Share to:

 

ศุภชัย ศรีหล้า

ศุภชัย ศรีหล้า
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าสมบัติ รัตโน
ถัดไปวุฒิพงษ์ นามบุตร
รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 (58 ปี)
อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองความหวังใหม่ (2544–254?)
ประชาธิปัตย์ (2548–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
กปปส.

ศุภชัย ศรีหล้า ม.ว.ม. ป.ช. (เกิด 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509) อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติ

ศุภชัย ศรีหล้า เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 เป็นบุตรของนายเฉลิมชัย กับนางสันติ์ ศรีหล้า สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี ระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (ประชากรศึกษา) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2531 ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ด้านประชากรศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2542

การทำงาน

ศุภชัย ศรีหล้า เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคความหวังใหม่ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นหนึ่งในห้า ส.ส.ภาคอีสาน ของพรรคประชาธิปัตย์ และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดอุบลราชธานี และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.หนึ่งในสี่คนของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ชนะการเลือกตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24

ในการประชุมวิสามัญพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ที่ประชุมได้มีมติเลือก ดร.ศุภชัย ศรีหล้า เป็นรองเลขาธิการพรรค พร้อมกับ นายนิพนธ์ บุญญามณี และ นายนราพัฒน์ แก้วทอง[1] ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[2] เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่ม กปปส.

ในปี 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 50[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ในปี 2566 เขากลับมาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตอีกครั้ง แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ ราย), เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑ง หน้า ๑๗๗ วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๗
  3. เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓


Kembali kehalaman sebelumnya