นางอากาศตะไล
อังกาศตไล หรือ อากาศตะไล หรือ นางสุรสา (อังกฤษ: Surasa) เป็นชื่อตัวละครในเรื่องรามายณะของอินเดีย และรามเกียรติ์ของไทย ในเรื่องรามายณะของอินเดียเป็นเทวีซึ่งเป็นมารดาของเหล่านาค และดูแลมหาสมุทรก่อนถึงกรุงลงกา รวมถึงเป็นสตรีหนึ่งในสามคนที่รักษากรุงลงกา ได้แก่ นางสุรสา นางสิมหิกา และผีเสื้อสมุทร ในรามเกียรติ์ของไทย เป็นยักษิณี ซึ่งเป็นเสื้อเมืองกรุงลงกา รักษาด่านทางอากาศ และเป็นหนึ่งในเจ็ดกองลาดตระเวนตรวจการกรุงลงกา เมื่อหนุมานมาถวายแหวนให้แก่นางสีดาที่สวนขวัญ ในกรุงลงกา อากาศตะไลได้รบกับหนุมาน และพ่ายแพ้ถูกหนุมานสังหารถึงแก่ความตาย (ชื่ออากาศตไล เขียนตามบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ 1, ชื่ออังกาศตะไล เขียนตามบทพระราชนิพนธ์ เรื่องรามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ 2) ลักษณะและการแต่งกายของโขนตัวละครในรามเกียรติ์ของประเทศไทยกายสีแดงเสน สวมเทริดน้ำเต้า 5 ยอด ปากแสยะ ตาโพลง 4 หน้า 8 มือ อาวุธประจำกาย ได้แก่ จักร พระขรรค์ ตรีคทา ง้าว ศร โตมร ค้อนเหล็ก ใส่เสื้อแขนสั้น นุ่งผ้าจีบหน้านาง (จากจิตรกรรม บานประตู วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ในการแสดงการ ลักษณะศีรษะโขน สวมมงกุฎยอดน้ำเต้า 5 ยอด ปากแสยะ ตาโพลง มีหน้าเล็ก ๆ 3 หน้าด้านหลัง นุ่งผ้าจีบหน้านางไม่เหมาะในการเข้ารบ จึงเปลี่ยนมานุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนยาว ห่มสไบนาง 2 ชาย ห้อยสะอิ้ง อาวุธที่ใช้ในการแสดงมี จักร (คล้องพระขรรค์) พระขรรค์ ตรี คทา (เหน็บเอว) ศร (เหน็บข้างหลัง) ถือง้าวหรือโตมร โคลงประจำภาพ
|