นราพัฒน์ แก้วทอง
นราพัฒน์ แก้วทอง (เกิด 2 สิงหาคม พ.ศ. 2512) ชื่อเล่น ตุ้ม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร ประวัตินราพัฒน์ แก้วทอง เกิดเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2512 เป็นบุตรชายของ ไพฑูรย์ แก้วทอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และอดีต ส.ส.พิจิตร หลายสมัย กับ อัจฉราภรณ์ แก้วทอง โดย นราพัฒน์ แก้วทอง เป็นบุตรคนโต มีน้องสาวคือ พัชราภรณ์ แก้วทอง และน้องชาย คือ พูนทรัพย์ แก้วทอง[1] นราพัฒน์ แก้วทอง เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สาขาบัญชี จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และ ปริญญาโท บริหารธุรกิจ (M.B.A) จาก National University ประเทศสหรัฐอเมริกา นราพัฒน์ มีชื่อเล่นว่า "ตุ้ม" ชีวิตครอบครัวสมรสกับ อุมาพร แก้วทอง (สกุลเดิม บุญนาน) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายตฤณพัฒน์ แก้วทอง และ นางสาวพรนภัส แก้วทอง มีกิจกรรมที่เป็นความชอบส่วนตัว คือ การติดตามชมฟุตบอลต่างประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์วิจารณ์การแข่งขัน[2] [3] โดยมีแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เป็นสโมสรที่ชื่นชอบ[4] และตกปลา[5] การทำงาน
งานการเมืองในปี พ.ศ. 2544 ไพฑูรย์ แก้วทอง ผู้เป็นบิดา ได้รับการวางตัวจากพรรคประชาธิปัตย์ ให้ลงสมัครเลือกตั้งเป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรค นราพัฒน์ แก้วทอง จึงลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ประจำเขตเลือกตั้งที่ 2 ของจังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของบิดา และชนะการเลือกตั้งได้เป็น ส.ส. ครั้งแรก เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2544 ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นราพัฒน์ แก้วทอง ลงสมัครรับเลือกตั้ง เขต 1 จังหวัดพิจิตร ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเป็นอันดับ 1 ของจังหวัดพิจิตร และเป็น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เพียงคนเดียวของจังหวัดพิจิตร ต่อมาในการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 นราพัฒน์ แก้วทอง ลงสมัครรับเลือกตั้ง เขต 2 จังหวัดพิจิตร และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เพียงคนเดียวของจังหวัดพิจิตรเช่นเดียวกับการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้า หลังการเลือกตั้งในครั้งนั้น ในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยนราพัฒน์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกับ นายนิพนธ์ บุญญามณี และ นายศุภชัย ศรีหล้า[6] [7] [8][9] ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[10] ดูแลพื้นที่ภาคเหนือ และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 27 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[11] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเป็นอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนเมื่อ พ.ศ. 2565 เมื่ออภิชัย เตชะอุบล ได้ขอลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ ทำให้นราพัฒน์ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน อภิชัย[12] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 นราพัฒน์ได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 7 [13] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |