Share to:

 

นากญี่ปุ่น

นากญี่ปุ่น
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: สัตว์กินเนื้อ
Carnivora
วงศ์: วงศ์เพียงพอน
สกุล: นากใหญ่

Imaizumi & Yoshiyuki, 1989
สปีชีส์: Lutra nippon
ชื่อทวินาม
Lutra nippon
Imaizumi & Yoshiyuki, 1989
ชื่อพ้อง
  • Lutra lutra whiteleyi
  • Lutra lutra nippon

นากญี่ปุ่น (อังกฤษ: Japanese otter; ญี่ปุ่น: ニホンカワウソ/日本川獺โรมาจิNihon-kawauso; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lutra nippon) หรือ นากแม่น้ำญี่ปุ่น (Japanese river otter) เป็นนากชนิดหนึ่งที่เคยกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว[1][2]

ครั้งหนึ่งเคยพบแม้แต่ในโตเกียวในยุคคริสต์ทศวรรษ 1880 ประชากรนากลดลงอย่างกระทันหันในคริสต์ทศวรรษ 1930 และเกือบหายสาบสูญ นับแต่นั้นมา มีผู้พบเห็นใน ค.ศ. 1964 ที่ทะเลในเซโตะ และในทะเลอูวะเมื่อ ค.ศ. 1972 ถึง 1973 รายงานผู้พบเห็นอย่างเป็นทางการครั้งสุดท้ายอยู่ที่พื้นที่ตอนใต้ของจังหวัดโคจิใน ค.ศ. 1979 โดยมีผู้ถ่ายภาพที่ปากแม่น้ำชินโจะในซูซากิ ทำให้บัญชีแดงของญี่ปุ่นจัดให้นากชนิดนี้อยู่ในประเภท "มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์"[3] ต่อมาในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2012 กระทรวงสิ่งแวดล้อมประกาศให้นากญี่ปุ่นสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการ[4][5] นากญี่ปุ่นเป็นสัตว์ประจำจังหวัดเอฮิเมะ[6]

อนุกรมวิธาน

นากแม่น้ำทั้งหมดในประเทศญี่ปุ่นได้รับการบอกประเภทในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นชนิดย่อยของนากใหญ่ธรรมดา (Lutra lutra whiteleyi) ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 มีการเปรียบเทียบไมโทคอนเดรีย ไซโทโครม บี ของนากจากลัตเวียและจีน และนากที่ผ่านการสตัฟฟ์จากญี่ปุ่น ซึ่งผลิตโดยมหาวิทยาลัยโคจิ พบว่านากญี่ปุ่นเป็นชนิดต่างหาก ซึ่งภายหลังได้ชื่อวิทยาศาสตร์เป็น Lutra nippon[7] การจัดอันดับนี้ไม่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป เนื่องจากไม่มีการตรวจสอบเพิ่มเติม[8] แต่งานวิจัยในภายหลังได้ยืนยันความแตกต่างทางพันธุกรรมในระดับที่สูงมากระหว่าง "L. lutra" กับ "L. nippon" โดยการวิจัยใน ค.ศ. 2019 พบว่า "L. nippon" อยู่นอกเคลดย่อยเฉพาะของ "L. lutra" และ American Society of Mammalogists จัดใหม่ให้เป็นชนิดเฉพาะ[2][9] อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัย ค.ศ. 2019 ยังคงมีการถกเถียงเกี่ยวกับสถานะของ L. nippon ในฐานะสายพันธุ์เฉพาะเป็นอย่างมาก และสถานะทางอนุกรมวิธานยังคงไม่ชัดเจน[9]

นากเฉพาะในฮนชู, คีวชู และชิโกกุที่อยู่ในชนิด L. nippon ส่วนหน่วยอนุกรมวิธานย่อยเฉพาะ L. l. whiteleyi ยังใช้ได้สำหรับนากที่หายไปจากฮกไกโดด้วยเช่นกัน[10]

รายละเอียด

นากญี่ปุ่นช่วงโตเต็มที่มีความยาวระหว่าง 65 และ 80 เซนติเมตร (26 และ 31 นิ้ว) โดยมีหางยาว 45 ถึง 50 เซนติเมตร (18 ถึง 20 นิ้ว) พวกมันมีขนสีน้ำตาลเข้มหนาและนุ่มฟู พร้อมกับเท้าพังผืดสั้น นอกจากนี้ นากแม่น้ำยังมีขน 2 ประเภท/ชุด ข้อมูลแสดงให้เห็นว่านากแม่น้ำจะผลัดขนใต้ท้องทั้งหมดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม หลังขนใต้ท้องหลุดร่วงแล้ว นากก็จะผลัดขนป้องกันตัวตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน ทำให้นากปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลได้[11] นากมีอายุขัยสูงถึง 25 ปี[6]

