Share to:

 

เขมรภูมินทร์

เขมรภูมินทร์

ខេមរភូមិន្ទ

ปัจจันตคิรีเขตร, เกาะกง
สะพานเกาะกง
สะพานเกาะกง
เขมรภูมินทร์ตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา
เขมรภูมินทร์
เขมรภูมินทร์
ที่ตั้งของเกาะกง, กัมพูชา
พิกัด: 11°37′N 102°59′E / 11.617°N 102.983°E / 11.617; 102.983
ประเทศ กัมพูชา
จังหวัดเกาะกง
อำเภอสมัคเมียนเจย
ความสูง3 เมตร (10 ฟุต)
ประชากร
 (2562)[1]
 • ทั้งหมด28,836 คน

เขมรภูมินทร์ [เข-มะ-ระ-พู-มิน] (เขมร: ខេមរភូមិន្ទ; อังกฤษ: Khemarak Phumin) หรือ เมืองเกาะกง (เขมร: ក្រុងកោះកុង) เป็นเมืองหลักของจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำเกาะปอที่ไหลลงสู่อ่าวไทยในเขตอำเภอสมัคเมียนเจย เมืองเขมรภูมินทร์อยู่ห่างจากชายแดนไทยเพียง 10 กิโลเมตร ห่างจากเมืองแซรแอมเปิล (นาเกลือ) 138 กิโลเมตร และเดินทางอีก 133 กิโลเมตร ก็จะถึงพนมเปญ[2]

หลังจากการก่อสร้างสะพาน และปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 48 ซึ่งก่อสร้างในช่วงปี พ.ศ. 2550-2553 เพื่อเชื่อมเกาะกงไปกรุงพนมเปญและเมืองพระสีหนุ ทำให้เมืองแห่งนี้มีความสำคัญมากขึ้น

ประวัติ

ชาวเกาะกงทั้งที่มีเชื้อสายเขมรและไทย เรียกเมืองหลักนี้ว่า เกาะกง ซึ่งทั้งคำว่าเกาะและกงมีความหมายตรงตัวว่า "เกาะ" ต่อมาเมื่อช่วงที่เกาะกงอยู่ภายใต้อิทธิพลของกรุงสยาม รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามเมืองแห่งนี้ว่า ปัจจันตคิรีเขตร[3] ซึ่งมีความหมายว่า "ปลายเขตแดนที่ภูเขา" และตั้งนามเมืองให้คล้องกับเมืองประจวบคีรีขันธ์ (เดิมชื่อ บางนางรม) ซึ่งเมืองทั้งสองตั้งอยู่ในแนวรุ้งเดียวกัน[4] ดังปรากฏไว้ความว่า[5]

"...ขุนสารประเสริฐรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ สั่งว่า เมืองบางนางรมนั้นโปรดเกล้าฯ ให้เรียกเมืองประจวบคีรีขันธ์ กับที่เกาะกงนั้น โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า เมืองปัจจันตคิรีเขตร ให้กรมวัง หมายไปยังกรมพระกลาโหม กรมท่า กรมพระศุภรัต สัสดีซ้ายขวา ให้เรียกชื่อเมืองทั้ง ๒ ให้ถูกตามแบบรับสั่ง"

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงพระราชทานนามให้เมืองนี้ใหม่ว่า เขมรภูมินทร์[6] มีความหมายว่า "เขตแดนของกษัตริย์กัมพูชา" ซึ่งปัจจุบันยังคงใช้ชื่อนี้อยู่[7] แต่กลับไม่เป็นที่นิยมเรียกนัก ประชาชนส่วนใหญ่ยังนิยมเรียกเมืองนี้ว่า กรุงเกาะกง[7] (เขมร: ក្រុងកោះកុង)

แต่เดิมที่ทำการเมืองเกาะกงตั้งอยู่ที่เกาะเสก็ดและขึ้นต่อจังหวัดกำปอต ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 ได้มีการสร้างที่ทำการเมืองใหม่ที่เสาธงแล้วเสร็จ จึงได้แยกเกาะกงออกมาตั้งเป็นจังหวัดใหม่[7]

ที่ตั้ง

กรุงเกาะกงตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำ สามารถเข้าถึงได้ทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ที่นี่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 450 กิโลเมตรตามถนนที่เชื่อมระหว่างชายแดนต่อกับบ้านหาดเล็กในฝั่งประเทศไทย ซึ่งห่างจากตัวเมืองเกาะกงเพียง 10 กิโลเมตร[8] ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการสร้างสะพานข้ามแดนจากเกาะกงมายังฝั่งชายแดนไทยด้วยวงเงิน 7.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีความยาว 1,900 เมตร ซึ่งถือเป็นสะพานที่ยาวที่สุดในกัมพูชา[9]

ส่วนการเดินทางจากพนมเปญมายังเกาะกงต้องเดินทางตามทางหลวงหมายเลข 4 เข้ามาถึงเมืองแซรแอมเปิล 133 กิโลเมตร และเดินทางออกจากเมืองแซรแอมเปิลด้วยถนนที่คดเคี้ยวตามเชิงเขากระวานอีก 138 กิโลเมตรก็จะมาถึงตัวเมืองเกาะกง

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของเขมรภูมินทร์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.3
(88.3)
31.5
(88.7)
32.1
(89.8)
32.8
(91)
32.2
(90)
30.9
(87.6)
30.5
(86.9)
30.0
(86)
30.1
(86.2)
30.9
(87.6)
31.3
(88.3)
31.5
(88.7)
31.26
(88.27)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 26.0
(78.8)
26.8
(80.2)
27.7
(81.9)
28.5
(83.3)
28.2
(82.8)
27.4
(81.3)
27.1
(80.8)
26.8
(80.2)
26.8
(80.2)
26.9
(80.4)
26.7
(80.1)
26.4
(79.5)
27.11
(80.8)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 20.8
(69.4)
22.2
(72)
23.4
(74.1)
24.2
(75.6)
24.3
(75.7)
23.9
(75)
23.7
(74.7)
23.7
(74.7)
23.5
(74.3)
23.0
(73.4)
22.2
(72)
21.3
(70.3)
23.02
(73.43)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 15
(0.59)
41
(1.61)
77
(3.03)
110
(4.33)
397
(15.63)
737
(29.02)
803
(31.61)
839
(33.03)
606
(23.86)
286
(11.26)
96
(3.78)
19
(0.75)
4,026
(158.5)
แหล่งที่มา: Climate-Data.org[10]

อ้างอิง

  1. "General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019 – Final Results" (PDF). National Institute of Statistics. Ministry of Planning. 26 January 2021. สืบค้นเมื่อ 4 February 2021.
  2. Total Road Atlas of Cambodia 2006, 3rd edition. Total Cambodge, Phnom Penh, Cambodia. 2006.
  3. รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์, 2551. หน้า 35
  4. รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์, 2551, หน้า 23
  5. ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394-2400. พระนคร : องค์การการค้าของคุรุสภา, 2503, หน้า 37
  6. นิติภูมิ นวรัตน์. เขตร์เขมรัฐภูมินทร์. ในเปิดฟ้าส่องโลก, 17 สิงหาคม 2543. เรียกดูเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556
  7. 7.0 7.1 7.2 รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพ:บ้านพระอาทิตย์, 2551, หน้า 86
  8. "Koh Kong City, Cambodia". The Sihanoukville Visitors Guide. Canby Publications. 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-31. สืบค้นเมื่อ January 4, 2009.
  9. "Koh Kong Bridge Completed in Southwestern Cambodia". People's Daily. April 4, 2002. สืบค้นเมื่อ 2009-01-12.
  10. "Climate: Koh Kong". Climate-Data.org. สืบค้นเมื่อ 31 October 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

11°37′N 102°59′E / 11.617°N 102.983°E / 11.617; 102.983

Kembali kehalaman sebelumnya