จังหวัดโรมโบลน เป็นจังหวัดเกาะในเขตมีมาโรปา ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยเกาะหลักอย่างเกาะตาบลาส ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและครอบคลุมเทศบาลทั้งเก้าแห่ง และเกาะซีบูยัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของเทศบาลโรมโบลน ศูนย์กลางของจังหวัด จังหวัดนี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดมารินดูเก และเกซอน อยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดโอกซีเดนตัลมินโดโร ทิศเหนือของจังหวัดอักลัน และคาปิซ และทิศตะวันตกของจังหวัดมัสบาเต ในปี ค.ศ. 2015 มีประชากร 292,781 คน
โรมโบลนเป็นถิ่นอาศัยของชาวฟิลิปปินส์ พื้นเมือง ก่อนการเข้ามาของสเปนในปี ค.ศ. 1569 หลักฐานทางโบราณคดีที่เก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936 บ่งชี้ว่าชาวพื้นเมืองเคยมีวัฒนธรรมอันรุ่งเรืองมาก่อน ต่อในยุคอาณานิคมสเปน โรมโบลนอยู่ภายใต้การปกครองของจังหวัดอาเรบาโล ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ ต่อมาในปี ค.ศ. 1716 ได้ถูกย้ายไปสังกัดในฟิลิปปินส์ และการเข้ามาของสหรัฐในปี ค.ศ. 1901 ทำให้โรมโบลนกลายเป็นจังหวัดภายใต้การปกครองของพลเมือง แต่ก็เสียสถานะจังหวัดในช่วงปี ค.ศ. 1907-1945 และกลับมาเป็นจังหวัดอีกครั้งในปี ค.ศ. 1946 ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง
ผู้อาศัยภายในจังหวัดนี้แบ่งได้สามกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ โรมโบลมาโนน, โอนฮัน และอาซี ซึ่งแต่ละกลุ่มมีภาษาและธรรมเนียมเป็นของตนเอง ภาษาโรมโบลมาโนนถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในเมืองโรมเบลนและซันอากุสตีน ภาษาโอนฮันใช้พูดกันในเทศบาลทางตอนใต้ของเกาะตาบลาสและเทศบาลซันโยเซ และภาษาอาซีใช้พูดกันในทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะตาบลาส และเกาะคอร์คูรา, บันตอน และคอนเซปซิอง
ปัจจุบันจังหวัดโรมโบลนยังคงพึ่งพาการเกษตร เป็นหลัก โดยปลูกข้าว และมะพร้าวแห้ง และมีการประมง นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมหินอ่อน จนได้รับฉายา "เมืองหินอ่อนแห่งฟิลิปปินส์" และในไม่กี่ปีที่ผ่านมา จังหวัดนี้ได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งมีชายหาดสีขาว จุดดำน้ำ ภูเขา และป่าฝน
ภูมิศาสตร์
หาดมาคัตอัง
โรมโบลนตั้งอยู่กึ่งกลางของประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยสามเกาะหลัก (ตาบลาส, ซีบูยัน และโรมโบลน) และ 17 เกาะเล็ก ล้อมรอบด้วยน้ำทะเลลึก อยู่ใกล้กับเกาะมัสบาเต ทางทิศตะวันออก เกาะมินโดโร ทางทิศตะวันตก เกาะมารินดูเก ทางทิศเหนือ และเกาะปาไนทางทิศใต้ อยู่ห่างจากมะนิลา ไปทางทิศใต้ประมาณ 187-169 กิโลเมตร การเดินทางไปยังเกาะต่าง ๆ ต้องใช้เรือ ยกเว้นเกาะตาบลาสที่มีสนามบินในประเทศ[ 5] [ 6]
ภูมิประเทศ
จังหวัดมีพื้นที่ 1,533.45 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 5.3 ของพื้นที่เขตมีมาโรปา ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขามากถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่จังหวัด และเป็นที่ลาดเอียงมากกว่าร้อยละ 50 ภูมิประเทศอื่น ๆ ได้แก่ เนินเขาและที่ราบแคบริมชายฝั่ง[ 7] [ 5] [ 8]
ภูเขาส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับความสูง 400 เมตร (1,300 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล ชายฝั่งตะวันตกของเกาะตาบลาสเป็นแนวลูกคลื่น ส่วนฝั่งตะวันออกจะค่อนข้างขรุขระ พื้นที่ทางตอนใต้และตะวันตกเป็นที่ราบลูกฟูก ส่วนพื้นที่ขรุขระพบได้ทางตอนกลางของเกาะ ระดับความสูงที่สูงที่สุดอยู่ที่ 500 เมตร (1,600 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล
เกาะซีบูยันมีภูมิประเทศเป็นภูเขาป่าทึบ พื้นที่ทางตะวันตกของเกาะค่อนข้างขรุขระ ส่วนทางตะวันออกจะเป็นลูกฟูก จุดสูงสุดอยู่ที่ภูเขากีติงกีติง ซึ่งสูง 2,058 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล[ 7] [ 5] [ 8] [ 9]
พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่จะอบู่บนเกาะตาบลาส (เทศบาลโอดีออนกัน, ซันอันเดรส, ลูค และซันตาเฟ) และซีบูยัน ซึ่งจะลาดเอียงเล็กน้อย พื้นที่ที่สามารถพัฒนาได้อยู่ที่ร้อยละ 13 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด[ 7] [ 5] [ 8]
