เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า |
---|
ดวงตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า |
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย |
---|
อักษรย่อ | ต.จ. |
---|
ประเภท | เหรียญตรา |
---|
วันสถาปนา | ฝ่ายหน้า : พ.ศ. 2416 ฝ่ายใน : พ.ศ. 2436 |
---|
ประเทศ | ราชอาณาจักรไทย |
---|
ภาษิต | เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ |
---|
จำนวนสำรับ | ฝ่ายหน้า : 100 ดวง ฝ่ายใน : 250 ดวง |
---|
แพรแถบ | |
---|
ผู้สมควรได้รับ | พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งปวง และบรรดาผู้สืบสกุลของบุคคลเหล่านั้น (พระราชทานตามพระราชอัธยาศัย) |
---|
มอบเพื่อ | เป็นเครื่องหมายแสดงอิสริยยศ, ระลึกถึงความดีความชอบของบุคคลซึ่งได้รักษาแผ่นดินมาแต่ก่อน และผู้ที่ได้ทำนุบำรุงแผ่นดินในปัจจุบัน |
---|
สถานะ | ยังพระราชทานอยู่ |
---|
ผู้สถาปนา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
---|
ประธาน | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
---|
สถิติการมอบ |
---|
รายล่าสุด | ลาภิต สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 6 สิงหาคม พ.ศ. 2567 |
---|
ลำดับเกียรติ |
---|
สูงกว่า | รามกีรติ |
---|
รองมา | จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก |
---|
หมายเหตุ | ฝ่ายหน้า : มีศักดิ์เสมอพระยาโต๊ะทอง บุตรชายจะได้รับพระราชทานสืบตระกูลที่ชั้นนี้ ฝ่ายใน : มีคำนำหน้านาม "คุณหญิง" |
---|
ตติยจุลจอมเกล้า มีอักษรย่อว่า ต.จ. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานทั้งฝ่ายหน้า (บุรุษ) จำนวน 250 ดวง และฝ่ายใน (สตรี) จำนวน 250 ดวง โดยตติยจุลจอมเกล้าจัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติอันดับที่ 27 ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[1]
ลักษณะ
ฝ่ายหน้า
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า สำหรับฝ่ายหน้า ประกอบด้วย ดวงตราซึ่งมีลักษณะเหมือนตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ แต่ไม่มีดอกไม้จีบ โดยมีลักษณะดังนี้[2]
- ดวงตรา
- ด้านหน้า มีลักษณะเป็นรัศมี 8 แฉก ลงยาสีชมพู มีรัศมีทองแทรกตามระหว่างแฉก มีใบชัยพฤกษ์สองข้าง ลงยาสีเขียว กลางดวงตรามีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอบลงยาสีขาบ มีอักษรทองว่า "เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ" เบื้องบนมี พระจุลมงกุฎเปล่งรัศมีลงยาสีเขียว, สีแดง, สีขาบ และสีขาว
- ด้านหลัง มีลักษณะเหมือนด้านหน้า แต่ที่กลางดวงตราเป็นรูปช้างไอราพต ลงยาสีขาว บนหลังช้างเป็นรูปตรีศูล ลงยาสีขาว ที่ขอบมีอักษรทองว่า "ปีระกา เบญจศก ศักราช ๑๒๓๕" รอบขอบเป็นรูปจักร ลงยาสีขาวพื้นแดง
ดวงตราของตติยจุลจอมเกล้า ใช้สำหรับประดับห้อยกับแพรแถบสีชมพู กว้าง 4 เซนติเมตร ประดับที่อกเบื้องซ้าย
ฝ่ายใน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า สำหรับฝ่ายใน ประกอบด้วย ดวงตรา ซึ่งมีลักษณะเหมือนดวงตราของทุติยจุลจอมเกล้า แต่ขนาดย่อมกว่า ห้อยกับแพรแถบสีชมพู กว้าง 4 เซนติเมตร ผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย
ด้านหลัง มีลักษณะเหมือนด้านหน้า แต่ที่กลางดวงตราเป็นรูปช้างไอราพต ลงยาสีขาว บนหลังช้างเป็นรูปตรีศูล ลงยาสีขาว ที่ขอบมีอักษรทองว่า "รัตนโกสนิทร์สก ๑๑๒" รอบขอบเป็นรูปจักร ลงยาสีขาวพื้นแดง
สตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นตติยจุลจอมเกล้า สามารถใช้คำนำหน้านามว่า “คุณหญิง” [3]
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐, ตอน ๒๙ง ฉบับพิเศษ, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พุทธศักราช ๒๔๘๔, เล่ม ๕๘, ตอน ๐ ก, ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๑๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศการใช้คำนำหน้านามสตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๓๙, ตอนพิเศษ ๕๓ง, ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕, หน้า ๑
แหล่งข้อมูลอื่น