Share to:

 

ทอล์กกิงเฮดส์

ทอล์กกิงเฮดส์
ทอล์กกิงเฮดส์ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: เดวิด เบิร์น, เจอร์รี แฮร์ริสัน, คริส ฟรันทซ์ และทีนา เวย์มัท
ทอล์กกิงเฮดส์ในช่วงปลายทศวรรษ 1970
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: เดวิด เบิร์น, เจอร์รี แฮร์ริสัน, คริส ฟรันทซ์ และทีนา เวย์มัท
ข้อมูลพื้นฐาน
รู้จักในชื่อชรังเคนเฮดส์, เดอะเฮดส์
ที่เกิดนครนิวยอร์ก  สหรัฐอเมริกา
แนวเพลง
ช่วงปี
  • 1975–1991
  • 1996–2002
ค่ายเพลง
อดีตสมาชิก

ทอล์กกิงเฮดส์ (อังกฤษ: Talking Heads) เป็นวงดนตรีร็อกสัญชาติอเมริกันที่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1975 ที่นครนิวยอร์ก และมีผลงานจนถึง ค.ศ. 1991[9] สมาชิกในวงได้แก่เดวิด เบิร์น (ร้องนำและกีตาร์) คริส ฟรันทซ์ (กลองชุด) ทีนา เวย์มัท (เบส) และเจอร์รี แฮร์ริสัน (คีย์บอร์ดและกีตาร์) ทอล์กกิงเฮดส์มีส่วนร่วมจุดกระแสดนตรีแนวนิวเวฟโดยการนำลักษณะของดนตรีแนวต่าง ๆ ได้แก่พังก์ร็อก อาร์ตร็อก ฟังก์ และเวิลด์มิวสิกมาผสมผสาน และเป็นที่รู้จักว่าเป็น "วงที่ได้รับเสียงวิจารณ์ทางบวกมากที่สุดวงหนึ่งในยุค '80"[3]

ทอล์กกิงเฮดส์เกิดจากกลุ่มนักเรียนศิลปะที่เบนเข็มไปยังดนตรีพังก์ร็อกแบบนิวยอร์กในช่วงทศวรรษ 1970 โดยผลงานอัลบั้มแรกเผยแพร่เมื่อ ค.ศ. 1977 โดยใช้ชื่อ ทอล์กกิงเฮดส์: 77 และได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี[10] ก่อนที่จะร่วมกับโปรดิวเซอร์ไบรอัน อีโนและมีผลงานอีกสามอัลบั้มได้แก่ มอร์ซองส์อะเบาต์บิลดิงส์แอนด์ฟุด (ค.ศ. 1978) เฟียร์ออฟมิวสิก (ค.ศ. 1979) และรีเมนอินไลต์ (ค.ศ. 1980) ซึ่งได้รับคำวิจารณ์เชิงบวกอย่างมากเช่นกัน[3] ก่อนจะหยุดพักไปช่วงหนึ่ง หลังจากนั้นทอล์กกิงเฮดส์ได้รับความนิยมสูงสุดใน ค.ศ. 1983 จากเพลง "เบิร์นนิงดาวน์เดอะเฮาส์" ในอัลบั้ม สปีกกิงอินทังส์ และออกภาพยนตร์คอนเสิร์ต สต็อปเมกกิงเซนส์ กำกับโดยโจนาธาน เดมมี[3] และยังคงออกอัลบั้มอีกหลายอัลบั้มรวมทั้ง ลิตเติลครีเอเจอส์ (ค.ศ. 1985) ซึ่งทำยอดขายสูงสุด ก่อนที่จะยุบวงใน ค.ศ. 1991 ฟรันทซ์ เวย์มัท และแฮร์ริสันยังคงออกแสดงร่วมกันโดยใช้ชื่อ ชรังเคนเฮดส์ (อังกฤษ: Shrunken Heads) และออกอัลบั้ม โนทอล์กกิง จัสต์เฮด ในนาม เดอะเฮดส์ ใน ค.ศ. 1996

ทอล์กกิงเฮดส์ได้รับเกียรติให้เข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรลใน ค.ศ. 2002 ผลงานสี่อัลบั้มติดอันดับในรายการ 500 อันดับอัลบั้มที่ดีที่สุดตลอดกาลโดยนิตยสารโรลลิงสโตน นอกจากนี้ หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรลได้จัดให้ผลงานเพลง "ไลฟ์ดูริงวอร์ไทม์" และ "วันซ์อินอะไลฟ์ไทม์" ติดอันดับในรายการ 500 เพลงที่ทำให้ร็อกแอนด์โรลเป็นรูปร่าง[11] นอกจากนี้ ทอล์กกิงเฮดส์ยังอยู่ในอันดับที่ 64 ในรายการ 100 อันดับศิลปินยอดเยี่ยมตลอดกาลโดยสถานีโทรทัศน์วีเอชวัน[12] และอันดับที่ 100 ในรายการ 100 อันดับศิลปินยอดเยี่ยมตลอดกาลโดยนิตยสารโรลลิงสโตน[13]

ประวัติ

ช่วงแรก (ค.ศ. 1973 – 1977)

เดวิด เบิร์นและคริส ฟรันทซ์ นักศึกษาสองคนจากโรงเรียนดีไซน์โรดไอแลนด์ได้ก่อตั้งวงดนตรี "ดิอาร์ทิสติกส์" ขึ้นใน ค.ศ. 1973 โดยเบิร์นเป็นนักร้องนำและเล่นกีตาร์ ส่วนฟรันทซ์เป็นมือกลอง[14] ทีนา เวย์มัท แฟนสาวของฟรันทซ์ซึ่งเป็นนักศึกษาร่วมสถาบันมักจะอาสาขับรถรับส่งให้วง วงดิอาร์ทิสติกส์ยุบลงในปีถัดมา และทั้งสามคนได้ย้ายจากรัฐโรดไอแลนด์ไปยังนครนิวยอร์ก และพักอาศัยในห้องลอฟต์เดียวกัน[15] หลังจากที่พวกเขาหามือเบสไม่ได้ ฟรันทซ์จึงเสนอให้เวย์มัทหัดเล่นเบสโดยฟังจากอัลบั้มของซูซี กวาโตร[16]

ทอล์กกิงเฮดส์ขึ้นแสดงในชื่อทอล์กกิงเฮดส์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1975 โดยเป็นวงแสดงเปิดรายการให้กับวงราโมนส์ที่สโมสรดนตรีซีบีจีบี[9] เวย์มัทกล่าวว่าชื่อทอล์กกิงเฮดส์มาจากคำศัพท์เฉพาะในวงการโทรทัศน์ที่ใช้เรียกการถ่ายเฉพาะส่วนศีรษะและไหล่ของบุคคลที่กำลังพูด[17] ปลายปีเดียวกันพวกเขาอัดเทปตัวอย่างส่งไปยังซีบีเอสแต่ไม่ผ่านการคัดเลือก อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้ส่งไปยังไซร์เออเรเคิดส์และไซร์เออได้ตอบรับในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1976 โดยซิงเกิลแรก "เลิฟ → บิลดิงออนไฟร์" ออกในเดือนกุมภาพันธ์ปีถัดมา ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1977 ทอล์กกิงเฮดส์ได้เพิ่มเจอร์รี แฮร์ริสัน อดีตสมาชิกวงเดอะโมเดิร์นเลิฟเวอส์ของโจนาทาน ริชแมนเข้ามาเป็นสมาชิกคนที่สี่ในตำแหน่งคีย์บอร์ด กีตาร์ และร้องร่วม[18] ในช่วงระหว่างนี้เบิร์นขอให้เวย์มัทออดิชันเพิ่มอีกสามครั้งเพื่อรักษาตำแหน่งในวง[19][20]

ทีนา เวย์มัทขณะแสดงที่มินนีแอโพลิส ค.ศ. 1978

อัลบั้มแรก ทอล์กกิงเฮดส์: 77 ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี และซิงเกิล "ไซโคคิลเลอร์" ติดอันดับเป็นครั้งแรก[21] หลายคนคิดว่าเพลงนี้เกี่ยวข้องกับบุตรแห่งแซม ฆาตกรต่อเนื่องซึ่งก่อเหตุสะเทือนขวัญในนครนิวยอร์กในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น อย่างไรก็ตาม เบิร์นกล่าวว่าเพลงดังกล่าวเขียนไว้ก่อนหน้าหลายปีแล้ว[22] เวย์มัทและฟรันทซ์แต่งงานกันใน ค.ศ. 1977[23]

ร่วมงานกับไบรอัน อีโน (ค.ศ. 1978 – 1980)

สตูดิโออัลบั้ม มอร์ซองส์อะเบาต์บิลดิงส์แอนด์ฟุด (ค.ศ. 1978) เป็นผลงานร่วมกันครั้งแรกระหว่างทอล์กกิงเฮดส์และโปรดิวเซอร์ไบรอัน อีโน ซึ่งเคยมีผลงานร่วมกับศิลปินรายอื่นได้แก่ร็อกซีมิวสิก, เดวิด โบอี, จอห์น เคล และโรเบิร์ต ฟริปป์[24] นอกจากนี้ อีโนยังเคยตั้งชื่อผลงานเพลงหนึ่งของเขาใน ค.ศ. 1977 ว่า "คิงส์เลดแฮต" (อังกฤษ: King's Lead Hat) ซึ่งมาจากชื่อวงทอล์กกิงเฮดส์สลับอักษรกัน สไตล์ของอีโนและทอล์กกิงเฮดส์เข้ากันได้เป็นอย่างดี และพวกเขาร่วมกันทดลองแนวเพลงต่าง ๆ ตั้งแต่โพสต์พังก์ ไซเคเดลิกฟังก์ ไปจนถึงดนตรีจากทวีปแอฟริกาซึ่งได้รับอิทธิพลจากเฟลา คูติและพาร์เลียเมนต์-ฟังกาเดลิก[2][25][7] และระหว่างบันทึกอัลบั้มนี้พวกเขายังได้ร่วมงานกับคอมพาสพอยต์สตูดิโอส์ในกรุงแนสซอ ประเทศบาฮามาส อัลบั้ม มอร์ซองส์อะเบาต์บิลดิงส์แอนด์ฟุด ยังรวมคัฟเวอร์จากเพลง "เทกมีทูเดอะริเวอร์" ของอัล กรีนด้วย อัลบั้มนี้ทำให้ทอล์กกิงเฮดส์ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี และติดอันดับ บิลบอร์ด ท็อป 30 เป็นครั้งแรกด้วย[7]

พวกเขาร่วมงานกันต่อในอัลบั้มถัดไป เฟียร์ออฟมิวสิก (ค.ศ. 1979) ซึ่งผสมผสานดนตรีแนวโพสต์พังก์ร็อกที่มืดมนเข้ากับดนตรีแนวฟังกาเดเลีย และสอดแทรกเนื้อหาจากสภาพบ้านเมืองยุคปลายทศวรรษ 1970[7] ผู้สื่อข่าวด้านดนตรี ไซมอน เรย์โนลส์ อ้างว่า เฟียร์ออฟมิวสิก เป็นตัวแทนของผลงานระหว่างอีโน-ทอล์กกิงเฮดส์ "ณ จุดที่ได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเที่ยงธรรมที่สุด"[26] ซิงเกิล "ไลฟ์ดูริงวอร์ไทม์" เป็นที่มาของวลี "This ain't no party, this ain't no disco."[27] ซิงเกิลดังกล่าวพูดถึงมัดด์คลับและซีบีจีบีซึ่งเป็นไนต์คลับยอดนิยมในนครนิวยอร์กสมัยนั้น[28]

รีเมนอินไลต์ (ค.ศ. 1980) ซึ่งเป็นอัลบั้มถัดมาได้รับอิทธิพลอย่างหนักจากดนตรีแนวแอโฟรบีตของเฟลา คูติ ผสมผสานดนตรีแบบจังหวะผสมจากแอฟริกาตะวันตก ดนตรีแบบอาหรับจากแอฟริกาเหนือ ดิสโกฟังก์ และเสียงที่ถูก "ค้นพบ"[29] การผสมผสานในลักษณะนี้ทำให้เบิร์นนำดนตรีเวิลด์มิวสิกมาปรับใช้ในผลงานถัดมา[30] เนื่องจากดนตรีที่ซับซ้อน ทอล์กกิงเฮดส์จึงต้องเดินทางไปแสดงร่วมกับนักดนตรีรายอื่นรวมทั้งเอเดรียน เบลิวและเบอร์นี วอร์เรลล์ โดยเริ่มจากเทศกาลฮีตเวฟในเดือนสิงหาคมปีนั้น[31] และรวมทั้งในภาพยนตร์คอนเสิร์ต สต็อปเมกกิงเซนส์ ในช่วงเดียวกัน เวย์มัทและฟรันทซ์ก็ยังตั้งวงย่อยทอมทอมคลับ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากดนตรีแนวฮิปฮอป[32] ในขณะที่แฮร์ริสันออกอัลบั้มเดี่ยวเป็นครั้งแรกในชื่อ เดอะเรดแอนด์เดอะแบล็ก[33] ส่วนเบิร์นและอีโนได้ออกอัลบั้มร่วมกันในชื่อ มายไลฟ์อินเดอะบุชออฟโกสส์ ซึ่งผสมผสานเวิลด์มิวสิก และร่วมกับนักดนตรีนานาชาติและนักดนตรีแนวโพสต์พังก์[34] ทั้งหมดออกในสังกัดไซร์เออ

เบิร์นขณะแสดงร่วมกับทอล์กกิงเฮดส์ใน ค.ศ. 1978

"วันซ์อินอะไลฟ์ไทม์" ซึ่งเป็นซิงเกิลนำของ รีเมนอินไลต์ ในช่วงแรกไม่ได้รับความนิยมมากนักในสหรัฐ แต่ต่อมาได้รับความนิยมติด 20 อันดับแรกในสหราชอาณาจักรและได้รับความนิยมต่อเนื่องมาอีกหลายปีเนื่องจากมิวสิกวิดีโอของเพลง ซึ่งถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยมตลอดกาลโดยนิตยสารไทม์[35][36]

ความนิยมสูงสุดและแยกวง (ค.ศ. 1981 – 1991)

หลังจากออกผลงานสี่อัลบั้มในช่วงเวลาประมาณสี่ปี ทอล์กกิงเฮดส์ก็พักงานชั่วคราวประมาณสามปี แม้ว่าในระหว่างนั้นฟรันทซ์และเวย์มัทจะยังบันทึกผลงานเพลงในฐานะ "ทอมทอมคลับ" ก็ตาม ในช่วงนั้นทอล์กกิงเฮดส์ได้ออกผลงานอัลบั้มบันทึกการแสดง เดอะเนมออฟดิสแบนด์อิสทอล์กกิงเฮดส์ ซึ่งบันทึกการแสดงในสหรัฐและยุโรปในฐานะวงกลุ่มแปดร่วมกับศิลปินรับเชิญ และยุติการดำเนินงานร่วมกับไบรอัน อีโน[37] อีโนไปเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับยูทูหลังจากนั้น[24]

อัลบั้มถัดมาได้แก่ สปีกกิงอินทังส์ ออกใน ค.ศ. 1983 โดยเพลง "เบิร์นนิงดาวน์เดอะเฮาส์" จากอัลบั้มนี้กลายเป็นเพลงเดียวของวงที่ติด 10 อันดับแรกในชาร์ตเพลงสหรัฐ[38] เนื่องจากมิวสิกวิดีโอที่ฉายวนเรื่อย ๆ ทางช่องเอ็มทีวี[39] ทัวร์คอนเสิร์ตหลังจากนั้นถูกบันทึกในภาพยนตร์สารคดี สต็อปเมกกิงเซนส์ ของโจนาทาน เดมมี ซึ่งต่อมาได้บันทึกลงในอัลบั้มบันทึกการแสดงสดชื่อเดียวกัน[40] สปีกกิงอินทังส์เป็นอัลบั้มสุดท้ายที่ทอล์กกิงเฮดส์ออกทัวร์คอนเสิร์ต[41]

I try to write about small things. Paper, animals, a house… love is kind of big. I have written a love song, though. In this film, I sing it to a lamp.

เดวิด เบิร์น ให้สัมภาษณ์ตนเองใน สต็อปเมกกิงเซนส์[42]

ทอล์กกิงเฮดส์มีผลงานต่อมาอีกสามอัลบั้ม ได้แก่ ลิตเติลครีเอเจอส์ (ค.ศ. 1985) ซึ่งมีซิงเกิลยอดนิยมได้แก่ "แอนด์ชีวอส" และ "โรดทูโนแวร์"[43] ทรูสตอรีส์ (ค.ศ. 1986) ซึ่งเป็นคัฟเวอร์ของเพลงประกอบภาพยนตร์ชื่อเดียวกันของเบิร์นซึ่งทอล์กกิงเฮดส์ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวด้วย[44] และเนกเคด (ค.ศ. 1988) แนวเพลงใน ลิตเติลครีเอเจอส์ ออกไปทางป็อปร็อกแบบอเมริกันซึ่งต่างจากอัลบั้มก่อนหน้านี้[45] ทรูสตอรีส์ ก็มีลักษณะไปในทางเดียวกับ ลิตเติลครีเอเจอส์ ซึ่งผลงานเพลง "ไวลด์ไวลด์ไลฟ์" จากอัลบั้มนี้ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างดีเช่นกัน อีกเพลงหนึ่งในอัลบั้มนี้ได้แก่ "เรดิโอเฮด" ใช้หีบเพลงชักเป็นหลัก[46] ในขณะที่อัลบั้ม เนกเคด มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง เพศ และความตาย และอิทธิพลจากดนตรีแบบแอฟริกันซึ่งคล้ายกับ รีเมนอินไลต์ ก็กลับมามีบทบาทในอัลบั้มนี้อีกครั้ง[47] ในช่วงนี้เบิร์นเริ่มมีอิทธิพลต่อแนวดนตรีของวงเป็นอย่างมาก และหลังจากที่ เนกเคด ออกสู่สาธารณะ ทอล์กกิงเฮดส์ก็เข้าสู่ช่วงพักอีกครั้ง[3]

ทีนา เวย์มัท ขณะแสดงร่วมกับทอมทอมคลับ (ค.ศ. 1986) ซึ่งเป็นวงที่เธอก่อตั้งร่วมกับคริส ฟรันทซ์ สามี

ทอล์กกิงเฮดส์ประกาศยุบวงในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991[3] ฟรันทซ์กล่าวว่าเขาทราบจากบทความหนังสือพิมพ์ ลอสแอนเจลีสไทม์ส ว่าเบิร์นออกจากวง และกล่าวว่าทอล์กกิงเฮดส์ไม่เคยยุบวง เบิร์นเพียงแค่ออกจากวงเท่านั้น[48] เพลงสุดท้ายของวงได้แก่ "แซ็กซ์แอนด์ไวโอลินส์" ซึ่งเป็นเพลงที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง อันทิลดิเอนด์ออฟเดอะเวิลด์ โดยวิม เว็นเดิร์ส ซึ่งออกฉายก่อนหน้านั้นในปีเดียวกัน เบิร์นยังคงมีผลงานเดี่ยวอีกสองอัลบั้มได้แก่ เรย์ โมโม ใน ค.ศ. 1989 และเดอะฟอเรสต์ ใน ค.ศ. 1991[30] ในขณะที่ทั้งทอมทอมคลับและแฮร์ริสันก็มีผลงานของตนเองเช่นกัน โดยทอมทอมคลับมีอัลบั้มได้แก่ บูมบูมชิบูมบูม และ ดาร์กสนีกเลิฟแอ็กชัน[49] ในขณะที่แฮร์ริสันมีผลงานอัลบั้ม แคชวลก็อดส์ และ วอล์กออนวอเทอร์ ทอมทอมคลับและแฮร์ริสันออกทัวร์ร่วมกันใน ค.ศ. 1990[50]

หลังแยกวง และรวมวงครั้งสุดท้าย (ค.ศ. 1992 – 2002)

ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เวย์มัท ฟรันทซ์ และแฮร์ริสันออกทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกันโดยใช้ชื่อ "ชรังเคนเฮดส์"[51] และออกผลงานอัลบั้ม โนทอล์กกิง จัสต์เฮด ใน ค.ศ. 1996 ในนาม "เดอะเฮดส์" ซึ่งในอัลบั้มนี้มีนักร้องนำรับเชิญหลายคนได้แก่แกวิน ไฟรเดย์ (เดอะเวอร์จินพรูนส์), เด็บบี แฮร์รี (บลอนดี), จอห์เนตต์ นาโปลีตาโน (คอนกรีตบลอนด์), แอนดี พาร์ทริดจ์ (เอ็กซ์ทีซี), กอร์ดอน แกโน (ไวโลเลนต์เฟมส์), ไมเคิล ฮัตเชนซ์ (อินเอกซ์เซส), เอ็ด โควัลต์ชิก (ไลฟ์), ชอว์น ไรเดอร์ (แฮปปีมันเดส์), ริชาร์ด เฮลล์ และมาเรีย แม็กกี[52] โดยนาโปลีตาโนเป็นนักร้องนำในทัวร์คอนเสิร์ต เบิร์นยื่นฟ้องร้องขอให้อดีตสมาชิกอีกสามคนหยุดใช้ชื่อ "เดอะเฮดส์" โดยมองว่าเป็นความพยายามที่จะหารายได้จากชื่อ "ทอล์กกิงเฮดส์"[53] ทอล์กกิงเฮดส์กลับมารวมกันชั่วคราวใน ค.ศ. 1999 เพื่อโปรโมตครบรอบ 15 ปีของ สต็อปเมกกิงเซนส์ แต่ไม่ได้แสดงร่วมกัน[54]

แฮร์ริสันผันตัวไปเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับศิลปินต่าง ๆ ได้แก่ไวโอเลนต์เฟมส์ (เดอะไบลด์ลีดดิงเดอะเนกเคด), ไฟน์ยังแคนนิบอลส์ (เดอะรอว์แอนด์เดอะคุกต์), เจนเนอรัลพับลิก (รับอิตเบตเตอร์), แครชเทสต์ดัมมีส์ (ก็อดชัฟเฟิลด์ฮิสฟีต), ไลฟ์ (เมนทัลจูเลอรี, โทรวิงคอปเปอร์ และ เดอะดิสแทนส์ทูเฮียร์), โนเดาต์ (เพลง "นิว" จากอัลบั้ม รีเทิร์นออฟแซตเทิร์น)[55] ในขณะที่ฟรันทซ์และเวย์มัทก็เป็นโปรดิวเซอร์ให้กับศิลปินอีกหลายกลุ่ม รวมทั้งแฮปปีมันเดส์และซิกกี มาร์ลีย์ และยังคงมีผลงานร่วมกันในฐานะทอมทอมคลับ[56]

เวย์มัท ฟรันทซ์ และแฮร์ริสันในงานเทศกาลเซาท์บายเซาท์เวสต์ ค.ศ. 2010

ทอล์กกิงเฮดส์ได้รับเชิญเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรลใน ค.ศ. 2002 โดยในพิธีพวกเขากลับมารวมกันอีกครั้งและแสดงเพลง "ไลฟ์ดูริงวอร์ไทม์" "ไซโคคิลเลอร์" และ "เบิร์นนิงดาวน์เดอะเฮาส์" ในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2002 ร่วมกับเบอร์นี วอร์เรลล์และสตีฟ สเกลส์ซึ่งเคยแสดงร่วมกันในทัวร์คอนเสิร์ต[57] เบิร์นให้สัมภาษณ์ว่าคงเป็นไปได้ยากที่จะกลับมารวมกันอีกครั้งเนื่องจากทั้งเรื่องบาดหมางและแนวดนตรีที่ต่างกันเกินไปแล้ว[58] ส่วนเวย์มัทให้สัมภาษณ์ว่าเบิร์นเป็นคนที่ "ไร้ความสามารถในการรักษามิตรภาพ"[58] และกล่าวว่าเขาไม่ได้รักเธอ ฟรันทซ์ หรือแฮร์ริสัน[16]

อิทธิพลทางดนตรีและศิลปะ

ออลมิวสิกระบุว่าทอล์กกิงเฮดส์ วงดนตรีที่ได้รับความนิยมสูงสุดวงหนึ่งในยุค 1970–80[3] ตลอดเวลาจนถึงแยกวง "ได้บันทึกทุกอย่างตั้งแต่อาร์ตฟังก์ไปจนถึงเวิลด์บีตแบบจังหวะผสมและกีตาร์ป็อปแบบเรียบง่าย"[3] แนวอาร์ตป็อปของทอล์กกิงเฮดส์มีอิทธิพลต่อเนื่องยาวนาน[59] พวกเขามีส่วนนิยามดนตรีแนวนิวเวฟในสหรัฐร่วมกับดีโว ราโมนส์ และบลอนดี[60] ในขณะเดียวกัน อัลบั้ม รีเมนอินไลต์ และอัลบั้มอื่น ๆ ในช่วงเดียวกันก็นำดนตรีร็อกแบบแอฟริกันมาสู่โลกตะวันตกด้วยเช่นกัน[61] ภาพยนตร์คอนเสิร์ต สต็อปเมกกิงเซนส์ ซึ่งกำกับโดยโจนาทาน เดมมีก็ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ได้รับยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์คอนเสิร์ตที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง[62] และได้รับเลือกเข้าสู่หอทะเบียนภาพยนตร์แห่งชาติของสหรัฐใน ค.ศ. 2021[63]

ทอล์กกิงเฮดส์ขณะแสดงที่ฮอร์สชูทาเวิร์น โทรอนโต ค.ศ. 1978

ทอล์กกิงเฮดส์ยังมีอิทธิพลต่อศิลปินอีกหลายกลุ่ม เช่นเอ็ดดี เวดเดอร์,[64] โฟลส์,[65] เดอะวีกเอนด์,[66] แวมไพร์วีกเอนด์,[67] พริมัส,[68] เบลล์เอกซ์วัน,[69] เดอะไนน์ทีนเซเวนตีไฟฟ์,[70] เดอะทิงทิงส์,[71] เนลลี เฟอร์ทาโด,[72] เคชา,[73] เซนต์วินเซนต์,[74] แดนนี บราวน์,[75] เทรนต์ เรซเนอร์,[76] ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์[77] และเรดิโอเฮดซึ่งตั้งชื่อวงตามเพลง "เรดิโอเฮด" จากอัลบั้ม ทรูสตอรีส์[78][79] ปาโอโล ซอร์เรนตีโนซึ่งได้รับรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 86 จากผลงานภาพยนตร์เรื่อง ลากรันเดเบลเลซซา ได้กล่าวขอบคุณทอล์กกิงเฮดส์และคนอื่น ๆ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เขาสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้[80]

อ้างอิง

  1. Cateforis, Theo (2011). Are We Not New Wave?: Modern Pop at the Turn of the 1980s. University of Michigan Press. pp. 2, 43, 73. ISBN 0-472-03470-7.
  2. 2.0 2.1 Ricchini, William (November 12, 1996). "Napolitano Brings Out Best Of Heads". The Philadelphia Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-30. สืบค้นเมื่อ April 24, 2015.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 Erlewine, Stephen Thomas. "Talking Heads: Biography". AllMusic. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
  4. Jack, Malcolm (September 21, 2016). "Talking Heads – 10 of the best". The Guardian.
  5. Holden, Stephen (February 28, 1999). "MUSIC; They're Recording, but Are They Artists?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013.
  6. Marks, Craig; Weisbard, Eric (1995). Spin Alternative Record Guide. Vintage Books.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Simon Reynolds. Rip It up and Start Again: Postpunk 1978–1984. Penguin Books (2005) p. 163.
  8. "Head Games: 'Talking Heads: Chronology'" (PDF). PopMatters. February 22, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-27. สืบค้นเมื่อ September 14, 2016.
  9. 9.0 9.1 Talking Heads Rock and Roll Hall of Fame, retrieved November 23, 2008
  10. Demorest, Stephen (November 3, 1977). "Talking Heads '77". Rolling Stone (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ August 3, 2019.
  11. "The Songs That Shaped Rock and Roll". The Rock and Roll Hall of Fame and Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2010. สืบค้นเมื่อ January 12, 2008.
  12. "The Greatest – Ep. 215". vh1.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-10. สืบค้นเมื่อ April 29, 2015.
  13. "100 Greatest Artists of All Time". Rolling Stone. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-11. สืบค้นเมื่อ January 8, 2016.
  14. Gittins, Ian, Talking Heads: Once in a Lifetime: the Stories Behind Every Song, Hal Leonard Corporation, 2004, p. 140. ISBN 0-634-08033-4, ISBN 978-0-634-08033-3.
  15. Simon Reynolds. Rip It up and Start Again: Postpunk 1978–1984. Penguin Books (2005) p. 159.
  16. 16.0 16.1 Tina Talks Heads, Tom Toms, and How to Succeed at Bass Without Really Trying Gregory Isola, Bass Player, retrieved December 6, 2008.
  17. Weymouth, Tina (1992). In Sand in the Vaseline. CD liner notes, p. 12. New York: Sire Records Company
  18. Greene, Andy. "Flashback: Talking Heads Perform 'Psycho Killer' at CBGB in 1975". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ April 23, 2014.
  19. Courogen, Carrie (September 15, 2017). "40 Years Later, Talking Heads' Most Valuable Member Is Still Its Most Under-Recognized". PAPER (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ September 26, 2018.
  20. Jacques, Adam (March 17, 2013). "How We Met: Chris Frantz & Tina Weymouth". The Independent (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ December 3, 2020.
  21. Ruhlmann, William. "Talking Heads 77". AllMusic. สืบค้นเมื่อ April 23, 2014.
  22. Ian Gittins (2004). Talking Heads: Once in a Lifetime: The Stories Behind Every Song. Hal Leonard. p. 30. ISBN 978-0-634-08033-3.
  23. Clarke, John. "Rockers Chris Frantz and Tina Weymouth Talk Marriage". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-07. สืบค้นเมื่อ May 1, 2014.
  24. 24.0 24.1 "Brian Eno | Credits". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
  25. Pilchak, Angela M. (2005). Contemporary Musicians. Vol. 49. Gale. p. 77. ISBN 978-0-7876-8062-6.
  26. Simon Reynolds. Rip It up and Start Again: Postpunk 1978–1984. Penguin Books (2005) pp. 163–164.
  27. Janovitz, Bill. "Life During Wartime – Song Review". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
  28. Robbins, Ira. "20 Years Later, CBGB Ain't No Disco: Clubs: A look back as the Bowery bar concludes a monthlong celebration of its commitment to underground rock's trends". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
  29. Simon Reynolds. Rip It up and Start Again: Postpunk 1978–1984. Penguin Books (2005) p. 165.
  30. 30.0 30.1 Ankeny, Jason. "David Byrne | Biography". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
  31. Robins, Jim (September 6, 1980). "Expanded Talking Heads Climax Canadian New Wave Festival". The Michigan Daily.
  32. Boehm, Mike (September 10, 1992). "x-Heads Say They Got Byrned: Split Still Miffs Frantz, Weymouth, Even Though Tom Tom Club Keeps Them Busy". Los Angeles Times.
  33. Palmer, Robert (November 18, 1981). "The Pop Life". The New York Times.
  34. Bush, John. "My Life in the Bush of Ghosts". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
  35. Simon Reynolds. Rip It up and Start Again: Postpunk 1978–1984. Penguin Books (2005) p. 169.
  36. Sanburn, Josh (July 26, 2011). "The 30 All-TIME Best Music Videos". Time. สืบค้นเมื่อ May 5, 2014.
  37. Simon Reynolds. Rip It up and Start Again: Postpunk 1978–1984. Penguin Books (2005) pp. 169–170.
  38. DeGagne, Mike. "Burning Down the House – Talking Heads – Song Review". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
  39. Johnston, Maura. "Sick Of It All (16) Battles Talking Heads (8) As SOTC's March Madness Takes A Trip To CBGB". Village Voice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-26. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
  40. Light, Alan (January 25, 2010). "All-TIME 100 Albums". Time. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
  41. Milward, John. "The Many Faces And Artistic Endeavors Of The Talking Heads David Byrne And His Mates In The Band Are Keeping Busy – Together, With 'Naked', And On Their Own". Philly.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
  42. Harvey, Eric. "David Byrne: Live From Austin TX". Pitchfork Media. สืบค้นเมื่อ May 5, 2014.
  43. "Little Creatures – Talking Heads". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
  44. Maslin, Janet. "True Stories (1986) DAVID BYRNE IN 'TRUE STORIES'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
  45. Ruhlmann, William. "Little Creatures". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
  46. Hastings, Michael. "Talking Heads – True Stories". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
  47. Pareles, Jon (March 20, 1988). "Talking Heads get 'Naked'". Observer-Reporter.
  48. Boehm, Mike (September 10, 1992). "x-Heads Say They Got Byrned: Split Still Miffs Frantz, Weymouth, Even Though Tom Tom Club Keeps Them Busy". Los Angeles Times.
  49. Ruhlmann, William. "Tom Tom Club | Biography". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
  50. Christensen, Thor (May 22, 1990). "Harrison starts to find own voice". The Milwaukee Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-04. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
  51. Wilonsky, Robert (1999-10-21). "Heads up". Dallas Observer. สืบค้นเมื่อ 2020-08-01.
  52. Erlewine, Stephen Thomas. "No Talking Just Head – The Heads". Allmusic. สืบค้นเมื่อ May 1, 2014.
  53. Levine, Robert (June 26, 1997). "Byrne-ing Down the House". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ October 31, 2009 – โดยทาง DavidByrne.com.
  54. Sragow, Michael. "Talking Heads talk again". Salon. สืบค้นเมื่อ 3 December 2021.
  55. "Jerry Harrison | Credits". Allmusic. สืบค้นเมื่อ May 1, 2014.
  56. Ruhlmann, William. "Tom Tom Club – Biography". Allmusic. สืบค้นเมื่อ May 4, 2014.
  57. Greene, Andy (October 23, 2012). "23 October 2012". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-14. สืบค้นเมื่อ May 4, 2014.
  58. 58.0 58.1 Blackman, Guy (February 6, 2005). "Byrning down the house". The Age. Australia. สืบค้นเมื่อ October 3, 2009.
  59. "Talking Heads | Biography, Albums, Streaming Links". AllMusic. สืบค้นเมื่อ June 21, 2021.
  60. Gendron, Bernard. "Origins of the First Wave: The CBGB Scene (1974–75)". Between Montmartre and the Mudd Club: Popular Music and the Avant-Garde. University of Chicago Press. สืบค้นเมื่อ May 11, 2014.
  61. Pareles, Jon (November 8, 1988). "Review/Music; How African Rock Won the West, And on the Way Was Westernized". New York Times. สืบค้นเมื่อ May 11, 2014.
  62. "Stop Making Sense (1984)". Rotten Tomatoes. Fandango Media. สืบค้นเมื่อ April 9, 2018.
  63. Hussey, Allison (2021-12-14). "Talking Heads' Stop Making Sense Added to National Film Registry". Pitchfork.com. สืบค้นเมื่อ 2021-12-17.
  64. SPIN staff (July 15, 2003). "My Life in Music: Eddie Vedder". SPIN.
  65. "Foals Total Life Forever Review". BBC. สืบค้นเมื่อ November 15, 2013.
  66. Calum Slingerland (February 6, 2016). "The Weeknd's New Album Is Inspired by Bad Brains, Talking Heads and the Smiths". Exclaim!. สืบค้นเมื่อ September 6, 2016.
  67. Burrows, Tim (May 8, 2008). "Vampire Weekend: fresh blood on campus". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ May 11, 2014.
  68. Primus press release. Retrieved August 12, 2012.
  69. Matthew Magee (July 27, 2003). "Clear as a Bell X1". Sunday Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 21, 2011. สืบค้นเมื่อ March 4, 2011.
  70. Faughey, Darragh (December 11, 2012). "The 1975 – Interview". GoldenPlec. สืบค้นเมื่อ February 11, 2016.
  71. Walden, Eric (March 27, 2015). "Concert preview: Ting Tings feeling a bit less 'Super Critical' now". The Salt Lake Tribune. สืบค้นเมื่อ November 27, 2015.
  72. "NELLY FURTADO – Loose – The Story". Universal Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 3, 2015. สืบค้นเมื่อ December 2, 2015.
  73. Garland, Emma (January 8, 2017). "Kesha's MySpace Profile from 2008 is Better Than DJ Khaled's Snapchat". Noisey. Vice Media. สืบค้นเมื่อ January 20, 2017.
  74. Graves, Shahlin (May 26, 2012). "Interview: ANNIE CLARK a.k.a. ST. VINCENT on 'Strange Mercy'". coupdemainmagazine.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 7, 2013. สืบค้นเมื่อ March 25, 2017.
  75. Moore, Sam (June 15, 2016). "Danny Brown talks Talking Heads and Radiohead influence". NME.
  76. Reznor, Trent (September 26, 2020). "Trent Reznor on Talking Heads – Remain in Light (1980)". Vinyl Writers. สืบค้นเมื่อ December 17, 2020.
  77. "Franz Ferdinand's Alex Kapranos On The Importance Of Structure". Npr.org. สืบค้นเมื่อ June 21, 2021.
  78. About Radiohead เก็บถาวร 2010-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, biography 1992–1995
  79. David Byrne interviews Thom Yorke for Wired (November 11, 2007)
  80. Vivarelli, Nick (March 3, 2014). "Italy Cheers Foreign Oscar Victory For Paolo Sorrentino's 'Beauty'". Variety. สืบค้นเมื่อ May 4, 2014.
Kembali kehalaman sebelumnya