องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศอินโดนีเซียทั้งสิ้น 10 แหล่ง ประกอบด้วยแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 6 แหล่ง และแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ 4 แหล่ง[1]
ที่ตั้ง
ที่ตั้งแหล่งมรดกโลกในประเทศอินโดนีเซีย
สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่
|
ภาพ
|
ที่ตั้ง
|
ประเภท
|
พื้นที่ (เฮกตาร์)
|
ปีขึ้นทะเบียน (พ.ศ./ค.ศ.)
|
คำบรรยาย
|
อ้างอิง
|
กลุ่มวัดโบโรบูดูร์
|
|
จังหวัดชวากลาง 7°36′28.6″S 110°12′14.6″E / 7.607944°S 110.204056°E / -7.607944; 110.204056 (Borobudur Temple Compounds)
|
วัฒนธรรม: (i), (ii), (vi)
|
25.51; พื้นที่กันชน 64.31
|
2534/1991
|
กลุ่มศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ประกอบด้วยจันดีโบโรบูดูร์ จันดีเมินดุต และจันดีปาวน สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ไศเลนทร์หรือราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึง 9 ด้วยหินภูเขาไฟ และแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ
|
592[2]
|
กลุ่มวัดปรัมบานัน
|
|
จังหวัดชวากลางและเขตพิเศษยกยาการ์ตา 7°45′07.3″S 110°29′29.3″E / 7.752028°S 110.491472°E / -7.752028; 110.491472 (Prambanan Temple Compounds)
|
วัฒนธรรม: (i), (iv)
|
|
2534/1991
|
กลุ่มเทวสถานในศาสนาฮินดู สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์สัญชัยหรือราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 เพื่ออุทิศแด่พระตรีมูรติ ประกอบไปด้วยปรางค์จำนวนกว่า 150 องค์ แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของศิลปะและสถาปัตยกรรมฮินดูในชวาโบราณ
|
642[3]
|
แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรก ซางีรัน
|
|
จังหวัดชวากลาง 7°27′20.5″S 110°50′03.2″E / 7.455694°S 110.834222°E / -7.455694; 110.834222 (Sangiran Early Man Site)
|
วัฒนธรรม: (iii), (vi)
|
5,600
|
2539/1996
|
แหล่งขุดค้นมนุษย์โบราณแห่งเกาะชวาซึ่งได้รับการค้นพบเมื่อ ค.ศ. 1891 จัดเป็นมนุษย์วานรที่เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ มีชีวิตอยู่ในยุคน้ำแข็งตอนต้น
|
593[4]
|
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมจังหวัดบาหลี : ระบบซูบัก หลักการตามปรัชญาไตรหิตกรณะ
|
|
จังหวัดบาหลี 8°15′25.8″S 115°24′27.9″E / 8.257167°S 115.407750°E / -8.257167; 115.407750 (Cultural Landscape of Bali Province)
|
วัฒนธรรม: (ii), (iii), (v), (vi)
|
19,519.9; พื้นที่กันชน 1,454.8
|
2555/2012
|
ระบบชลประทานเพื่อจัดสรรน้ำในการปลูกข้าวแบบนาขั้นบันไดบนเกาะบาหลี เป็นระบบที่ยั่งยืนตามธรรมชาติซึ่งผูกสังคมเกษตรกรรมบาหลีเข้าด้วยกันภายในศูนย์ชุมชนของหมู่บ้านและวัดอันเป็นที่พึ่งจิตวิญญาณของชาวฮินดูบาหลีเป็นเวลานานกว่า 1,000 ปี
|
1194[5]
|
มรดก การทำเหมืองถ่านหินอมบีลิน แห่งซาวะฮ์ลุนโต
|
|
จังหวัดสุมาตราตะวันตก 0°40′48.06″S 100°46′34.2″E / 0.6800167°S 100.776167°E / -0.6800167; 100.776167 (Cultural Landscape of Bali Province)
|
วัฒนธรรม: (ii), (iv)
|
268.18; พื้นที่กันชน 7,356.92
|
2562/2019
|
เหมืองถ่านหินที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการค้นพบถ่านหินในพื้นที่นี้เมื่อ ค.ศ. 1863 และเริ่มทำเหมืองใน ค.ศ. 1892 และกลายมาเป็นเหมืองถ่านหินที่สำคัญที่สุดของอินโดนีเซียจากการผลิตถ่านหินส่งออก
|
1610[6]
|
แกนจักรวาลวิทยา แห่งยกยาการ์ตา และภูมิสัญลักษณ์ ทางประวัติศาสตร์
|
|
เขตพิเศษยกยาการ์ตา 7°48′05.0″S 110°21′53.2″E / 7.801389°S 110.364778°E / -7.801389; 110.364778 (The Cosmological Axis of Yogyakarta and its Historic Landmarks)
|
วัฒนธรรม: (ii), (iii)
|
42.22; พื้นที่กันชน 291.17
|
2566/2023
|
ศูนย์กลางวัฒนธรรมชวาโบราณทั้งด้านวัฒนธรรม ภาษา ศิลปะ และระบอบสุลต่านที่ยังหลงเหลืออยู่ที่เดียวในอินโดนีเซีย ซึ่งยังยึดถือธรรมเนียมดั้งเดิมที่ปฎิบัติสืบทอดมาเป็นเวลาช้านาน
|
1671[7]
|
แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่
|
ภาพ
|
ที่ตั้ง
|
ประเภท
|
พื้นที่ (เฮกตาร์)
|
ปีขึ้นทะเบียน (พ.ศ./ค.ศ.)
|
คำบรรยาย
|
อ้างอิง
|
อุทยานแห่งชาติโกโมโด
|
|
จังหวัดนูซาเติงการาตะวันออก 8°36′00.1″S 119°25′16.3″E / 8.600028°S 119.421194°E / -8.600028; 119.421194 (Komodo National Park)
|
ธรรมชาติ: (vii), (x)
|
219,322
|
2534/1991
|
เขตหมู่เกาะที่มีการอนุรักษ์มังกรโกโมโดซึ่งถือเป็นสัตว์ประจำชาติของอินโดนีเซียและมีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ รวมไปถึงระบบนิเวศในท้องทะเลซึ่งอุดมไปด้วยปะการังและสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์
|
609[8]
|
อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลน
|
|
จังหวัดบันเตินและจังหวัดลัมปุง 6°45′27.0″S 105°20′36.0″E / 6.757500°S 105.343333°E / -6.757500; 105.343333 (Ujung Kulon National Park)
|
ธรรมชาติ: (vii), (x)
|
78,525
|
2534/1991
|
เขตอนุรักษ์ป่าใบกว้างชื้นที่มีพื้นที่มากที่สุดบนเกาะชวา ประกอบไปด้วยพืชและสัตว์หายากหลายชนิด เช่น กระจงชวา แรดชวา รวมไปถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสุดท้ายของสัตว์ที่สูญพันธุ์แล้ว เช่น เสือโคร่งชวา
|
608[9]
|
อุทยานแห่งชาติโลเรินตส์
|
|
จังหวัดปาปัวกลาง, จังหวัดปาปัวใต้ และจังหวัดปาปัวที่สูง 4°37′17.6″S 137°29′22.1″E / 4.621556°S 137.489472°E / -4.621556; 137.489472 (Lorentz National Park)
|
ธรรมชาติ: (vii), (ix), (x)
|
2,350,000
|
2542/1999
|
พื้นที่อนุรักษ์ที่มีสภาพแวดล้อมหลากหลายมากที่สุดในโลกตั้งแต่แหล่งชุ่มน้ำริมทะเล ป่าฝนเขตร้อนจนถึงภูเขาหิมะซึ่งมียอดเขาที่สูงที่สุดในอินโดนีเซียชื่อว่าปุนจักจายา และยังเป็นที่อยู่ของนกกว่า 630 ชนิด ซึ่งนับเป็นร้อยละ 95 ของสายพันธุ์นกในปาปัว
|
955[10]
|
มรดกป่าฝนเขตร้อน แห่งสุมาตรา
|
|
จังหวัดอาเจะฮ์, จังหวัดสุมาตราเหนือ, จังหวัดสุมาตราตะวันตก, จังหวัดจัมบี, จังหวัดเบิงกูลู, จังหวัดสุมาตราใต้ และจังหวัดลัมปุง 3°45′22.8″N 97°10′24.7″E / 3.756333°N 97.173528°E / 3.756333; 97.173528 (Tropical Rainforest Heritage of Sumatra)
|
ธรรมชาติ: (vii), (ix), (x)
|
2,595,124
|
2547/2004
|
ประกอบด้วยเขตอุทยานแห่งชาติ 3 แห่งได้แก่ อุทยานแห่งชาติกูนุงเลอเซอร์, อุทยานแห่งชาติเกอรินจีเซอบลัต และอุทยานแห่งชาติบูกิตบารีซันเซอลาตัน เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่หายากหลายชนิด เช่น กระซู่ เสือโคร่งสุมาตรา นกกาเหว่าสุมาตรา ปัจจุบันเป็นแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตรายตั้งแต่ ค.ศ. 2011
|
1167[11][12]
|
สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
ประเทศอินโดนีเซียมีสถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 18 แห่ง ได้แก่[1]
- ปี พ.ศ./ค.ศ. ในวงเล็บ หมายถึงปีที่สถานที่นั้น ๆ ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
อ้างอิง
|
---|
ทางวัฒนธรรม | |
---|
ทางธรรมชาติ | |
---|
หมายเหตุ: ใช้ชื่อตามที่ได้เสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก |