Share to:

 

จตุตถจุลจอมเกล้า

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย
อักษรย่อจ.จ.
ประเภทเหรียญตรา
วันสถาปนาพ.ศ. 2436
ประเทศไทย ราชอาณาจักรไทย
ภาษิตเราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ
จำนวนสำรับ150 ดวง
แพรแถบ
ผู้สมควรได้รับพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการฝ่ายในทั้งปวง (พระราชทานตามพระราชอัธยาศัย)
มอบเพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงอิสริยยศ, ระลึกถึงความดีความชอบของบุคคลซึ่งได้รักษาแผ่นดินมาแต่ก่อน และผู้ที่ได้ทำนุบำรุงแผ่นดินในปัจจุบัน
สถานะยังพระราชทานอยู่
ผู้สถาปนาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประธานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
สถิติการมอบ
รายล่าสุดศศิวงศ์ ปึงตระกูล
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าตติยานุจุลจอมเกล้า
รองมาเบญจมาภรณ์ช้างเผือก
หมายเหตุมีคำนำหน้านาม "คุณหญิง"

จตุตถจุลจอมเกล้า มีอักษรย่อว่า จ.จ. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 4 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานเฉพาะฝ่ายใน (สตรี) จำนวน 150 ดวง โดยจตุตถจุลจอมเกล้าจัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติอันดับที่ 32 ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[1]

ลักษณะ

แพรแถบ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า ประกอบด้วย ดวงตราซึ่งมีลักษณะเหมือนตติยานุจุลจอมเกล้า แต่ทำจากกาไหล่ทองลงยาสีขาบ โดยมีลักษณะดังนี้[2]

ดวงตรา

ดวงตราของจตุตถจุลจอมเกล้า ใช้สำหรับประดับห้อยกับแพรแถบสีชมพู กว้าง 4 เซนติเมตร ผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับที่หน้าเสื้อบ่าซ้าย

สตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า สามารถใช้คำนำหน้านามว่า “คุณหญิง” ได้ทั้งผู้ที่สมรสแล้วหรือยังมิได้สมรส[3]

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐, ตอน ๒๙ง ฉบับพิเศษ, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖, หน้า ๑
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พุทธศักราช ๒๔๘๔, เล่ม ๕๘, ตอน ๐ ก, ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๑๕๕๓
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศการใช้คำนำหน้านามสตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๓๙, ตอนพิเศษ ๕๓ง, ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕, หน้า ๑

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya