Sirius A / B
ข้อมูลสังเกตการณ์ ต้นยุคอ้างอิง J2000.0 วิษุวัต J2000.0
กลุ่มดาว
สุนัขใหญ่
ไรต์แอสเซนชัน
06h 45m 08.9173s [ 1] [ 2]
เดคลิเนชัน
−16° 42′ 58.017″[ 1] [ 2]
ความส่องสว่างปรากฏ (V)
−1.47 (A)[ 1] / 8.30 (B)[ 3]
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัม A1V (A)[ 1] / DA2 (B)[ 3] ดัชนีสี U-B−0.05 (A)[ 4] / −1.04 (B)[ 3] ดัชนีสี B-V0.01 (A)[ 1] / −0.03 (B)[ 3]
มาตรดาราศาสตร์ ความเร็วแนวเล็ง (Rv ) −7.6[ 1] km /s การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) RA: −546.05[ 1] [ 2] mas /yr Dec.: −1223.14[ 1] [ 2] mas /yr พารัลแลกซ์ (π) 379.21 ± 1.58[ 1] mas ระยะทาง 8.60 ± 0.04 ly (2.64 ± 0.01 pc ) ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (MV ) 1.42 (A)[ 5] / 11.18 (B)[ 3]
วงโคจร [ 6] ดาวสมาชิก α CMa B คาบการโคจร (P) 50.09 ปี ค่ากึ่งแกนเอก (a) 7.56" ความเยื้องศูนย์กลาง (e) 0.592 ความเอียง (i) 136.5° ลองจิจูดของจุดโหนด (Ω) 44.6° ต้นยุคอ้างอิง จุดใกล้ที่สุด (T) 1894.13 มุมของจุดใกล้ที่สุด (ω) (secondary) 147.3°
รายละเอียด มวล 2.02[ 7] (A) / 0.978[ 7] (B) M ☉ รัศมี 1.711[ 7] (A) / 0.0084 ± 3%[ 8] (B) R ☉ แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g ) 4.33[ 9] (A)/8.57[ 8] (B) กำลังส่องสว่าง 25.4[ 7] (A) / 0.026[ 10] (B) L ☉ อุณหภูมิ 9,940[ 9] (A) / 25,200[ 7] (B) K ค่าความเป็นโลหะ [Fe/H] =0.50[ 11] (A) การหมุนตัว 16 km/s[ 12] (A) อายุ 2-3 × 108 [ 7] ปี
ชื่ออื่น System : α Canis Majoris, α CMa, 9 Canis Majoris, 9 CMa,
HD 48915,
HR 2491,
BD -16°1591,
GCTP 1577.00 A/B,
GJ 244 A/B,
LHS 219, ADS 5423, LTT 2638,
HIP 32349.
B : EGGR 49, WD 0642-166.
[ 1] [ 13] [ 14]
ดาวซิริอุส (อังกฤษ : Sirius ) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งในภาษาไทย ว่า ดาวโจร [ 15] เป็นดาวฤกษ์ ที่สว่างที่สุดในตอนกลางคืนและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่าระดับความสว่าง อยู่ที่ -1.47 ซึ่งสว่างเกือบเป็นสองเท่าของดาวคาโนปุส ดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับสอง ชื่อ ซิริอุส มาจากภาษากรีกโบราณ ว่า "เซริออส" (Σείριος ) มีชื่อตามระบบไบเยอร์ ว่า อัลฟา คานิส เมเจอริส (α Canis Majoris หรือ α CMa) ความจริงดาวที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าว่าเป็นดาวดวงเดียวนั้นเป็นระบบดาวคู่ ประกอบด้วยดาวสีขาวในลำดับหลัก (Main Sequence) ประเภท A1V ชื่อว่า ซิริอุส เอ (Sirius A) กับดาวแคระขาวสีจาง ๆ ในประเภท DA2 ชื่อว่า ซิริอุส บี (Sirius B)
การที่ดาวซิริอุสเป็นดาวที่สว่างที่สุด นอกจากความสามารถในการส่องสว่างของมันเองแล้ว มันยังอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ของเรามาก คือห่างไปเพียง 2.6 พาร์เซก (ประมาณ 8.6 ปีแสง ) ระบบดาวซิริอุสถือว่าเป็นระบบดาวเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดกลุ่มหนึ่ง ดาวซิริอุสเอมีมวลประมาณ 2 เท่าของดวงอาทิตย์ และมีค่าความสว่างสัมบูรณ์ เท่ากับ 1.42 หรือคิดเป็น 25 เท่าของความสว่างของดวงอาทิตย์[ 16] แต่มันก็ยังมีความสว่างต่ำกว่าดาวฤกษ์สว่างดวงอื่น เช่น คาโนปุส หรือ ไรเจล ระบบดาวซิริอุสมีอายุเก่าแก่ราว 200-300 ล้านปี[ 16] แต่เดิมประกอบด้วยดาวสีน้ำเงินสว่างสองดวง ดวงที่มีมวลมากกว่าคือ ซิริอุสบี เผาผลาญเชื้อเพลิงจนหมดและกลายเป็นดาวยักษ์แดง ก่อนจะหดตัวลงและกลายเป็นดาวแคระขาว เช่นในปัจจุบันตั้งแต่เมื่อ 120 ล้านปีที่แล้ว[ 16]
ดาวซิริอุสเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในอีกชื่อหนึ่งว่า ดาวสุนัขใหญ่ สื่อถึงชื่อกลุ่มดาวที่มันสังกัดอยู่ คือ Canis Major (ภาษาละติน แปลว่า สุนัขใหญ่)[ 17] เป็นดาวที่มีเรื่องเล่าตำนานและนิทานพื้นบ้านเกี่ยวข้องมากมายยิ่งกว่าดาวฤกษ์อื่นๆ นอกเหนือจากดวงอาทิตย์ การปรากฏของดาวซิริอุสที่ขอบฟ้ายามรุ่งสาง เป็นสัญลักษณ์บอกฤดูน้ำหลากของแม่น้ำไนล์ ในอียิปต์โบราณ และเป็นวันสำคัญคือ "วันสุนัข" ในฤดูร้อน ของกรีซโบราณ ส่วนชาวอาหรับเผ่าคุซาอะหฺ ก่อนอิสลาม กาลก็ได้สักการบูชาดาวดวงนี้ โดยเรียกว่า อัชชิอฺรอ ส่วนชาวโพลินีเชียน ใช้ในการระบุการเข้าสู่ฤดูหนาว ทั้งยังเป็นดาวสำคัญที่ใช้นำทางสำหรับการเดินทางในมหาสมุทรแปซิฟิก
อ้างอิง
↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Sirius A" . SIMBAD Astronomical Database . Centre de Données astronomiques de Strasbourg. สืบค้นเมื่อ 20 October 2007 .
↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Astrometric data, mirrored by SIMBAD from the Hipparcos catalogue, pertains to the center of mass of the Sirius system. See §2.3.4, Volume 1, The Hipparcos and Tycho Catalogues , European Space Agency, 1997, and the entry for Sirius in the Hipparcos catalogue (CDS ID I/239 .)
↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 McCook, G. P.; Sion, E. M. (2014). "Entry for WD 0642-166" . VizieR Online Data Catalog . CDS . Bibcode :2016yCat....102035M .
↑ Entry for HR 2491 , Bright Star Catalogue, 5th Revised Ed. (Preliminary Version) , D. Hoffleit and W. H. Warren, Jr., 1991. (CDS ID V/50 .)
↑ For apparent magnitude m and parallax π , the absolute magnitude Mv of Sirius A is given by:
M
v
=
m
+
5
(
log
10
π
+
1
)
=
−
1.47
+
5
(
log
10
0.37921
+
1
)
=
1.42
{\displaystyle {\begin{smallmatrix}M_{v}\ =\ m+5(\log _{10}{\pi }+1)\ =\ -1.47+5(\log _{10}{0.37921}+1)\ =\ 1.42\end{smallmatrix}}}
See: Tayler, Roger John (1994). The Stars: Their Structure and Evolution . Cambridge University Press. pp. 16 . ISBN 0521458854 .
↑ Gatewood, G. D.; Gatewood, C. V. (1978). "A study of Sirius" . The Astrophysical Journal . 225 : 191–197. doi :10.1086/156480 . (p. 195.)
↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Liebert, James; Young, P. A.; Arnett, David; Holberg, J. B.; Williams, Kurtis A. (2005). "The Age and Progenitor Mass of Sirius B". The Astrophysical Journal . 630 (1): L69–L72. arXiv :astro-ph/0507523 . Bibcode :2005ApJ...630L..69L . doi :10.1086/462419 . S2CID 8792889 .
↑ 8.0 8.1 Holberg, J. B.; Barstow, M. A.; Bruhweiler, F. C.; Cruise, A. M.; Penny, A. J. (1998). "Sirius B: A New, More Accurate View" . The Astrophysical Journal . 497 (2): 935–942. Bibcode :1998ApJ...497..935H . doi :10.1086/305489 .
↑ 9.0 9.1 Adelman, Saul J. (July 8–13, 2004). "The Physical Properties of normal A stars" . Proceedings of the International Astronomical Union . Poprad, Slovakia: Cambridge University Press. pp. 1–11. สืบค้นเมื่อ 2007-07-03 .
↑ From L=4πR2 σTeff 4 . See: Tayler, Roger John (1994). The Stars: Their Structure and Evolution . Cambridge University Press. pp. 16 . ISBN 0521458854 .
↑ Qiu, H. M.; Zhao, G.; Chen, Y. Q.; Li, Z. W. (2001). "The Abundance Patterns of Sirius and Vega" . The Astrophysical Journal . 548 (2): 953–965. Bibcode :2001ApJ...548..953Q . doi :10.1086/319000 .
↑ Kervella, P.; Thevenin, F.; Morel, P.; Borde, P.; Di Folco, E. (2003). "The interferometric diameter and internal structure of Sirius A". Astronomy and Astrophysics . 407 (2): 681–688. arXiv :astro-ph/0306604 . Bibcode :2003A&A...408..681K . doi :10.1051/0004-6361:20030994 . S2CID 16678626 .
↑ "Sirius B" . SIMBAD Astronomical Database . Centre de Données astronomiques de Strasbourg. สืบค้นเมื่อ 23 October 2007 .
↑ General Catalogue of Trigonometric Stellar Parallaxes, Fourth Edition , W. F. van Altena, J. T. Lee, and E. D. Hoffleit, Yale University Observatory , 1995. (CDS ID I/238A .)
↑ วิภู รุโจปการ. (2547). เอกภพ เพื่อความเข้าใจในธรรมชาติของจักรวาล . บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น จำกัด. หน้า 233
↑ 16.0 16.1 16.2 Liebert, J.; Young, P. A.; Arnett, D.; Holberg, J. B.; Williams, K. A. (2005). "The Age and Progenitor Mass of Sirius B" . The Astrophysical Journal 630 (1): L69-L72.
↑ Richard Hinckley Allen (1899). Star-names and Their Meanings . New York: G. E. Stechert, 117.
แหล่งข้อมูลอื่น
พิกัด : 06h 45m 08.9173s , −16° 42′ 58.017″