Share to:

 

ชนะ รุ่งแสง

ชนะ รุ่งแสง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
12 มกราคม พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 กันยายน พ.ศ. 2473 (94 ปี)
เขตบางนา จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2511–ปัจจุบัน)

ชนะ รุ่งแสง (เกิด 14 กันยายน พ.ศ. 2473) เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย อดีตกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร

ประวัติ

ชนะ เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2473 โดยเป็นทายาทตระกูลคหบดีชาวนาตำบลบางนา ซึ่งปัจจุบันคือ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณถนนสุขุมวิท (ทางแยกบางนา), ถนนสุขุมวิท 103, ถนนสุขุมวิท 105, ถนนสรรพาวุธ, สองฝั่งคลองบางนา และบริเวณตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยเข้าสู่แวดวงธุรกิจด้วยการเป็นผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย โดยมีตำแหน่งสูงสุดเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่

จากนั้นในปี พ.ศ. 2511 ได้เข้าสู่แวดวงการเมือง ด้วยการลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร ในสังกัดของพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้ง รวมทั้งได้ดำรงตำแหน่งเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร อีกด้วย และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2]

จากนั้นในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519 นายชนะได้ลงรับสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในเขต 8 กรุงเทพมหานคร ก็ได้รับเลือกตั้งไป แต่ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 6 ตุลาคม ปีเดียวกัน เมื่อเกิดเหตุการณ์นองเลือดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสนามหลวง และก็มีการรัฐประหารขึ้นในวันเดียวกัน

ต่อมา ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยได้หมายเลข 4 มีนโยบาย คือ "6 เป้าหมาย 4 แนวทางและ 10 มาตรการ" และใช้คำขวัญในการหาเสียง คือ "เลือกชนะ เพื่อชัยชนะของประชาชน"[3] แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้แก่ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้สมัครอิสระ หมายเลข 8 ไป โดยนายชนะได้ 241,002 คะแนน ขณะที่ พล.ต.จำลอง ได้ 408,233 คะแนน[4]

ปัจจุบัน นายชนะได้วางมือจากการเมืองแล้ว แต่ยังมีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ และคณะทำงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศ.)[5] [6] และมีตำแหน่งทางวิชาการเป็นนายกสภาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก[7] โดยมีหลานชาย คือ นายชนินทร์ รุ่งแสง เป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในเขตบางกอกน้อย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
  2. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  3. เมื่อนายแบงค์ อยากเป็นผู้ว่าฯ กทม.[ลิงก์เสีย]
  4. หน้า 103, 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์ มติชน (สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2550) ISBN 974-323-889-1
  5. คกก.น้ำแห่งชาติ เตือนระวังน้ำล้นคันกั้นน้ำตะวันออก[ลิงก์เสีย]
  6. คณะทำงานงบประมาณ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[ลิงก์เสีย]
  7. "ประวัติและความเป็นมา วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-19. สืบค้นเมื่อ 2012-07-17.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๖๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2021-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๙, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๑, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๙๙ ง หน้า ๔๓๖๗, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๒
Kembali kehalaman sebelumnya