ซูบัก
ซูบัก (อินโดนีเซีย: Subak) คือชื่อของระบบการจัดการน้ำ (ชลประทาน) สำหรับนาข้าวบนเกาะบาหลี จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีการคิดค้นเป็นเวลานานกว่า 1,000 ปี ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 สำหรับชาวบาหลี ระบบชลประทานบนเกาะนั้นไม่ง่ายที่จะจัดหาน้ำสำหรับพืชพรรณต่าง ๆ แต่น้ำถูกใช้ในการสร้างระบบนิเวศเทียม นาข้าวในบาหลีถูกสร้างรอบ ๆ วัด และการจัดสรรน้ำถูกสร้างโดยนักบวช ซูบักคือระบบชลประทานที่ยั่งยืนตามธรรมชาติซึ่งผูกสังคมเกษตรกรรมบาหลีเข้าด้วยกันภายในศูนย์ชุมชนของหมู่บ้านและวัดบาหลี[1] ครอบคลุม 19,500 เฮกตาร์ การจัดการน้ำอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของนักบวชในวัดต่าง ๆ ซึ่งมีการฝึกฝนปรัชญาไตรหิตกรณะ (Tri Hita Karana) หรือความสัมพันธ์ของดินแดนระหว่างวิญญาณ โลกมนุษย์ และพระเจ้า ไตรหิตกรณะเกี่ยวข้องกับวิธีการโบราณตามอย่างในอินเดียโดยฤๅษีในศาสนาฮินดู มรดกโลกการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 36 เมื่อ พ.ศ. 2555 องค์การยูเนสโกขึ้นทะเบียน "ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของจังหวัดบาหลี : ระบบซูบัก หลักการตามปรัชญาไตรหิตกรณะ" ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้[2]
สมุดภาพ
อ้างอิง
|