ภาษากันนาดา
ภาษากันนาดา หรือ ภาษากันนะฑะ (กันนาดา: ಕನ್ನಡ) เป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่สำคัญภาษาหนึ่ง ใช้พูดทางภาคใต้ของอินเดีย เป็นภาษาราชการของรัฐกรณาฏกะ เขียนด้วยอักษรกันนาดา เช่นเดียวกับภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ ในรัฐกรณาฏกะ ได้แก่ ภาษาตูลู ภาษาโกทวะ และภาษากอนกานีที่เขียนด้วยอักษรกันนาดาเช่นกัน ภาษากันนาดาได้รับอิทธิพลด้านคำศัพท์จากภาษาสันสกฤตเช่นเดียวกับภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่น ๆ วรรณคดีรุ่นแรก ๆ ที่เขียนด้วยภาษานี้คือ กวิราชมารค (ಕವಿರಾಜಮಾರ್ಗ) โดยจักรพรรดิอโมฆวรรษที่ 1 (นฤปตุงคะ) ประวัติและพัฒนาการภาษากันนาดาเป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่เก่าที่สุด มีประวัติย้อนหลังไปได้ถึง 2,000 ปี [3][4][5][6]ภาษาในรูปแบบภาษาพูดได้แยกอออกจากภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมก่อนภาษาทมิฬและเป็นเวลาใกล้เคียงกับภาษาตูลู จากหลักฐานทางโบราณคดี การเขียนทางการค้าของภาษานี้เริ่มเมื่อราว 1500-1600 ปีมาแล้ว การพัฒนาในระยะแรกเป็นเช่นเดียวกับภาษาดราวิเดียนอื่น ๆ และเป็นอิสระจากภาษาสันสกฤต ในยุคต่อมาจึงได้อิทธิพลทางด้านคำศัพท์และวรรณคดีจากภาษาสันสกฤตเช่นเดียวกับภาษาเตลุกุ ภาษามลยาฬัม และอื่น ๆ จารึกภาษากันนาดาพบครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อราว พ.ศ. 313 [7][8] ศิลาจารึกภาษากันนาดาที่สมบูรณ์ชิ้นแรกคือ ศิลาศาสนะ เขียนด้วยภาษากันนาดาโบราณ รวมทั้งจารึกหัลมิที, อายุราว พ.ศ. 93 [9] จารึกภาษากันนาดาพบในอินเดียราว 40,000 ชิ้น และพบนอกรัฐกรณาฏกะด้วย เช่นที่ รัฐอานธรประเทศ รัฐมหาราษฏระ รัฐทมิฬนาดู รวมทั้งในรัฐมัธยประเทศและรัฐอุตตรประเทศด้วย เหรียญกษาปณ์เหรียญในสมัยราชวงศ์กทัมพะบางส่วนมีจารึกภาษากันนาดา "วิระ" และ "สกันธะ" .[10]เหรียญทองมีคำจารึกว่า "ศรี" และคำย่อของชื่อกษัตริย์ภาคิระกะว่า "ภาคิ" [11] ทั้งหมดนี้ใช้อักษรกันนาดาโบราณ การค้นพบล่าสุดเป็นเหรียญทองแดง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 10 ในพนวาสี ตำบลอุตรกันนาดา ซึ่งมีจารึกศรีมนราคี ใช้อักษรกันนาดาแสดงว่าภาษากันนาดาเป็นภาษาราชการในสมัยราชวงส์กทัมพะแห่งพนวาสี [12] เหรียญที่มีจารึกภาษากันนาดาพบแพร่กระจายทั่วไปในเขตปกครองของราชวงศ์คันคะตะวันตก จลุกยะตะวันตก อลุปัส รัศตรกุตัส โหสาลัส จักรวรรดิวิชัยนคร และอาณาจักรไมซอร์ [13][14][15] เหรียญในสมัยราชวงศ์กทัมพะที่พบในกัวมีลักษณะพิเศษคือมีทั้งอักษรกันนาดาและอักษรเทวนาครี [16] พัฒนาการการเขียนภาษากันนาดาเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลทางศาสนาและสังคมที่หลากหลายในช่วง 1,600 ปีที่ผ่านมา นักภาษาศาสตร์แบ่งการพัฒนาการเขียนเป็น 4 ยุคด้วยกัน คือ
