ตำบลโป่งน้ำร้อน (อำเภอคลองลาน)
โป่งน้ำร้อน เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่ทั้งหมด 296 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 185,000 ไร่ ทั้งพื้นที่ของตำบลอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน ประวัติ
ระหว่างปี พ.ศ. 2420 - พ.ศ. 2430 เมื่อประมาณ 120 ปีเศษ ได้ปรากฏหลักฐานว่าสองฝั่งของลำคลองสวนหมาก ซึ่งไหลผ่านหมู่บ้านโป่งน้ำร้อนในปัจจุบัน ตั้งแต่เหนือหมู่บ้านโป่งน้ำร้อนขึ้นไปจนสุดเขตของป่าไม้สัก ได้มีการทำไม้สักออกไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยมีหลักฐานตอไม้สักที่ถูกโค่นลง เหลือปรากฏให้เห็นการทำไม้สักในบริเวณนี้ นอกจาก “พะโป้” แล้วไม่ปรากฏว่าใครเข้ามาทำไม้เลย ซึ่ง “พะโป้” เป็นคนเชื้อชาติกะเหรี่ยง แต่มาได้ภรรยาเป็นคนไทย มีบุตรธิดา ซึ่งล่วงลับไปแล้วล้วนมีอายุเกิน 100 ปี ทั้งสิ้น ขณะที่กล่าวถึงนี้โป่งน้ำร้อน ยังไม่มีผู้คนมาตั้งรกรากอยู่เลย คนรุ่นแรกเป็นคนงานตัดไม้สักให้ “พะโป้” เมื่อหมดการทำไม้แล้วเห็นเป็นพื้นที่พอจะมาตั้งครอบครัวทำมาหากินได้ ก็ทยอยกันมาจับจองทำไร่ หาของป่าออกไปจำหน่ายยังตำบลคลองสวนหมาก (คือนครชุมในปัจจุบัน) ที่มาของชื่อบ้านโป่งน้ำร้อน เกิดจากธรรมชาติ คือเหนือหมู่บ้านขึ้นไปประมาณ 1,200 ม. มีโป่งขนาดใหญ่ (โป่ง คือ ดินเค็มที่มีสัตว์นานาชนิดลงมากินดินโป่ง) ซึ่งบริเวณนี้เป็นที่ล่าสัตว์ป่าของพรานสมัยก่อน มีน้ำไหลซึมออกมานน้ำที่ไหลออกมาแรกๆ ก็ร้อนจัดสามารถต้มไข่สุกได้ ต่อมาก็ค่อย ๆ เย็นลง แต่น้ำยังอุ่นอยู่ ขณะเดินผ่าน ปัจจุบันยังได้กลิ่นกำมะถัน (สุพรรณถัน) ในฤดูหนาวจะมีหมอกควันลอยขึ้นให้เห็น ชาวชุมชนที่มาตั้งบ้านเรือนจึงเรียกว่า “บ้านโป่งน้ำร้อน” ช่วงระยะเวลาที่กล่าวมานี้ โป่งน้ำร้อนยังไม่มีผู้คนมาตั้งรกรากทำมาหากินด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ 1. จำนวนพลเมืองยังมีน้อย ที่ทำมาหากินบริเวณใกล้เคียงยังมีมากไม่ถึงกับแย่งกันครอบครอง 2. สองฝั่งลำครองสวนหมากลึกเข้ามาทางต้นคลอง เป็นที่เล่าลือกันว่า เป็นดงไข้มาเลเรียใครผ่านไปมา ถ้าเจ็บป่วยมักจะไม่รอด ผู้คนจึงกลัวกันมากไม่กล้าผ่าน (เป็นเหตุสำคัญที่สุด) ผู้คนกลุ่มแรกที่เข้ามา สันนิษฐานว่าเป็นคนงานลูกจ้างตัดฟันไม้ของพะโป้ซึ่งจะมีกะเหรี่ยงติดตามมากับพะโป้แล้วยังมีคนงานมาจากเวียงจันทน์ ล้านช้าง และชาวอีสาน เมื่อหมดระยะเวลาทำไม้หรือไม่ได้เป็นคนงานแล้ว ก็คิดจับจองที่ทำกินซึ่งอุดมสมบูรณ์กว่าทางภาคอีสานของไทยมาก บ้านโป่งน้ำร้อนอยู่ในเขตการปกครองของตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ระยะแรกมีคนมาอยู่ไม่มากนัก เมื่อหมดสัมปทานทำไม้ของพะโป้ในราว พ.ศ. 2470 บริษัทป่าไม้ล่ำซำ ซึ่งเป็นของคนเชื้อชาติจีน ได้สัมปทานมาทำไม้สัก ได้มาตั้งที่พักคนงานและพักเสบียงอาหาร ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดโป่งน้ำร้อนใต้ในปัจจุบันนี้ ขณะนั้นมีคนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ไม่เกิน 10 หลังคาเรือน บริเวณที่ตั้งพักคนงาน ยังเป็นที่ปล่อยให้ช้างหากินตามธรรมชาติ ผู้ที่มาตั้งฐานชุดแรก สันนิษฐานว่าจะเป็นคนงานภาคอีสานและลาวเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นคนงานของพะโป้ เมื่อหมดงานหรือหมดสัญญา เห็นว่าบริเวณนี้พอที่จะทำไร่ทำนาได้และเห็นว่าทั้งสองฝั่งของคลองสวนหมากเป็นป่าสมบูรณ์ พอจะล่าสัตว์และหาของป่าขายได้ จึงพากันมาตั้งหลักฐาน พอดีมีบริษัทล่ำซำมาบุกเบิกทำป่าไม้สักขึ้นอีก จึงพากันมาเป็นลูกจ้างคนงานของบริษัท ผู้คนก็มากขึ้น ชาวบ้านทางนครชุมก็มาทำการค้าขาย ตั้งบ้านเรือนจนเป็นชุมชนใหญ่พอสมควร การปกครองจึงตั้งเป็นหมู่ที่ 5 ของตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ผู้ใหญ่คนแรกชื่อ นายสา เพ็งศรี เป็นชาวเวียงจันทน์ เมื่อชุมชนแห่งนี้มีผู้คนมากขึ้น ที่ทิ้งไม่ได้คือ ศาสนกิจ ชาวบ้านจึงช่วยกันจัดหาสถานที่ทำเป็นที่พักสงฆ์ เพื่อบำเพ็ญกุศลกันเป็นครั้งคราว เช่นวันสงกรานต์ และนิมนต์พระมาเทศน์เรื่อง พระเวสสันดรชาดก ในวันเพ็ญเดือน 12 ชาวบ้านจึงช่วยกันสร้างที่พัก มีกุฏิสงฆ์ 1 หลัง 2 ห้อง และมีศาลาตองตึง (ตองพวง) 1 หลัง บนที่ดินของนายอู๊ด นางตุ๊ บุจันทร์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ที่ตั้งประปา หมู่ที่ 1 ปัจจุบัน เมื่อมีความเจริญมากขึ้น ทางราชการได้ยกฐานะ หมู่บ้านโป่งน้ำร้อนขึ้นเป็นตำบลโป่งน้ำร้อน ขึ้นกับอำเภอเมือง ต่อมาในปี 2521[1 1] ตำบลโป่งน้ำร้อนได้มาขึ้นกับเขตการปกครองของ กิ่งอำเภอคลองลาน ในปี 2522[3] กิ่งอำเภอคลองลานจึงได้ยกฐานะเป็นอำเภอคลองลาน ตำบลโป่งน้ำร้อน มีกำนันตำบลคนแรกคือ นายคง เพ็งศรี ด้านการศึกษา เมื่อมีผู้คนมาอยู่มากขึ้น มีชาวนครชุมไปมาค้าขายและมาตั้งบ้านเรือน ต่อมามีชาวนครชุมคนหนึ่ง ชื่อนายทำ อุทาหรณ์ ได้พาครอบครัวมาอยู่และใช้บ้านเปิดเป็นที่สอนเด็กโดยรับจ้างสอนคนละ 1 สลึงต่อเดือน อยู่ได้ระยะหนึ่งก็อพยพกลับนครชุม การรับจ้างสอนเด็กก็เป็นอันยุติลง ต่อมาได้มี นายตื้อ ใจดี ชาวอุ้มผาง มาอยู่โป่งน้ำร้อน ทำการรับจ้างสอนอีก ประมาณปี พ.