ทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น
ทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น หรือ ทางรถไฟสายจีน–ลาว เป็นทางรถไฟขนาดรางสแตนดาร์ดเกจ 1.435 เมตร (4 ฟุต 8 1/2 นิ้ว) ระยะทาง 414 กิโลเมตร เชื่อมต่อระหว่างด่านบ่อหาน เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา ประเทศจีน กับประเทศลาวที่บ่อเต็น ผ่านเมืองหลวงพระบาง และสิ้นสุดที่นครหลวงเวียงจันทน์ โดยปลายทางทิศเหนือเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายคุนหมิง–บ่อหาน ส่วนปลายทางทิศใต้เชื่อมกับทางรถไฟสายหนองคาย–ท่านาแล้ง โดยเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายคุนหมิง–สิงคโปร์ เริ่มโครงการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2559 เปิดให้บริการในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564[8] ประวัติมีการกล่าวถึงทางรถไฟเชื่อมระหว่างประเทศลาวกับจีนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2544 โดยนักการเมืองลาวและจีนร่วมกันยืนยันแผนการสร้างใน พ.ศ. 2552 แต่มีเหตุการณ์ทุจริตของกระทรวงการรถไฟของประเทศจีนเกิดขึ้น การเริ่มสร้างทางรถไฟสายนี้จึงเลื่อนออกไปจนถึง พ.ศ. 2559[9] เงินทุนก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ได้รับการก่อสร้างและบริหารงานโดยโดยบริษัท รถไฟลาว–จีน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างรัฐบาลของลาว–จีนในสัดส่วน 30:70 ตามลำดับ บริษัทฯใช้งบประมาณในการก่อสร้างโครงการนี้ทั้งสิ้น 37,425 ล้านหยวน[10][11] ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าว ร้อยละ 60 มาจากการก่อหนี้ของบริษัท (กู้ยืมจากธนาคารเพื่อการส่งเสริมการส่งออกนำเข้าของจีน), ร้อยละ 40 มาจากส่วนทุนของบริษัท[12] ว่าด้วยส่วนทุนของบริษัทฯ จำนวน 14,970 ล้านหยวน เป็นส่วนที่รัฐบาลลาวต้องร่วมลงเงิน 4,491 ล้านหยวนเพื่อถือหุ้น 30% ในบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลลาวไม่สะดวกลงเงินเองทั้งหมดตามจำนวนดังกล่าว จึงลงเงินเองเพียงส่วนหนึ่ง อีกส่วนกู้ยืมจากธนาคารเพื่อส่งเสริมการส่งออกนำเข้าของจีนจำนวน 3,000 ล้านหยวน ซึ่งถูกคิดดอกเบี้ยร้อยละ 2.3 ต่อปีเป็นเวลาสามสิบปี[12] เส้นทางทางรถไฟสายลาว–จีน เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายคุนหมิง–สิงคโปร์ โดยในเส้นทางรถไฟลาว–จีน มีแนวเส้นทางเชื่อมต่อมาจากทางรถไฟสายคุนหมิง–บ่อหาน จุดเริ่มต้นของเส้นทางเริ่มจากชายแดนด่านบ่อหานของเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา ประเทศจีน และเชื่อมเข้ากับด่านบ่อเต็น ประเทศลาว ผ่านแขวงหลวงน้ำทา แขวงอุดมไซ แขวงหลวงพระบาง แขวงเวียงจันทน์ และสิ้นสุดที่นครหลวงเวียงจันทน์[13] ลักษณะของเส้นทางทางรถไฟสายลาว–จีน มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีภูเขาหินปูนจำนวนมาก และมีที่ตั้งอยู่บริเวณกระดูกสันหลังอินโดจีน มีปริมาณน้ำฝนที่สูงในแต่ละปี รวมทั้งเป็นอาณาบริเวณที่มีระเบิดกระจัดกระจายจึงมีประชากรอยู่อาศัยน้อย [14][15] เส้นทางทั้งหมดเป็นอุโมงค์ร้อยละ 47 และเป็นสะพานรถไฟร้อยละ 15 โดยคิดเป็นอุโมงค์จำนวน 75 แห่งและสะพานรถไฟจำนวน 167 แห่ง บริเวณพรมแดนระหว่างประเทศจีนและลาว มีทางอุโมงค์ความยาว 9,680 เมตร อยู่ในประเทศลาว 7,170 เมตร และอยู่ในประเทศจีน 2,510 เมตร โดยรวมแล้ว ทางรถไฟสายนี้มีสถานีทั้งหมด 21 สถานี ประกอบด้วยสถานีขนส่งผู้โดยสารจำนวน 10 สถานี และสถานีขนส่งสินค้าจำนวน 11 สถานี ทางรถไฟลาว–จีนมีสถานีโดยสารปลายทางสิ้นสุดที่สถานีนครหลวงเวียงจันทน์[16] รายชื่อสถานีรถไฟลาวจีน ประกอบด้วยสถานีสำหรับผู้โดยสาร 10 สถานี
ค่าโดยสารค่าโดยสารบางส่วน ขาเดียวจากสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ ในสกุลเงินกีบลาว
รูปแบบโครงการทางวิ่งและขบวนรถ
ขบวนรถโดยสารรถไฟสายเวียงจันทน์−บ่อเต็น มีขบวนรถไฟเร็วพิเศษฟู่ซิง EMU รุ่น CR200J มีทั้งหมด 4 ขบวน ได้แก่ ขบวนล้านช้าง และขบวนแคนลาว ความเร็ววิ่งได้สูงสุด 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และความเร็วสูงสุดที่ให้บริการ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และใช้หัวรถจักรไฟฟ้า HXD3C มี 1 ขบวน เป็นขบวนรถไฟโดยสารธรรมดารวมถึงขบวนรถไฟขนสินค้าความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อ้างอิง
|