ความหลากหลายทางชีวภาพ
โรมโบลน โดยเฉพาะบนเกาะซีบูยัน เป็นสถานที่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศที่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์อย่างดี โดยมีป่าฝนที่ไม่ถูกรุกรานถึง 75% ของเกาะ และมีแม่น้ำคันตีกัสกับน้ำตก 34 แห่ง[ 10] ซีบูยันเป็นที่รู้จักกันในฉายา "กาลาปากอส แห่งเอเชีย" เพราะมีพืชและสัตว์เฉพาะถิ่นจำนวนมาก บางชนิดก็เพิ่งถูกค้นพบ โดยชนิด ท้องถิ่นเหล่านี้ ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 9 ชนิด, กิ้งก่า 7 ชนิด, สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 2 ชนิด, นก 3 ชนิด และพืช ที่มีท่อลำเลียง 112 ชนิด[ 10] ชนิดที่สำคัญ อาทิ Nepenthes argentii ,[ 11] [ 12] Nepenthes sibuyanensis ,[ 11] [ 12] Nepenthes armin ,[ 11] [ 12] หนูตะเภาลายซีบูยัน ,[ 13] หนูผีซีบูยัน ,[ 14] ค้างคาวผลไม้จมูกท่อฟิลิปปิน ,[ 15] นกหัวขวานแถบคราม [ 16] และนกฮูกเหยี่ยวโรมโบลน [ 17] ส่วนบนเกาะตาบลาส มีนกท้องถิ่นอย่างน้อยสองชนิดที่ถูกค้นพบ ได้แก่ นกแซงแซวตาบลาส และนกแฟนเทลตาบลาส [ 18] [ 19]
ภูมิอากาศ
โรมโบลนมีภูมิอากาศแบบที่สามจากการแบ่งของโคโรนา ซึ่งถูกนำมาใช้ในปี ค.ศ. 1920 ภูมิอากาศแบบนี้ไม่มีการแบ่งฤดูแล้งกับฤดูฝนที่ชัดเจน โดยฤดูฝนจะอยู่ประมาณเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน และอาจขยายไปถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนฤดูแล้งเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม แต่ก็มีฝนตกบ้าง อุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียส (81 องศาฟาเรนไฮต์) เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่หนาวที่สุดที่ 20 องศาเซลเซียส (68 องศาฟาเรนไฮต์) ส่วนเดือนพฤษภาคมเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดที่ 35 องศาเซลเซียส (95 องศาฟาเรนไฮต์) ลมมรสุมฮาบากัต จะพัดผ่านในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ส่วนลมอามีฮัน จะพัดผ่านในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์[ 7] [ 5] [ 8]
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลโรมโบลน (1981–2010, extremes 1904–2012)
เดือน
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F)
35.5 (95.9)
35.1 (95.2)
35.8 (96.4)
37.5 (99.5)
38.2 (100.8)
38.2 (100.8)
37.7 (99.9)
35.7 (96.3)
35.8 (96.4)
35.3 (95.5)
35.2 (95.4)
34.1 (93.4)
38.2 (100.8)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)
28.4 (83.1)
29.1 (84.4)
30.4 (86.7)
32.0 (89.6)
32.6 (90.7)
31.7 (89.1)
30.8 (87.4)
30.5 (86.9)
30.6 (87.1)
30.3 (86.5)
29.7 (85.5)
28.5 (83.3)
30.4 (86.7)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F)
26.2 (79.2)
26.7 (80.1)
27.6 (81.7)
29.0 (84.2)
29.4 (84.9)
28.7 (83.7)
28.1 (82.6)
28.0 (82.4)
28.0 (82.4)
27.8 (82)
27.5 (81.5)
26.5 (79.7)
27.8 (82)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)
24.0 (75.2)
24.2 (75.6)
24.9 (76.8)
26.0 (78.8)
26.3 (79.3)
25.8 (78.4)
25.4 (77.7)
25.5 (77.9)
25.3 (77.5)
25.2 (77.4)
25.2 (77.4)
24.4 (75.9)
25.2 (77.4)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F)
18.4 (65.1)
17.0 (62.6)
19.7 (67.5)
20.1 (68.2)
15.6 (60.1)
20.6 (69.1)
21.1 (70)
21.2 (70.2)
21.0 (69.8)
20.4 (68.7)
20.3 (68.5)
18.5 (65.3)
15.6 (60.1)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว)
99.2 (3.906)
63.4 (2.496)
59.7 (2.35)
68.2 (2.685)
147.3 (5.799)
233.1 (9.177)
260.5 (10.256)
210.3 (8.28)
259.9 (10.232)
320.3 (12.61)
270.1 (10.634)
211.8 (8.339)
2,203.9 (86.768)
ความชื้น ร้อยละ
84
83
81
78
79
81
83
83
83
84
84
84
82
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm)
13
8
8
7
10
16
18
16
17
19
18
17
167
แหล่งที่มา: PAGASA [ 20] [ 21]
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 "Provincial Election Results: Romblon" . May 13, 2013 National and Local Elections . Manila: Commission on Elections. 12 May 2014. สืบค้นเมื่อ 18 September 2015 .