อิทธิพลต่อภาษาและวัฒนธรรมอื่นอิทธิพลของภาษากันนาดาโบราณต่อภาษาในจารึกอักษรทมิฬ-พราหมี ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 343 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 11 มีทั้งด้านไวยากรณ์และรากศัพท์ การเขียนในพุทธศตวรรษที่ 14 ในเขตกวิราชมรรคาซึ่งเป็นบริเวณระหว่างแม่น้ำกาเวรีและแม่น้ำโคธาวารี ซึ่งถือว่าเป็นดินแดนกันนาดาแสดงให้ถึงความนิยมใช้ภาษานี้ ภาษากันนาดามีอิทธิพลต่อภาษาคุชราตซึ่งเป็นภาษาเพื่อนบ้านในขณะนั้นด้วย ก่อนพุทธศตวรรษที่ 6 บริเวณที่มีผู้พูดภาษากันนาดาอยู่ในเส้นทางการค้าของจักรวรรดิกรีก-โรมัน ทำให้ภาษานี้มีการแพร่กระจายไปในวงกว้าง ภาษาที่ปรากฏร่วมกับภาษากันนาดาเช่น ภาษาตูลู ภาษาโกทวะ ภาษาสันเกถิ และภาษากอนกานีจึงมีคำยืมจากภาษากันนาดาจำนวนมาก วรรณคดีและกวีบทกวีภาษากันนาดาที่เก่าที่สุดคือ กัปเป อรภัตตะ เขียนเมื่อ พ.ศ. 1243 กวิราชมรรคา เขียนโดยกษัตริย์หริปตุระ อโมฆวรรษาที่ 1 เป็นวรรณคดีชิ้นแรกของภาษากันนาดา สำเนียงมีความแตกต่างของรูปแบบภาษาที่ใช้ในการพูดและเขียน ภาษาพูดของภาษากันนาดามีแนโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามบริเวณ โดยที่ภาษาเขียนในรัฐกรณาฏกะมีความคงตัวกว่า มีภาษากันนาดาสำเนียงต่าง ๆ กันถึง 20 สำเนียงซึ่งได้รับอิทธิพลจากภูมิหลังทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ภาษากันนาดาใช้พูดในรัฐกรณาฏกะในอินเดียเป็นหลักและแพร่กระจายไปในรัฐใกล้เคียงเช่น รัฐอันธรประเทศ รัฐมหาราษฎระ รัฐทมิฬนาฑู รัฐเกระละและกัว และมีชุมชนที่ใช้ภาษานี้ในสหรัฐ อังกฤษและสิงคโปร์ สถานะการเป็นภาษาราชการภาษากันนาดาเป็น 1 ในภาษาราชการ 22 ภาษาของอินเดียและเป็นภาษาประจำรัฐกรณาฏกะ ไวยากรณ์ภาษากันนาดามีการผันคำ คำนามมี 3 เพศ คือ เพศชาย เพศหญิง และไม่มีเพศ การผันคำจะผันตามเพศ จำนวน และกาล ระบบการเขียนอักษรกันนาดามี 41 ตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ สวรคลุ (สระมี13 ตัว) โยควาหกคลุ (เครื่องหมายมี 2 ตัวคือ ಂ และ ಃ) และ วยันชนคลุ (พยัญชนะมี 34 ตัว) อักษรแต่ละตัวออกเสียงต่างจากกันอย่างชัดเจน นอกจากนี้ อักษรกันนาดายังใช้เขียนอักษรอื่น เช่น ภาษาตูลู ภาษาโกทวะ และภาษากอนกานี อักษรที่เลิกใช้แล้วในวรรณคดีภาษากันนาดา มีอักษร ಱ (ṟ หรือ rh) และ ೞ (ḻ, lh หรือ zh) ซึ่งใกล้เคียงกับเสียงที่คล้ายกันที่ยังใช้อยู่ในภาษาทมิฬและภาษาตูลู อักษร 2 ตัวนี้เลิกใช้เมื่อพุทธศตวรรษที่ 17 และ 23 ตามลำดับ งานเขียนภาษากันนาดารุ่นหลังแทนที่เสียง rh และ lh ด้วย ರ (r) และ ಳ (l) ตามลำดับ[17] อักษรอีกตัวที่กำลังจะเลิกใช้คือ nh ซึ่งมีเสียงที่คล้ายกันนี้ในภาษาทมิฬและภาษามลยาฬัม การใช้อักษรตัวนี้ลดลงหลัง พ.ศ. 2523 และมักจะแทนที่ด้วย ನ್ (n) อ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษากันนาดา |