Share to:

 

สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

น้ำตกโฮปตัน ในประเทศออสเตรเลีย ในช่วงเวลาที่ทางการอนุญาตให้เข้าชมได้
ทะเลสาบบัคอับบ์ ในเทือกเขาสวิสแอลป์ พื้นที่ที่เป็นภูเขาโดยทั่วไปจะได้รับผลกระทบจากผู้คนน้อยกว่าพื้นที่ราบ

สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (อังกฤษ: natural environment) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าสิ่งแวดล้อม เป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบนโลกหรือบนภูมิภาคอื่น ๆ ที่มีปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยรวม

สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สามารถจำแนกโดยดูจากองค์ประกอบ:

สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติแตกต่างกับสิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้น ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์จะถือว่าเป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติก็ต่อเมื่อพื้นที่นั้น ๆ ได้รับผลกระทบจากมนุษย์ไม่เกินระดับที่กำหนดไว้

องค์ประกอบ

วิทยาศาสตร์โลก หรือ โลกศาสตร์ เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกครอบคลุมแขนงต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์โลก วิทยาศาสตร์โลกอาจถือได้ว่าเป็นกรณีพิเศษของวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ เนื่องจากโลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวเท่าที่เรารู้จักที่มีสิ่งมีชีวิต อาศัยอยู่ แนวทางในการศึกษาวิทยาศาสตร์โลกนั้น มีทั้งคตินิยมแบบลดทอนและแบบองค์รวม สาขาวิชาสำคัญ ๆ ของวิทยาศาสตร์โลกเท่าที่ผ่านมานั้น จะใช้วิชาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมี และชีววิทยา เพื่อสร้างความเข้าใจเชิงปริมาณในพื้นที่หรือภาค (sphere) หลัก ๆ ของระบบโลก

กิจกรรมทางธรณีวิทยา

รอยแยกของภูเขาไฟและช่องลาวา

กิจกรรมทางสมุทรศาสตร์

หมีขั้วโลกบนน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก ใกล้ขั้วโลกเหนือ
ชายฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกในซานฟรานซิสโก

มหาสมุทรเป็นจุดรวมของน้ำเค็มหลักในเป็นองค์ประกอบสำคัญของโลกทางน้ำ ประมาณ 71% ของพื้นผิวโลก (คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 361 ล้านตารางกิโลเมตร) ถูกปกคลุมโดยมหาสมุทร สิ่งที่แยกมหาสมุทรออกจากกันคือทวีปต่าง ๆ บนโลกรวมไปถึงแหลมต่าง ๆ

แม่น้ำและทะเลสาบ

แม่น้ำมาคัลในเบลิซที่ซาน อิกนาชิโอ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2001
ทะเลสาบลาคาร์เป็นทะเลสาบของจุดตั้งกำเนิดของธารน้ำแข็งในอาร์เจนตินา

ชั้นบรรยากาศ สภาพอากาศ และอากาศ

ก๊าซในชั้นบรรยากาศจัดวางลำแสงสีน้ำเงินไปในแบบที่แตกต่างออกไป สร้างรัศมีเมื่อมองดูจากอวกาศ

ผลกระทบจากปรากฏการณ์โลกร้อน

แม้การเชื่อมโยงสภาวะภูมิอากาศแบบจำเพาะบางอย่างเข้ากับปรากฏการณ์โลกร้อนจะ ทำได้ยาก แต่อุณหภูมิโดยรวมของโลกที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงการถดถอยของธารน้ำแข็ง (glacial retreat) การลดขนาดของอาร์กติก (Arctic shrinkage) และระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของหยาดน้ำฟ้าทั้งปริมาณและรูปแบบอาจทำให้เกิดน้ำท่วมและความแห้งแล้ง นอกจากนี้ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งความถี่และความรุนแรงของลมฟ้าอากาศสุดโต่ง (extreme weather) ที่เกิดบ่อยครั้งขึ้น ผลแบบอื่นๆ ก็ยังมีอีกเช่นการเปลี่ยนแปลงปริมาณผลิตผลทางเกษตร การเปลี่ยนแปลงของร่องน้ำ การลดปริมาณน้ำลำธารในฤดูร้อน การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิดและการเพิ่มของพาหะนำโรค

การร่วมมือกันเพื่อลดภาวะโลกร้อนมีดังต่อไปนี้:

การถอยกลับของธารน้ำแข็งอเลชภายในสวิสแอลป์ (สถานการณ์ในปี ค.ศ. 1979, 1991 และ 2002) เนื่องมาจากปรากฏการณ์โลกร้อน
มุมมองอีกมุมมองหนึ่งของธารน้ำแข็งอเลชในสวิสแอลป์ เนื่องมาจากภาวะโลกร้อนได้มีการลดขนาดของธารน้ำแข็งโดยมาก
  • อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ร่วมมีกับหลายประเทศทั่วโลกเพื่อลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน[1]
  • พิธีสารเกียวโตเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่ดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายในการรับมือกับสภาวะโลกร้อน (Global Warming) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change-UNFCCC) กล่าวคือเป็นกลไกในการทำให้อนุสัญญาดังกล่าวมีผลในทางปฏิบัตินั่นเอง[2]

ชีวิต

ชีวิต คือสถานะที่แยกสิ่งมีชีวิตหรืออินทรีย์ออกจากสิ่งไม่มีชีวิตหรืออนินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว สิ่งมีชีวิตเติบโตผ่านกระบวนการสันดาป การสืบพันธุ์และ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดสามารถพบได้ในชีวมณฑลของโลก ส่วนประกอบทั่วไปของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ - พืช สัตว์ เห็ดรา โพรทิสต์ อาร์เคีย และ แบคทีเรีย - คือ เซลล์ที่มีส่วนของน้ำและคาร์บอนเป็นหลัก และ เซลล์แหล่านี้ถูกเรียบเรียงอย่างซับซ้อนตามข้อมูลจากหน่วยพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการสันดาป เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว และ มีการปรับตัวและวิวัฒนาการโดยการผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้นที่ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิต

ระบบนิเวศ

อ้างอิง

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • Adams, Simon (2006). Earth Science: An illustrated guide to science. New York NY 10001: Chelsea House. p. 20. ISBN 0-8160-6164-5. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ids= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: location (ลิงก์)
  • "Earth's Energy Budget". Oklahoma Climatological Survey. 1996–2004. okfirst. สืบค้นเมื่อ 2007-11-17.{{cite web}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  • Oldroyd, David (2006). Earth Cycles: A historical perspective. Westport, Connicticut: Greenwood Press. ISBN 0-313-33229-0. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ids= ถูกละเว้น (help)
  • Simison, W. Brian (2007-02-05). "The mechanism behind plate tectonics". สืบค้นเมื่อ 2007-11-17.
  • Smith, Gary A. (2006). How Does the Earth Work?. Upper Saddle River, NJ 07458: Pearson Prentice Hall. pp. 5. ISBN 0-13-034129-0. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ids= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |subtitle= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: location (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya