ : நெய் หรือ ตุปปะกัม; துப்பகம் (tuppakam )), นฺยฺยฺ (มลยาฬัม : നെയ്യ് (ney ))[ 5] และ ตุปฺป (กันนาดา : ತುಪ್ಪ (thuppa ))[ 6] คำว่า เนย ในภาษาไทยมีที่มาจาก นฺยฺ ในภาษาทมิฬ
ฆีต่างกับเนยใส เล็กน้อยที่ขั้นตอนการผลิต ขบวนการผลิตเนยใสโดยทั่วไปจะเสร็จสิ้นเมื่อน้ำระเหยออกและแยกไขมัน (เนยใส) ออกจากเนื้อนมที่เหลือ ในขณะที่การผลิตฆีต้องมีการเคี่ยวเนยนั้น ซึ่งทำให้ฆีมีรสคล้ายถั่วและมีกลิ่นหอม[ 7] [ 8] [ 9] [ 10]
ในศาสนาฮินดูและพุทธ
ฆีปรากฏในการบูชา มูรติ ด้วย อารตี หรือการบูชาเพลิงจากตะเกียงที่ใช้ฆี ที่เรียกว่า ทีป และในการบูชา ปัญจามฤต (Pañcāmṛta ) ซึ่งถวายบูชาฆี, มิศรี , น้ำผึ้ง , นม และ ดาหี เพื่อชำระล้างเทวรูปของพระกฤษณะ ในเทศกาลชนมาษฏมี หรือ พระศิวะ ในเทศกาลมหาศิวราตรี นอกจากนี้ในศาสนาฮินดูยังมีบทสวดบูชา ที่มีการระบุถึงฆีด้วย[ 11] ส่วนใน มหาภารตะ เล่าว่าตระกูล เการวะ เกิดมาจากหม้อฆี[ 12]
นอกจากนี้ยังมีการใช้ฆีผสมใน ภาง เพื่อให้ความร้อนแก่กัญชา เกิดกระบวนการดีคาร์บอกซีเลชั่น ทำให้กัญชาสามารถออกฤทธิ์ทางจิตประสาท ได้[ 13] [ 14]
ในวรรณกรรมศาสนาพุทธ ยังมีการเปรียบเปรยขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์จากนมกับขั้นต่าง ๆ ของการตรัสรู้ โดยผลผลิตขั้นสูงสุด สรปิรมณฑ์ นั้นว่ากันว่าคือฆีหรือเนยใส[ 15]
คุณค่าทางสารอาหาร
ฆีประกอบไปด้วยไขมันเกือบทั้งหมด โดย 62% คิดเป็นไขมันอิ่มตัว [ 16] นอกจากนี้ ฆีแบบจำหน่ายที่พบทั่วไปในอินเดียยังมีองค์ประกอบของไขมันทรานส์ อยู่มาก[ 17] ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ ฆียังเต็มไปด้วยออกซิไดส์ดคลอเลสเตอรอล อยู่ที่ 259 μg/g หรือคิดเป็น 12.3% ของปริมาณคลอเรสเตอรอลทั้งหมดในฆี[ 18] [ 19] ส่วนแลกโทส กับ เคซีน นั้นมีน้อยมากในฆี ทำให้สามารถรับประทานได้ในผู้ที่มีภาวะไม่ต้านทานต่อแลกโทส [ 20] [ 21]
อ้างอิง
↑ Rama Murthy, M.K. (1980). "Factors Affecting the Composition, Flavour and Textural Properties of Ghee" (PDF) . Indian Dairyman . 32 : 765–768.
↑ "What are the advantages and disadvantages of butter and ghee when it comes to cooking?" . whfoods.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 4 April 2015. สืบค้นเมื่อ 11 May 2015 .
↑ Joshi, KS (2014). "Docosahexaenoic acid content is significantly higher in ghrita prepared by traditional Ayurvedic method" . J Ayurveda Integr Med . 5 (2): 85–88. doi :10.4103/0975-9476.131730 . PMC 4061595 . PMID 24948858 .
↑ as contrasted with navanīta 'fresh butter': Carl Darling Buck, A Dictionary of Selected Synonyms in the Principal Indo-European Languages , 1949, reprinted 1992 ISBN 0226079376 , p. 399, §5.89 'Butter'
↑ Fabricius, Johann Philipp (1972). J.P. Fabricius's Tamil and English dictionary . Tranquebar : Evangelical Lutheran Mission Pub. House. OCLC 744777832 .
↑ Kittel, F. (1968). Kittel's Kannaḍa-English dictionary . University of Madras. OCLC 132132 .
↑ Landis, Denise (2003). All About Ghee New York Times - Food Chain
↑ Iyer, Raghavan (2008). 660 Curries, p. 21. New York: Workman Publishing ISBN 978-0-7611-3787-0
↑ Jaffrey, Madhur (1982). Madhur Jaffrey's Indian Cooking, p. 211. London: BBC Books. ISBN 0-8120-6548-4
↑ Sahni, Julie (1998). Julie Sahni's Introduction to Indian Cooking, p. 217 under "usli ghee." Berkeley: Ten Speed Press. ISBN 0-89815-976-8
↑ Language and Style of the Vedic Rsis , Tatyana Jakovlevna Elizarenkova (C) 1995, p. 18.
↑ Fitzgerald, James L.; Adrianus, Johannes; Buitenen, Bernardus (2003-02-15). The Mahabharata, Volume 7: Book 11: The Book of the Women Book 12 ..., Part 1 . p. 613. ISBN 9780226252506 .
↑ Gottlieb, Adam (1993). Cooking with Cannabis: The Most Effective Methods of Preparing Food and Drink with Marijuana, Hashish, and Hash Oil . Ronin Publishing. p. 7 . ISBN 978-0-914171-55-3 .
↑ Drake, Bill (2002). The Marijuana Food Handbook . Ronin Publishing. p. 18 . ISBN 978-0-914171-99-7 .
↑ Petzold, Bruno (1995). The Classification of Buddhism . ISBN 9783447033732 .
↑ "Nutrition data for Butter oil, anhydrous (ghee) per 100 gram reference amount" . US Department of Agriculture, National Nutrient Database. May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-04-03. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018 .
↑ Mahapatra, Deepti (18 October 2010). "Evaluation of trans fatty acids contents in commercial brands of ghee available at Indian markets" . Scientific Research and Essays . 5 (20): 3193–3200.
↑ Otaegui-Arrazola, A.; Menéndez-Carreño, M.; Ansorena, D.; Astiasarán, I. (December 2010). "Oxysterols: A world to explore". Food and Chemical Toxicology . 48 (12): 3289–3303. doi :10.1016/j.fct.2010.09.023 . hdl :10171/22994 . ISSN 1873-6351 . PMID 20870006 .
↑ Jacobson, M. S. (1987-09-19). "Cholesterol oxides in Indian ghee: possible cause of unexplained high risk of atherosclerosis in Indian immigrant populations". Lancet . 2 (8560): 656–658. doi :10.1016/s0140-6736(87)92443-3 . ISSN 0140-6736 . PMID 2887943 . S2CID 19854410 .
↑ Heid, Markham (22 April 2019). "Is Ghee Healthy? Here's What the Science Says" . Time . สืบค้นเมื่อ 10 April 2021 .
↑ Abarbanel, Aliza (5 April 2018). "What Is Ghee, the Clarified Butter We Could Eat by the Spoon?" . Bon Appétit . สืบค้นเมื่อ 10 April 2021 .