ดาวหางแฮลลีย์ (อังกฤษ : Halley's Comet หรือ Comet Halley ) คนไทยเรียก ดาวหางฮัลเลย์ [ 15] มีชื่ออย่างเป็นทางการตามระบบดาวหางว่า 1P/Halley เป็นดาวหาง คาบสั้น ที่สามารถมองเห็นได้จากโลกในทุก 75–79 ปี[ 1] แฮลลีย์เป็นดาวหางคาบสั้นเพียงดวงเดียวที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จากโลกเป็นประจำ และยังเป็นดาวหางที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพียงดวงเดียว ที่ปรากฏให้เห็นได้ถึงสองครั้งในช่วงชีวิตของมนุษย์[ 16] ครั้งสุดท้ายที่ปรากฎให้เห็นในระบบสุริยะ ชั้นในคือปี พ.ศ. 2529 และจะปรากฏครั้งถัดไปในช่วงกลางปี พ.ศ. 2604
การโคจรกลับมาในระบบสุริยะชั้นใน อย่างเป็นคาบของดาวหางแฮลลีย์ ได้รับการสังเกตและบันทึกไว้โดยนักดาราศาสตร์ทั่วโลกมาตั้งแต่ 240 ปีก่อนคริสตกาลเป็นอย่างน้อย กระทั่งในปี ค.ศ. 1705 เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษได้เข้าใจว่าการกลับมาในทุกครั้งของดาวหางดวงที่สังเกตได้นั้นเป็นดาวหางดวงเดิม จากการค้นพบดังกล่าวนี้ทำให้ดวงหางดวงนี้ได้รับการตั้งชื่อตามเอ็ดมันด์ แฮลลีย์[ 17]
ในช่วงการกลับมายังระบบสุริยะชั้นในของแฮลลีย์ในปี พ.ศ. 2529 มีการสังเกตรายละเอียดของดาวหางจากยานอวกาศ โดยนับเป็นครั้งแรกที่มีการสังเกตในลักษณะนี้ ทำให้ทราบได้ถึงข้อมูลโครงสร้างจากการสังเกตของนิวเคลียสดาวหาง กลไกของโคมา และการเกิดหาง เป็นครั้งแรก[ 18] [ 19] ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสนับสนุนสมมติฐานที่มีมาอย่างยาวนานเกี่ยวกับโครงสร้างของดาวหาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบจำลอง "บอลหิมะสกปรก" (dirty snowball) ของเฟรด วิปเปิล ซึ่งคาดการณ์เอาไว้ได้อย่างถูกต้องว่าดาวหางแฮลลีย์นั้นประกอบไปด้วยน้ำแข็งระเหย ที่ผสมกัน เช่น น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย และฝุ่น ภารกิจดังกล่าวยังให้ข้อมูลซึ่งเป็นการปฏิรูปความเข้าใจและกำหนดแนวคิดขึ้นใหม่อย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับดาวหางด้วย เช่น ความเข้าใจใหม่ที่ว่าพื้นผิวของดาวหางแฮลลีย์นั้นประกอบด้วยฝุ่นที่ไม่ระเหยเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงส่วนเล็ก ๆ เท่านั้นที่เป็นน้ำแข็ง
การอ่านชื่อ
ในยุคที่เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ ยังมีชีวิตอยู่ นามสกุลของเขาเขียนหลายแบบ มีทั้ง Hailey, Haley, Hayley, Halley, Hawley , และ Hawly ทำให้ไม่อาจกำหนดได้ว่า นามสกุลนี้อ่านออกเสียงอย่างไรในยุคนั้น แต่ในปัจจุบัน ผู้ใช้นามสกุลนี้นิยมอ่านนามสกุลตนเองว่า "แฮลลีย์"[ 20] ส่วนชื่อดาวหางนั้น ปัจจุบันนิยมออกเสียงว่า "แฮลลีย์" หรือ "เฮลลีย์"[ 21] [ 22]
คนไทยมักเรียกชื่อดาวหางนี้ว่า "ฮัลเลย์"[ 15] [ 23] บ้างเขียน "ฮัลเล่ย์"[ 15]
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ MPC
↑ 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Horizons2023
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ seeker2013
↑ 4.0 4.1 4.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Horizons2061
↑ 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Kinoshita
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Horizons2134
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ jpldata
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Learn
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ density
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Peale1989November
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ mass
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Peale1989
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ dark
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ESO2003
↑ 15.0 15.1 15.2 "ดาวหางฮัลเลย์" . สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ . 2020-06-18.
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Delehanty
↑ Halley, Edmund (1705). A synopsis of the astronomy of comets . Oxford: John Senex. สืบค้นเมื่อ 16 June 2020 – โดยทาง Internet Archive.
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ post
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ situ
↑ "New York Times Science Q&A" . The New York Times . 14 May 1985. สืบค้นเมื่อ 9 January 2011 .
↑ "Halley" . Merriam–Webster Online. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009 .
↑ Ridpath, Ian (1985). "Saying Hallo to Halley" . Revised extracts from "A Comet Called Halley" by Ian Ridpath, published by Cambridge University Press in 1985 . สืบค้นเมื่อ 2015-05-08 .
↑ " 'ฮัลเลย์' การเดินทางของดาวหาง และความรัก" . ไทยพีบีเอส . 2023-09-16.