ที่อยู่อาศัยใต้ทะเล
ที่อยู่อาศัยใต้ทะเล (อังกฤษ: Marine habitat) คือสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่เป็นทะเลหรือมหาสมุทรโดยมีสิ่งมีชีวิตใช้เป็นแหล่งที่อยู่ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ทุกชนิดต้องพึ่งน้ำทะเลเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต โดยแหล่งที่อยู่คือพื้นที่ทางระบบนิเวศวิทยาหรือสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นที่ ๆ หนึ่งหรือหลายสปีชีส์อาศัยอยู่[1][2] แหล่งที่อยู่ภาคพื้นสมุทรแบ่งเป็นถิ่นที่อยู่บริเวณชายฝั่งและถิ่นที่อยู่บริเวณทะเลเปิด ถิ่นที่อยู่บริเวณชายฝั่งจะพบได้ในพื้นที่มีน้ำขึ้นมาในแนวชายฝั่งจนถึงขอบของไหล่ทวีป สิ่งมีชีวิตในทะเลส่วนมากจะพบในบริเวณนี้ถึงแม้ว่าบริเวณนี้จะมีพื้นเพียง 7% ของพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด ส่วนถิ่นที่อยู่บริเวณทะเลเปิดจะนับตั้งแต่ขอบของไหล่ทวีปลงมา การแบ่งแหล่งที่อยู่ใต้ทะเลนั้นยังมีการแบ่งอีกแบบคือเขตน้ำตื้นกับเขตทะเลด้านล่าง สัตว์ในเขตน้ำตื้นจะพบบริเวณผิวน้ำและในทะเลที่ไม่ลึกมากและห่างจากทะเลด้านล่างที่ลึก ส่วนสัตว์ในเขตด้านล่างจะพบในทะเลลึกหรือที่ก้นทะเล สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เขตน้ำตื้นกล่าวกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิตในทะเลเปิดหรือบริเวรผิวน้ำเช่นทูน่า ทำนองเดียวกันสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลด้านล่างกล่าวกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิตตามพื้นหรือทะเลลึกเช่นปลาหน้าดิน สัตว์ในเขตน้ำตื้นนั้นจะมีแหล่งที่อยู่ถาวรหรือไม่ถาวรขึ้นอยู่กับกระแสน้ำจะไปทางไหน แหล่งที่อยู่ใต้ทะเลสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามประชากรที่อาศัยอยู่ สิ่งมีชีวิตในทะเลบางชนิดเช่นปะการัง สาหร่ายทะเล โกงกางและหญ้าทะเลเป็นวิศวกรรมทางนิเวศวิทยาที่สำคัญเนื่องจากพวกมันก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมทางทะเลขึ้นใหม่และสามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ได้ หมายเหตุอ้างอิง
ดูเพิ่ม |