Share to:

 

ชาลส์ สก็อต เชอร์ริงตัน

ชาลส์ สก็อต เชอร์ริงตัน

เกิด27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1857(1857-11-27)
อิสลิงตัน มิดเดิลเซ็กส์ อังกฤษ สหราชอาณาจักร
เสียชีวิต4 มีนาคม ค.ศ. 1952(1952-03-04) (94 ปี)
อีสต์บอร์น ซัสเซกซ์ อังกฤษ สหราชอาณาจักร
พลเมืองบริติช
ศิษย์เก่า
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
สถาบันที่ทำงาน
อาจารย์ที่ปรึกษา
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก

เซอร์ ชาลส์ สก็อต เชอร์ริงตัน (อังกฤษ: Charles Scott Sherrington, 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1857 – 4 มีนาคม ค.ศ. 1952) เป็นนักสรีรวิทยา นักประสาทวิทยา และพยาธิแพทย์ชาวอังกฤษ เป็นผู้พิสูจน์ว่ารีเฟล็กซ์เป็นกระบวนการที่เกิดร่วมกันของเซลล์ประสาทหลายเซลล์ และอธิบายการจัดระเบียบการส่งกระแสประสาท เพื่อให้เกิดการหดเกร็ง-คลายกล้ามเนื้อที่เป็นคู่ปฏิปักษ์ (Reciprocal innervation) จากผลงานนี้ ทำให้เชอร์ริงตันได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ร่วมกับเอดการ์ แอเดรียนในปี ค.ศ. 1932

ชีวประวัติอย่างเป็นทางการระบุว่าชาลส์ สก็อต เชอร์ริงตันเกิดที่เมืองอิสลิงตันในปี ค.ศ. 1857 เป็นบุตรของเจมส์ นอร์ตัน เชอร์ริงตันกับแอนน์ เธอร์เทล[3] บิดาของเขาเสียชีวิตก่อนเขาจะเกิด ทำให้เชอร์ริงตันเติบโตมากับเคเล็บ โรส ผู้ผลักดันให้เขาเรียนด้านการแพทย์ เชอร์ริงตันเรียนที่โรงเรียนอิปสวิชและราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งอังกฤษ ก่อนจะเรียนต่อที่วิทยาลัยฟิตซ์วิลเลียมของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จากนั้นเขามีโอกาสทำงานในหลายเมืองของยุโรป เช่น สทราซบูร์ โตเลโด และเบอร์ลิน ระหว่างค.ศ. 1891–1895 เชอร์ริงตันทำงานที่สถาบันบราวน์เพื่อการวิจัยสรีรวิทยาและพยาธิวิทยาขั้นสูงของมหาวิทยาลัยลอนดอน[4] และมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล[5] ก่อนจะดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เวย์นฟลีตด้านสรีรวิทยาของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เขาดำรงตำแหน่งนี้จนเกษียณในปี ค.ศ. 1936[1] ด้านชีวิตส่วนตัว เชอร์ริงตันแต่งงานกับเอเทล แมรี ไรต์ในปี ค.ศ. 1891 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 1 คน เชอร์ริงตันเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายเฉียบพลันที่เมืองอีสต์บอร์นในปี ค.ศ. 1952[6]

เชอร์ริงตันมีผลงานที่สำคัญคือการค้นพบว่ารีเฟล็กซ์เกิดจากการทำงานแบบเชื่อมโยงกันของหลายเซลล์ประสาท โดยอิงจากหลัก reciprocal innervation หรือการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหนึ่ง จะส่งผลให้กล้ามเนื้อที่เป็นคู่ตรงข้ามคลายตัวเพื่อให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลบล้างความเชื่อเดิมที่ว่ารีเฟล็กซ์เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเดี่ยว ๆ ในวงรีเฟล็กซ์[7][8] นอกจากนี้เชอร์ริงตันยังเป็นผู้ริเริ่มใช้ศัพท์จุดประสานประสาท (synapse) เพื่ออธิบายโครงสร้างที่ใช้ส่งผ่านสารสื่อประสาทและกระแสไฟฟ้าระหว่างเซลล์ประสาท[9][10]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Liddell, E. G. T. (1952). "Charles Scott Sherrington. 1857-1952". Obituary Notices of Fellows of the Royal Society. 8 (21): 241–270. doi:10.1098/rsbm.1952.0016. JSTOR 768811.
  2. Neurotree profile: Charles Scott Sherrington
  3. "Sir Charles Sherrington - Biographical". Nobel Prize official Website. 1932. สืบค้นเมื่อ Nov 26, 2016.
  4. Karl Grandin, ed. (1932). "Sir Charles Sherrington Biography". Les Prix Nobel. The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2008-07-23. {{cite web}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  5. Eccles, J.; Gibson, W. (1979). Sherrington: His Life and Thought. Berlin; New York: Springer International. pp. 1–6, 15, 24–25. ISBN 978-0-387-09063-4.
  6. "Sir Charles Sherrington - Biographical". NobelPrize.org. สืบค้นเมื่อ March 26, 2020.
  7. Sherrington, Charles Scott (July 8, 1909). "Reciprocal innervation of antagonistic muscles. Fourteenth note. - On double reciprocal innervation". The Royal Society. สืบค้นเมื่อ March 26, 2020.
  8. "Sir Charles Scott Sherrington - British physiologist". Britannica. สืบค้นเมื่อ March 26, 2020.
  9. Foster, M.; Sherrington, C.S. (1897). Textbook of Physiology, volume 3 (7th ed.). London: Macmillan. p. 929.
  10. "Sir Charles Scott Sherrington (1857–1952)". American Journal of Physiology. สืบค้นเมื่อ March 26, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya