จุฬาฯวิชาการจุฬาฯวิชาการ (อังกฤษ: CU Academic Expo) เป็นงานนิทรรศการที่จัดขึ้น ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมของคณาจารย์และนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ โดยงานจุฬาฯวิชาการ กำหนดให้จัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ 3 ปี[1] ทั้งนี้ งานจุฬาฯวิชาการครั้งที่ 14 กำหนดจัดในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 แต่เนื่องจากอุทกภัย ส่งผลให้ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด กระทั่งต้องยกเลิกการจัดงานในปี พ.ศ. 2554 แล้วมาจัดในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 แทน งานจุฬาฯวิชาการ จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2560 ภายใต้ชื่องาน จุฬาฯ Expo 2017 เพื่อเฉลิมฉลองในวาระ 100 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติการจัดงานแต่เดิมนั้น การนำเสนอผลงานทางวิชาการทั้งของนิสิตและบรรดาคณาจารย์ ดำเนินไปในลักษณะของการเปิดให้เข้าชมภายในคณะ (Open House) ซึ่งการจัดงานในลักษณะดังกล่าวนั้นเป็นไปโดยเอกเทศ แต่ละคณะจัดจัดงานในส่วนของตนเอง ทำให้ภาพรวมของกิจกรรมทางวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่เป็นเนื้อเดียวกัน มีการแบ่งแยกไปตามพรมแดนของศาสตร์ต่าง ๆ องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) จึงได้ประชุมปรึกษาหารือและเห็นสมควรให้จัดงาน "จุฬาฯวิชาการ" ขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2515 โดยอาศัยงบประมาณดำเนินงานสโมสรนิสิตที่ได้รับจัดสรรประจำปีจากมหาวิทยาลัยและเงินสนับสนุนจากภายนอก และกำหนดให้จัดกิจกรรมนี้ทุก ๆ 3 ปี การดำเนินงานในช่วงแรก (พ.ศ. 2515, 2518, 2521, 2524, 2527) ยังไม่อาจตอบสนองวัตถุประสงค์ของการเผยแพร่องค์ความรู้ออกสู่สังคมภายนอกได้มากนัก ในปี พ.ศ. 2530 คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยจึงมีมติให้กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมระดับมหาวิทยาลัยที่เป็นกิจกรรมร่วมระหว่างคณาจารย์และนิสิต โดยมีองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ประสานงานหลักในนามคณะกรรมการอำนวยการ ซึ่งแนวคิดหลักของการจัดงานในแต่ละปี มีดังต่อไปนี้
ในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ 100 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดงาน “จุฬาฯวิชาการ” ภายใต้ชื่องาน จุฬาฯ Expo 2017 ระหว่างวันที่ 15 – 19 มีนาคม 2560 แนวคิดหลักของการจัดงานคือ “จุฬาฯ 100 ปี นวัตกรรม คิดทำเพื่อสังคม” CU@100 toward greater innovation for society เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ นวัตกรรม ความก้าวหน้าทางวิชาการ และผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิตจุฬาฯที่ครบครันและครอบคลุมทุกสาขาวิชา นำเสนอต่อสาธารณชน รวมทั้งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2560[2] ภาพรวมของงานวัตถุประสงค์ของการจัดงานจุฬาฯวิชาการคือ การเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมที่บรรดาคณาจารย์และนิสิตได้สร้างไว้ให้สมกับการเป็น "มหาวิทยาลัย" ซึ่งแปลความตามตัวอักษรว่า "ที่สถิตแห่งความรู้อันยิ่งใหญ่" สอดคล้องกับนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ของคณะผู้บริหารที่ต้องการสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เป็น "หลักเฉลิมพระนครแห่งกรุงสยาม" (The Pillar of the Kingdom) อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|