↑ "Congressional Election Results: Romblon" . May 13, 2013 National and Local Elections . Manila: Commission on Elections. 12 May 2014. สืบค้นเมื่อ 18 September 2015 .
↑ "List of Provinces" . PSGC Interactive . Makati City, Philippines: National Statistical Coordination Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-01-21. สืบค้นเมื่อ 31 January 2013 .
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2018-04-04 .
↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "History" (PDF) . Profile of Romblon Province . Romblon: Philippine Statistical Authority. 2013. สืบค้นเมื่อ 8 September 2015 .
↑ "Location, Geography and Climate" . Romblon Profile . Calapan City: National Economic and Development Authority (NEDA) MIMAROPA Region. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-01-05. สืบค้นเมื่อ 9 September 2015 .
↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 "History" . Romblon Province . Romblon Provincial Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 23 November 2013. สืบค้นเมื่อ 8 September 2015 .
↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Geo-Physical Environment . Status Report on the Millennium Development Goals (MDGs) using CBMS data . Romblon: Provincial Government of Romblon. 2010.
↑ Lasco, Gideon (26 March 2008). "Mount Guiting-Guiting" . Pinoy Mountaineer. สืบค้นเมื่อ 9 September 2015 .
↑ 10.0 10.1 Licap, Enzo (16 April 2013). "The Galapagos of Asia: Sibuyan Island" . Choose Philippines. สืบค้นเมื่อ 2 May 2016 .
↑ 11.0 11.1 11.2 Jebb, M.H.P. & M.R. Cheek (1997). A skeletal revision of Nepenthes (Nepenthaceae) . Blumea . pp. 42(1): 1–106.
↑ 12.0 12.1 12.2 McPherson, S.R. (2009). Pitcher Plants of the Old World (2 volumes) . Redfern Natural History Productions, Poole.
↑ Rickart, E.A.; Heaney, L.R.; Goodman, S.M.; Jansa, S. (2005). Review of the Philippine genera Chrotomys and Celaenomys (Murinae) and description of a new species . Journal of Mammalogy . pp. 86 (2): 415–428.
↑ Esselstyn, Jacob A.; Goodman, Steven M. (2010). New species of shrew (Soricidae: Crocidura) from Sibuyan Island, Philippines . Journal of Mammalogy . pp. 91 (6): 1467–1472.
↑ Ong, P.; Rosell-Ambal, G.; Tabaranza, B.; Heaney, L.; Ingle, N.; Cariño, A.B.; Pangulatan, L.M.; Pedregosa, M.; Alcala, E. & Helgen, K. (2008). "Nyctimene rabori " . IUCN Red List of Threatened Species . 2008 : e.T14953A4482609. doi :10.2305/IUCN.UK.2008.RLTS.T14953A4482609.en . สืบค้นเมื่อ 15 January 2018 .
↑ Woodall, Peter (2001), "Family Alcedinidae (Kingfishers)", ใน del Hoyo, Josep; Elliott, Andrew; Sargatal, Jordi (บ.ก.), Handbook of the Birds of the World. Volume 6, Mousebirds to Hornbills , Barcelona : Lynx Edicions , pp. 103–187 , ISBN 978-84-87334-30-6
↑ Kennedy, R.S.; Gonzales P.C.; Dickinson E.C.; Miranda Jr., H.C.; Fisher T.H. (2000). A Guide to the Birds of the Philippines . Oxford: Oxford University Press.
↑ BirdLife International (2017). "Dicrurus menagei " . IUCN Red List of Threatened Species . 2017 : e.T22736062A110068125. doi :10.2305/IUCN.UK.2017-1.RLTS.T22736062A110068125.en . สืบค้นเมื่อ 12 November 2021 .
↑ Sánchez-González, L.A. & R.G. Moyle (2011). Molecular systematic and species limits in the Philippine fantails (Aves: Rhipidura) . Molecular Phylogenetics and Evolution . pp. 61: 290–299.
↑
"Romblon Climatological Normal Values" . Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 18 October 2018. สืบค้นเมื่อ 18 October 2018 .
↑
"Romblon Climatological Extremes" . Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 18 October 2018. สืบค้นเมื่อ 18 October 2018 .
แหล่งข้อมูลอื่น