ศ. 2476 นายชง มิสิกะพงษ์ ศึกษาธิการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ได้มาตรวจ สภาพประชากรที่โป่งน้ำร้อน ได้พบเห็นนายตื้อ ใจดี รับจ้างสอนเด็กจึงทาบทามให้เป็นครู เมื่อสำรวจจำนวนเด็กได้พอสมควรแล้ว จึงมอบหมายให้ นายตื้อ ใจดี เป็นครูคนแรก โดยใช้ศาลากลางบ้านเป็นสถานที่ศึกษา (ศาลากลางบ้านปัจจุบันอยู่บริเวณใกล้ ๆ ที่ตั้งประปาหมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นที่ของนายอู๊ด กับนางตุ๊ และได้ยกให้วัด) เมื่อบริษัทล่ำซำมาทำไม้สัก ได้มีเอกชนเข้าไปทำไม้กระยาเลย เช่น ไม้ตะแบก กะพง กระท้อน ทางฝั่งขวาของคลองสวนหมาก (ปัจจุบันคือบ้านเพชรนิยม – บ้านสุขสำราญ) ก็ไปรับจ้างชาวบ้านตากนำเกวียนมาชักลากไม้ พวกนี้ก็พาครอบครัวมาจับจองที่ทำกิน (กลุ่มผู้ใหญ่ตัน ม่านมูล จากบ้านฉลอมท้องฟ้า จังหวัดตาก) พร้อมกับกลุ่มพ่อหนานเทพ มูลทรัพย์ ได้พาครอบครัวมาจากจังหวัดลำปาง มาฝึกสอนลูกช้างให้บริษัทล่ำซำ คนจากจังหวัดตาก แพร่ ลำปาง ลำพูน ก็อพยพลงมาอยู่หลายครอบครัว ชาวนครชุมเคยมีอาชีพตักน้ำมันยาง ทำไต้ หาหวายโป่ง ก็พาญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงมาทำอาชีพที่ถนัด ตั้งแต่บ้านหนองปิ้งไก่ ท่าเสากระโดง ท่ากะบาก จนถึงบ้านโป่งน้ำร้อน การศึกษาเริ่มตั้งแต่ นายตื้อ ใจดี ได้รับการแต่งตั้งเป็นครูใหญ่ ใช้ศาลากลางบ้านเป็นโรงเรียน มีครูใหญ่หมุนเวียนมาหลายคน จนศาลาที่ใช้ทำการสอนเริ่มผุพัง ชำรุดทรุดโทรม ประมาณ ปี พ.ศ. 2492 นายแก้ว มูลทรัพย์ กำนันตำบลโป่งน้ำร้อน เห็นว่าที่ของบริษัทล่ำซำว่างเปล่า จึงได้ไปขอใช้สถานที่ เมื่อได้รับอนุญาตแล้วก็ปรึกษาชาวบ้าน ช่วยกันย้ายโรงเรียนไปอยู่ที่บริเวณวัดโป่งน้ำร้อนใต้ ต่อมานายจำนง เทพหัสดิน เป็นนายอำเภอเมือง มาตรวจราชการที่โรงเรียนซึ่งย้าย มาอยู่อาคารชั่วคราวได้ 2 – 3 ปี จึงแนะนำให้นายละมูล ญาติกา ซึ่งเป็นครูใหญ่ ของบประมาณมาก่อสร้างอาคารถาวรในวัดเป็นครั้งแรก อาคารยังไม่ทันแล้วเสร็จ นายละมูล ญาติกา ก็ได้เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2503 ต่อมานายหยู ย่อมไธสงค์ เป็นครูใหญ่เห็นว่าสถานที่คับแคบ ได้ปรึกษากับนายหน่อแก้ว แม่นยำ กำนันตำบลโป่งน้ำร้อน จึงได้หาสถานที่แห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 เพื่อความสะดวกในการเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียนทั้ง 2 หมู่บ้าน และได้เปิดทำการสอนในปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ทำเนียบรายนามผู้ดำรงตำแหน่งกำนันตำบลโป่งน้ำร้อน
อาณาเขตติดต่อ
หมู่บ้านตำบลโป่งน้ำร้อนแบ่งเขตการปกครองเป็น 10 หมู่บ้าน ดังนี้
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|