Share to:

 

ตำบลกองทูล

ตำบลกองทูล
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Kong Thun
วัดธรรมเสมา
ประเทศไทย
จังหวัดเพชรบูรณ์
อำเภอหนองไผ่
พื้นที่
 • ทั้งหมด64.39 ตร.กม. (24.86 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)[1]
 • ทั้งหมด4,297 คน
 • ความหนาแน่น66.73 คน/ตร.กม. (172.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 67140
รหัสภูมิศาสตร์670701
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
อบต.กองทูลตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์
อบต.กองทูล
อบต.กองทูล
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
พิกัด: 15°56′41.7″N 101°05′38.4″E / 15.944917°N 101.094000°E / 15.944917; 101.094000
ประเทศ ไทย
จังหวัดเพชรบูรณ์
อำเภอหนองไผ่
การปกครอง
 • นายกวุฒิโชติ กองชนะ
พื้นที่
 • ทั้งหมด64.39 ตร.กม. (24.86 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด4,297 คน
 • ความหนาแน่น66.73 คน/ตร.กม. (172.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06670708
ที่อยู่ที่ทำการหมู่ที่ 2 ตำบลกองทูล อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67140
เว็บไซต์www.kongtool.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

กองทูล เป็นตำบลในอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นที่ตั้งของวัดธรรมเสมาซึ่งมีปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดคือ พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์ องค์เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์โบราณ หรือที่เรียกว่า "เจดีย์ลอย" ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลกองทูล มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลนาเฉลียง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลท่าแดง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลเพชรละคร
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบัววัฒนา และตำบลหนองไผ่

ประวัติ

ประวัติตำบลกองทูล ไม่ปรากฏเป็นหลักฐานที่ชัดเจน แต่จากการสอบถามคนเฒ่า คนแก่ได้ให้ความเห็นว่าบ้านกองทูลเป็นบ้านเก่าแก่ ตั้งแต่เมืองศรีเทพเจริญรุ่งเรือง และมีขอมปกครองสร้างศิลปวัฒนธรรมมากมาย สมัยนั้นหมู่บ้านกองทูลได้รับแต่งตั้งให้เป็นตำบล ซึ่งเป็นที่ต้อนรับและพักระหว่างการเดินทางไปยังเมืองเพชรบูรณ์ มีเส้นทางจากอำเภอวิเชียรบุรีผ่านมาตำบลกองทูลจะขึ้นอยู่กับอำเภอวิเชียรบุรี และก็ได้มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็คือ เจ้าเมืองเล็งที่ครองเมืองวิเชียรบุรี มีลูกชายจะมาสู่ขอและแต่งงานกับลูกสาวของเจ้าเมืองเพชรบูรณ์ ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงเดินทางมาสู่ขอและทาบทามกันแต่ยังเดินทางไปไม่ถึงตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ได้พักค้างคืนที่ตำบลกองทูลก่อน จึงปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับการแต่งงานของฝ่ายเจ้าบ่าวและฝ่ายเจ้าสาวไม่เรียกค่าสินสอด แต่ทั้งสองฝ่ายได้นำเงินมากองรวมกันเรียกว่า "กองทุน" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเสียงเรียกกันเป็น "กองทูล" และก็ได้ใช้ชื่อว่า กองทูล มาจนถึงปัจจุบัน[3]

ต่อมาสิบตำรวจเอกสมัคร มงคลกิติ (ยศในขณะนั้น) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสายตรวจเดินทางไปปราบโจรผู้ร้ายที่อำเภอวิเชียรบุรีซึ่งมีตำบลกองทูล ตำบลบ้านโภชน์ ตำบลกันจุเป็นเขตการปกครอง เนื่องจากเส้นทางเป็นทางเดินเท้าหรือใช้ม้าได้เท่านั้น ทำให้การปราบปรามโจรผู้ร้ายไม่ค่อยได้ผล จึงได้ปรึกษาคณะกรรมการท้องถิ่นซึ่งมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและครูในเขตตำบลกองทูลชี้แจงปัญหากับจังหวัดให้จะตั้งกิ่งอำเภอขึ้น และเห็นว่าตำบลกองทูลเป็นพื้นที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอำเภอเมืองเพชรบูรณ์และอำเภอวิเชียรบุรี ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2503 จึงประกาศแยก 3 ตำบลขึ้นเป็น กิ่งอำเภอหนองไผ่[4] โดยตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอ ณ บ้านหนองไผ่ ตำบลกองทูล โดยมีนายสมบูรณ์ อมรบุตร เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอหนองไผ่คนแรก เปิดใช้ที่ว่าการกิ่งอำเภอในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2504[5]