นิเวศวิทยาและชีววิทยา

สาเหตุการสูญพันธุ์

รัฐบาลญี่ปุ่นอนุญาตให้ค้าขายกับส่วนอื่นของโลกตั้งแต่ยุคเมจิ ขนสัตว์จึงมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสามารถส่งออกได้ การล่านากแม่น้ำญี่ปุ่นกระจายไปทั่วประเทศ และจำนวนประชากรลดลงอย่างมาก จำนวนนากแม่น้ำกลับมาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากมีการออกกฎระเบียบการล่าสัตว์[12] ถึงกระนั้น มลพิษและการพัฒนาของมนุษย์ได้ทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรเพื่อสร้างแหล่งที่อยู่อาศัย มลพิษดังกล่าวทำให้แหล่งอาหารของนากญี่ปุ่นในแม่น้ำหมดไป ทำให้พวกมันต้องล่าเหยื่อในสภาพแวดล้อมที่อันตรายยิ่งขึ้น[13] สาเหตุดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้นากแม่น้ำญี่ปุ่นสูญพันธุ์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20[14]

ความพยายามค้นหา

การใช้งานแบบอื่น

นากญี่ปุ่นถูกใช้เป็นยารักษาวัณโรค ยาทั่วไปที่ใช้ได้ประมาณ 40 วันจะมีราคาประมาณ 300 ดอลลาร์สหรัฐ[15] นับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 หนังนากยังใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทหารอีกด้วย ใน ค.ศ. 1929 รัฐบาลได้จัดตั้ง "สมาคมนักล่า" ขึ้นเพื่อเรียกร้องให้ผู้คนล่าและถลกหนังนาก ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้นากสูญพันธุ์ในที่สุด[15]

ในวัฒนธรรม

นากญี่ปุ่นจัดให้เป็นสัตว์ประจำจังหวัดเอฮิเมะ จังหวัดทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูมิภาคชิโกกุ ประเทศญี่ปุ่น[6]

อ้างอิง

  1. Kenkyusha's New Japanese-English Dictionary, Kenkyusha Limited, Tokyo 1991, ISBN 4-7674-2015-6
  2. 2.0 2.1 "Explore the Database". www.mammaldiversity.org. สืบค้นเมื่อ 2021-07-01.
  3. "Red List of Threatened Mammals of Japan". Ministry of the Environment. สืบค้นเมื่อ August 7, 2010.
  4. "Japanese river otter declared extinct". Mainichi jp. Japan: The Mainichi Newspapers. August 28, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2012. สืบค้นเมื่อ August 28, 2012.
  5. Kyodo News, "Japanese river otter declared extinct", The Japan Times, August 29, 2012, p. 1
  6. 6.0 6.1 6.2 "Japanese River Otter Facts".
  7. Suzuki, Tomohiko; Yuasa, Hajime; Machida, Yoshihiko (1996). "Phylogenetic position of the Japanese river otter Lutra nippon inferred from the nucleotide sequence of 224 bp of the mitochondrial cytochrome b gene". Zoological Science. 13 (4): 621–626. doi:10.2108/zsj.13.621. hdl:10126/3553. PMID 8940916. S2CID 44502293.
  8. Yamamoto, K.; Ando, M. (2011). Trends in otter-related newspaper articles in Japan over 135 years (PDF) (Report). Group Bulletin. Vol. 28. IUCN Otter Specialist. pp. 31–34.
  9. 9.0 9.1 Park, Han-Chan; Kurihara, Nozomi; Kim, Kyung Seok; Min, Mi-Sook; Han, Sungyong; Lee, Hang; Kimura, Junpei (2019-05-04). "What is the taxonomic status of East Asian otter species based on molecular evidence?: focus on the position of the Japanese otter holotype specimen from museum". Animal Cells and Systems. 23 (3): 228–234. doi:10.1080/19768354.2019.1601133. ISSN 1976-8354. PMC 6567078. PMID 31231587.
  10. Conroy, J., Melisch, R., & Chanin, P. (1998). The distribution and status of the Eurasian Otter (Lutra lutra) in Asia—a preliminary review. IUCN Otter Specialist Group Bulletin, 15(1), 15-30.
  11. Blundell, Gail M.; Ben-David, Merav; Bowyer, R. Terry (2002). "Sociality in river otters: cooperative foraging or reproductive strategies?". Behavioral Ecology. 13 (1): 134–141. doi:10.1093/beheco/13.1.134.
  12. Motokazu, Ando (2012). Lake Biwa: Interactions between Nature and People. New York: Springer Dordrecht Heidelberg. pp. 141–142. ISBN 978-94-007-1782-4.
  13. Mueller, Jennifer. "Extinct Otters". PawNation. Demand Media. สืบค้นเมื่อ October 23, 2014.
  14. Epstein, Mike (September 8, 2012). "Japanese River Otter Declared Extinct After Three Decades". The Mary Sue. สืบค้นเมื่อ October 23, 2014.
  15. 15.0 15.1 Motokazu, Ando. "Extinction of Japanese River Otter" (PDF). สืบค้นเมื่อ 24 October 2014.
Kembali kehalaman sebelumnya