จังหวัดเกาะกง
เกาะกง (เขมร: កោះកុង) เดิมไทยเรียก ปัจจันตคิรีเขตร[2] บ้างสะกดว่า ปัตจันตคีรีเขตร์ หรือ ประจันต์คิรีเขตต์[3] เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลของประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ทิศเหนือติดกับจังหวัดโพธิสัตว์ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดกำปงสปือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับจังหวัดพระสีหนุ ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดตราดของประเทศไทย และทิศใต้ติดกับอ่าวไทย จังหวัดเกาะกงมีเมืองหลักคือเมืองเขมรภูมินทร์[4] ซึ่งได้พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุได้พระราชทานนาม[5] แต่ไม่เป็นที่นิยมเรียก ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่นิยมเรียกเมืองหลักนี้ว่า "กรุง (เมือง) เกาะกง"[6] (ក្រុងកោះកុង) ประวัติชาวเกาะกงทั้งที่มีเชื้อสายเขมรและไทยเรียกเมืองหลักนี้ว่า เกาะกง ซึ่งทั้งคำว่าเกาะและกงมีความหมายตรงตัวว่า "เกาะ" ต่อมาเมื่อช่วงที่เกาะกงอยู่ภายใต้อิทธิพลของกรุงสยาม รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามเมืองแห่งนี้ว่า ปัจจันตคิรีเขตร[2] ซึ่งมีความหมายว่า "ปลายเขตแดนที่ภูเขา" และตั้งนามเมืองให้คล้องกับเมืองประจวบคีรีขันธ์ (เดิมชื่อ บางนางรมย์) ซึ่งเมืองทั้งสองตั้งอยู่ในแนวรุ้งเดียวกัน[7] ดังปรากฏไว้ความว่า[8]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาวิไชยชลธี ผู้ว่าราชการเมืองปัจจันตคิรีเขตรได้สร้างโรงเรียนปัจจันตพิทยาคาร ตั้งอยู่ภายในวัดปัจจันตนคราราม ตำบลแหลมด่าน เมืองปัจจันตคิรีเขตร[9] แต่เดิมที่ทำการเมืองเกาะกงตั้งอยู่ที่เกาะเสก็ดและขึ้นต่อจังหวัดกำปอต ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 ได้มีการสร้างที่ทำการเมืองใหม่ที่เสาธงแล้วเสร็จ จึงได้แยกเกาะกงออกมาตั้งเป็นจังหวัดใหม่[6]
การแบ่งเขตการปกครองจังหวัดเกาะกงแบ่งเป็น 7 อำเภอ (สฺรุก) 33 ตำบล และ 131 หมู่บ้าน เกาะกงถือเป็นจังหวัดขนาดเล็กที่มีประชากรอาศัยอยู่ 23,168 หลังคาเรือน และมีประชากรจำนวนทั้งสิ้น 132,106 คน
ประชากรจังหวัดเกาะกงมีประชากรทั้งหมดประมาณ 132,106 คน (สถิติปี พ.ศ. 2541) ความหนาแน่นของประชากร 11.8 คนต่อตารางกิโลเมตร โดยประชากรส่วนใหญ่]ร้อยละ 75 เป็นชาวเขมร ที่เหลือร้อยละ 25 เป็นชาวไทยเกาะกง สำหรับเมืองหลักที่มีชาวเกาะกงอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 22 ของประชากรทั้งหมดคือ สมัคเมียนเจย ส่วนประชากรอีกร้อยละ 75 ไม่ใช่ชาวพื้นเมืองเกาะกง แต่ย้ายมาจากจังหวัดอื่น ๆ ของกัมพูชา ส่วนใหญ่จะเข้ามาหางานที่ดีกว่าทำที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา คนเชื้อสายไทยในเกาะกงส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ตามคลองและลุ่มแม่น้ำ เช่น ลุ่มแม่น้ำเกาะปอ, แม่น้ำครางครืน, แม่น้ำตาไต, แม่น้ำบางกระสอบ, แม่น้ำตะปังรุง, แม่น้ำคลองพิพาท, อ่าวเกาะกะปิ, คลองแพรกกษัตริย์, อ่าวยายแสน, อ่าวพลีมาศ, อาหนี และอาจเลยไปถึงนาเกลือ[12] ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง นอกจากนี้คือธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมอีกจำนวนมากที่ตั้งอยู่ในเกาะกงซึ่งมีสวัสดิการที่ดีและมีความมั่นคงทางอาชีพสูง[13] อ้างอิง
ดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่น |