ในปี พ.ศ. 2505 ทางราชการได้โอนพื้นที่กิ่งอำเภอหนองไผ่ ของอำเภอวิเชียรบุรี ไปขึ้นกับอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ พื้นที่ตำบลกองทูลจึงย้ายไปขึ้นกับกิ่งอำเภอหนองไผ่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์[6] ก่อนที่กิ่งอำเภอหนองไผ่จะแยกเป็นเอกเทศออกจากอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ในปี พ.ศ. 2506[7] และในปี พ.ศ. 2507 หมู่บ้านหนองไผ่ ในเขตตำบลกองทูล เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ มีตลาดเป็นที่ประชุมชนและมีความเจริญมากขึ้น จึงมีการตั้งสุขาภิบาลหนองไผ่[8] ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ชุมชนไปตามแนวถนนคชเสนีย์

ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2532 ทางราชการได้เห็นว่าหมู่บ้านหนองไผ่มีขนาดใหญ่ และเป็นที่ตั้งศูนย์ราชการ ควรแยกตำบลเป็นเอกเทศออกจากตำบลกองทูล เพื่อให้ชื่อตำบลตรงกับที่ตั้งของท้องที่อำเภอ จึงแยกหมู่ที่ 4 กับ หมู่ 7 บ้านหนองไผ่, หมู่ 6 บ้านเนินมะกอก, หมู่ 8 บ้านคลองศรีเทพ, หมู่ 9 บ้านคลองยาง, หมู่ 12 บ้านสะพานกลางดง, หมู่ 16 บ้านลำพาด, หมู่ 17 บ้านพงษ์เพชร, หมู่ 18 บ้านหนองไผ่ใต้ รวม 10 หมู่บ้าน ตั้งเป็น ตำบลหนองไผ่[9] ตำบลกองทูลจึงเหลือพื้นที่เพียง 8 หมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

ตำบลกองทูลแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านวังชงโค (Ban Wang Chongkho)
หมู่ 2 บ้านกองทูล (Ban Kong Thun)
หมู่ 3 บ้านกองทูล (Ban Kong Thun)
หมู่ 4 บ้านน้ำเขียว (Ban Nam Khieo)
หมู่ 5 บ้านเนินมะเกลือ (Ban Noen Makluea)
หมู่ 6 บ้านท่าทอง (Ban Tha Thong
หมู่ 7 บ้านเนินพัฒนา (Ban Noen Phatthana)
หมู่ 8 บ้านหนองบัวทอง (Ban Nong Bua Thong)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่ตำบลกองทูล มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกองทูลทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลกองทูล ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516[10] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[11] จนถึงปัจจุบัน

ประชากร

พื้นที่ตำบลกองทูลประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 8 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 4,297 คน แบ่งเป็นชาย 2,131 คน หญิง 2,166 คน (เดือนธันวาคม 2565)[12] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในอำเภอหนองไผ่

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2565[13] พ.ศ. 2564[14] พ.ศ. 2563[15] พ.ศ. 2562[16] พ.ศ. 2561[17] พ.ศ. 2560[18] พ.ศ. 2559[19]
เนินพัฒนา 894 904 904 904 904 895 886
กองทูล (หมู่ 2) 558 566 581 578 589 598 595
วังชงโค 548 546 555 554 558 553 549
น้ำเขียว 542 541 543 542 550 541 550
กองทูล (หมู่ 3) 515 522 525 518 517 524 531
เนินมะเกลือ 465 462 461 454 461 458 454
หนองบัวทอง 451 452 443 442 436 438 442
ท่าทอง 324 322 315 319 314 316 316
รวม 4,297 4,315 4,327 4,311 4,329 4,323 4,323

สถานที่สำคัญ

  • วัดธรรมเสมา เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในบ้านกองทูล หมู่ที่ 2 ตำบลกองทูล อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระปลัด อลงกรณ์ วรธมฺโม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดธรรมเสมาสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2250[20] เดิมเรียก วัดโคก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2280[21] ปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดคือ พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์ องค์เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์โบราณ ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา[2] ทางวัดยังมีประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายกลบธาตุ เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชาวเมืองเพชรบูรณ์ที่ได้จัดให้มีขึ้นทุกปีในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันตรุษไทยและเพื่อทำบุญอุทิศให้กับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ

อ้างอิง

  1. ประชากรในเขตอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. 2.0 2.1 "แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ วัดธรรมเสมา หมู่ที่ 2 ตำบลกองทูล อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เจดีย์ลอย". องค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล.
  3. "ประวัติองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์". องค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (108 ง): 2562–2564. วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2503
  5. "ประวัติอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์". สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ 2023-12-31. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566
  6. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. ๒๕๐๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (73 ก): 940–942. วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2505
  7. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. ๒๕๐๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (72 ก): 362–366. วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองไผ่ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (107 ง): 2700–2701. วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอหนองไผ่ และกิ่งอำเภอเขาค้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 47-59. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2532
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-03. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  17. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  18. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  19. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  20. "วัดธรรมเสมา". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  21. "วัดธรรมเสมา". พระสังฆาธิการ.
Kembali kehalaman sebelumnya