ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีอักษรย่อว่า ท.จ.ว. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานทั้งฝ่ายหน้า (บุรุษ) จำนวน 200 สำรับ และฝ่ายใน (สตรี) จำนวน 100 สำรับ โดยทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษจัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติอันดับที่ 13 ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[1] ลักษณะเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ สามารถแบ่งออกสำหรับพระราชทานให้ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน โดยมีลักษณะดังนี้[2] ฝ่ายหน้าเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ สำหรับฝ่ายหน้า 1 สำรับ ประกอบด้วย ดารา ดวงตรา และแพรแถบ
ดวงตราใช้สำหรับประดับห้อยกับแพรแถบสีชมพู กว้าง 5 เซนติเมตร สำหรับสวมคอ
หมายเหตุ : ดวงดาราชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ นั้นแต่เดิมที่ด้านหน้าของดวงดาราจะมีอักษรคำว่า "เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ไห้เจริญ" เนื่องจากในสมัยนั้นประเทศไทยได้มีการสั่งทำเครื่องราชอิสริยาภณ์จากประเทศอังกฤษจึงทำให้เกิดข้อผิดพลาดในด้านภาษาจึงส่งผลทำให้อักษรที่ต้องเป็นคำว่า"เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ" กลายเป็น "เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ไห้เจริญ" ฝ่ายในเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ สำหรับฝ่ายใน 1 สำรับ ประกอบด้วย
ลักษณะพิเศษเครื่องยศผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษนั้น ถือว่ามีบรรดาศักดิ์เสมอขุนนางชั้น พระยาพานทอง จะได้รับพระราชทานเครื่องยศประกอบด้วย
ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. และ ท.จ.ว จะมีบรรดาศักดิ์เทียบเท่า พระยาพานทอง คำนำหน้านาม (ฝ่ายใน)สตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ สามารถใช้คำนำหน้านามว่า "ท่านผู้หญิง" [3] ส่วนสตรี ผู้ที่สมรสกับเจ้านายฝ่ายหน้าในราชวงศ์จักรี คือ ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป ใช้คำนำหน้านามว่า หม่อม หรือ สกุลยศเดิม เช่น หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นท่านผู้หญิง เรียกลำลองว่า คุณท่าน สำหรับเจ้านายฝ่ายใน คือ ราชสกุล ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปให้ใช้คำนำหน้าพระนามตามเดิม ไม่ว่าจะได้รับพระราชทานชั้นใด ส่วนสตรีที่เป็นราชนิกูลชั้น หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง เมื่อได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ใช้คำนำหน้านามว่า "ท่านผู้หญิง"[4] การสืบตระกูล (ฝ่ายหน้า)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษนั้น สามารถสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ โดยบุตรชายของผู้ได้รับพระราชทานนั้น จะได้รับสืบตระกูลเมื่อบิดาล่วงลับไปแล้ว และการสืบตระกูลจะสิ้นสุดลงเพียงชั้นนี้เท่านั้น[2] เกียรติยศศพผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เมื่อวายชนม์จะใช้คำว่า "ถึงแก่อนิจกรรม"[5][6] และจะได้รับพระราชทานเกียรติยศศพ (แต่ถ้าผู้วายชนม์เป็นสมาชิกราชตระกูล ดำรงตำแหน่งสำคัญ หรือได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลอื่นที่มีลำดับเกียรติสูงกว่าก็อาจได้รับเกียรติยศศพสูงขึ้น) โดยผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ จะได้รับพระราชทานเกียรติยศศพ ดังนี้
การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้ามีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานของเครื่องอิสริยาภรณ์ รวมทั้งทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานแก่ผู้ที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ได้ ปัจจุบัน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ แบ่งออกสำหรับพระราชทานฝ่ายหน้าจำนวน 200 สำรับ และฝ่ายในจำนวน 100 สำรับ[7] นอกจากนี้ ยังสามารถพระราชทานแก่เจ้านายหรือผู้มีเกียรติจากต่างประเทศซึ่งไม่นับรวมกับจำนวนดังกล่าว ผู้ได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษจะได้รับใบประกาศนียบัตรทรงลงพระปรมาภิไธยและประทับพระราชลัญจกร เว้นแต่กรณีที่ได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าแล้วเลื่อนขึ้นรับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษจะไม่มีใบประกาศนียบัตร และเมื่อผู้ได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษวายชนม์ลง ผู้รับมรดกจะต้องส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์คืนภายใน 30 วัน ถ้าส่งคืนไม่ได้กองมรดกจะต้องรับผิดชอบ ส่วนกรณีผู้ได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้าในชั้นที่สูงขึ้นหรือทรงเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ถ้าผู้รับพระราชทานไม่สามารถส่งคืนได้ ต้องชดใช้ราคาสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น[2] สำหรับฝ่ายหน้าต้องชดใช้เป็นจำนวนเงิน 341,000 บาท และฝ่ายใน 187,000 บาท[8] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|