Share to:

 

เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี

เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี
คำขวัญ: 
รำโจ๋งพื้นบ้าน ศาลสมเด็จพระนเรศวรรวมใจ งามล้ำพระนอนองค์ใหญ่ ลือเลื่องทั่วไทยไก่ย่างวิเชียรบุรี
ทม.วิเชียรบุรีตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์
ทม.วิเชียรบุรี
ทม.วิเชียรบุรี
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี
พิกัด: 15°39′27.7″N 101°07′30.4″E / 15.657694°N 101.125111°E / 15.657694; 101.125111
ประเทศ ไทย
จังหวัดเพชรบูรณ์
อำเภอวิเชียรบุรี
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีวัฒนพงษ์ เกิดพูล
พื้นที่
 • ทั้งหมด26.54 ตร.กม. (10.25 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด22,827 คน
 • ความหนาแน่น860.10 คน/ตร.กม. (2,227.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04670501
เว็บไซต์www.wichainburee.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

วิเชียรบุรี เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ 26.54 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล คือ ตำบลท่าโรง และตำบลสระประดู่ มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 22,827 คน[1] เป็นเทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัดเพชรบูรณ์

ประวัติ

วิเชียรบุรี เป็นชุมชนเก่าแก่ร่วมสมัยกับเมืองศรีเทพ สันนิษฐานว่าเป็นเมืองลูกหรือเมืองท่าของเมืองศรีเทพ เนื่องจากอยู่ชิดกับแม่น้ำป่าสัก ต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีความสำคัญคือเป็นเมืองของขุนพลเอกคู่ใจสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระศรีถมอรัตน์ หรือ พระยาศรีไสยณรงค์ จากคำบอกเล่าปากต่อปากของคนเฒ่าคนแก่ที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อครั้งเป็นพระมหาอุปราชา เสด็จปราบเขมรที่เมืองไชยบาดาลเสร็จแล้ว จึงเสด็จมายั้งทัพที่บริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรวิเชียรบุรีในปัจจจุบัน เพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรเมืองศรีเทพในขณะนั้น จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองวิเชียรบุรีจึงถูกยุบลงเป็นอำเภอวิเชียรบุรี เป็นอำเภอที่อยู่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์

แต่เดิมเป็นสุขาภิบาลวิเชียรบุรี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรือง การจัดตั้งสุขาภิบาลวิเชียรบุรี ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499 เปลี่ยนฐานะเป็นเทศบาลตำบลวิเชียรบุรี ตามราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และได้รับการยกฐานะจากเทศบาลตำบลวิเชียรบุรี เป็นเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[2]

ภูมิศาสตร์

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ จดหมู่ที่ 8 ตำบลท่าโรง (องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรง)
  • ทิศใต้ จดหมู่ที่ 5 ตำบลท่าโรง และตำบลสระประดู่ (ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรง และองค์การบริหารส่วนตำบลสระประดู่)
  • ทิศตะวันออก จดหมู่ที่ 17 ตำบลท่าโรงและตำบลน้ำร้อน (ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรง และองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลสระประดู่

ลักษณะภูมิประเทศ

เทศบาลเมืองวิเชียรบุรีอยู่ห่างจากถนนสระบุรี–หล่มสัก หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 เป็นระยะทาง 7 กิโลเมตรมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ และยังมีแม่น้ำป่าสักไหลผ่าน ซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชทุกชนิด

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปของเทศบาล เมืองวิเชียรบุรี มี ลักษณะภูมิอากาศ แบบมรสุม เมืองร้อน เนื่องจากได้รับอิทธิพลของมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือจากอ่าว ไทยและทะเลจีนใต้ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมรสุมอินเดีย ทำให้มี 3 ฤดูกาล คือ

  • ฤดูร้อน ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ไป ถึงเดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน ตั้งแต่ ปลายเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายนถึง เดือนมกราคมของทุกปี

ประชากร

ในปี พ.ศ. 2560 เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 22,827 คน ประกอบด้วย ชาย 10,893 คน คิดเป็นร้อยละ 47.72 และหญิง 11,934 คน คิดเป็นร้อยละ 52.28 มีจำนวนครัวเรือน 8,339 ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 860.10 คนต่อตารางกิโลเมตร

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya