นครินทรา
นครินทรา พรรณไม้ในพระนามาภิไธยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี นครินทรา มี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Paraboea sangwaniae Triboun) โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระนามาภิไธย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี [1] ในชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชในวงศ์ชาฤๅษี ซึ่งเป็นพืชชนิดแรกของไทย และเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก (New Species) ที่นักอนุกรมวิธานพืชจากกรมวิชาการเกษตรค้นพบ จัดเป็นพืชหายาก (rare plants)และพืชถิ่นเดียว พบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น (endemic species) โดย ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ สำรวจและค้นพบบริเวณบริเวณยอดเขาหินปูน บริเวณดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เมื่อปี พ.ศ. 2552 [2] เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชชนนี ที่ทรงมีพระราชกรณียกิจเกี่ยวข้องด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาดอยตุง[3] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อพรรณไม้ว่า "นครินทรา" แปลว่า พรรณไม้ที่เป็นศรีสง่าแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554 [4] ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 20-60 เซนติเมตร กิ่ง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มตั้งตรงหรือทอดเอนไปตามพื้นหิน กิ่งมีขนาดเล็กเรียว[5] ลำต้น ลำต้นส่วนล่างเป็นเนื้อไม้แข็งมีนวมหุ้ม 10-15 เซนติเมตร ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว 4-5 คู่ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นเป็นรูป ปลายมน โคนรูปลิ่ม ขอบใบมีลักษณะหยักมน เป็นครีบสอบยาวเรียวเชื่อมต่อมาจากโคนแผ่นใบ ช่อดอก ช่อดอกมีลักษณะเป็นกระจุก เกิดที่ยอดหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ใบประดับ และใบประดับย่อยรองรับดอกรูปร่างมน กลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยงมีห้ากลีบเป็นสีเขียว โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอก กลีบดอกเป็นรูประฆังสีขาวอมม่วงอ่อน ผล แบบผลแห้งแตก เมื่อผลแก่จะบิดเป็นเกลียว ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก[6] อ้างอิงดูเพิ่ม |