นีมิ
นีมิ (ญี่ปุ่น: 新見市; โรมาจิ: Niimi-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดโอกายามะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 นครนีมิมีจำนวนประชากรประมาณ 25,775 คน[1][2] มีความหนาแน่นของประชากร 32.5 คนต่อตารางกิโลเมตร มีขนาดพื้นที่รวม 793.29 ตารางกิโลเมตร (306.29 ตารางไมล์) ภูมิศาสตร์นีมิตั้งอยู่บนที่ราบสูงหินปูน (คาสต์) ในพื้นที่เทือกเขาชูโงกุ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดโอกายามะ พื้นที่มากกว่าร้อยละ 85 ของเขตเทศบาลเป็นภูเขา โดยเขาฮานามิเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ที่ระดับความสูง 1,188 เมตร เนื่องจากภูมิประเทศที่ขรุขระ จึงมีน้ำตก เขื่อน น้ำพุร้อนอนเซ็ง และถ้ำหินปูนหลายแห่ง ตัวเมืองหลักตั้งอยู่ตอนบนของแม่น้ำทากาฮาชิ[3][4][5] เทศบาลข้างเคียงภูมิอากาศนีมิมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในนีมิอยู่ที่ 12.4 องศาเซลเซียส (54.3 องศาฟาเรนไฮต์) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1,361.1 มิลลิเมตร (53.59 นิ้ว) โดยเดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 24.5 องศาเซลเซียส (76.1 องศาฟาเรนไฮต์) และต่ำสุดอยู่ในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 1.1 องศาเซลเซียส (34.0 องศาฟาเรนไฮต์)[6] อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึกได้ในนีมิอยู่ที่ 36.8 °C (98.2 °F) เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1994 ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึกอยู่ที่ −14.9 °C (5.2 °F) เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1981[7]
สถิติประชากรตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น ประชากรของนีมิใน ค.ศ. 2020 อยู่ที่ 28,079 คน[10] โดยนีมิดำเนินการสำมะโนประชากรมาตั้งแต่ ค.ศ. 1920
ประวัติศาสตร์พื้นที่ที่เป็นนีมิในปัจจุบัน เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโบราณที่ชื่อแคว้นบิตจู โดยครอบคลุมพื้นที่อำเภออางะและอำเภอเท็ตสึตะที่แบ่งโดยแม่น้ำทากาฮาชิ นีมิปรากฏในบันทึกตั้งแต่ยุคเฮอัง (ค.ศ. 794–1185) ณ ตอนนั้นเป็นโชเอ็งหรือที่ดินล้อมรอบคฤหาสน์ที่เรียกว่า มีมิโช ซึ่งครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของนีมิในปัจจุบัน ในช่วงกลางยุคคามากูระ ได้มีตระกูลนีมิทำหน้าที่เป็นจิโต ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้มีอำนาจถือครองที่ดินทางตอนเหนือของแคว้นบิตจูและสร้างปราสาทที่นีมิเป็นที่อยู่อาศัย หลังจากนั้น พื้นที่ดังกล่าวได้กลายเป็นอาณาเขตของวัดโทจิในเกียวโต และต่อมาอยู่ภายใต้การควบคุมของตระกูลอามาโงะในช่วงยุคเซ็งโงกุ ในช่วงต้นยุคเอโดะ พื้นที่แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแคว้นศักดินาบิตจู-มัตสึยามะ และพัฒนาเป็นศูนย์กลางการค้าภายในประเทศที่สำคัญ เนื่องจากมีแม่น้ำทากาฮาชิเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับมัตสึยามะโจกามาจิหรือเมืองที่ตั้งปราสาทมัตสึยามะ[5] ใน ค.ศ. 1697 รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะได้ก่อตั้งแคว้นศักดินานีมิขึ้น ซึ่งปกครองโดยตระกูลเซกิเรื่อยมาจนถึงยุคการปฏิรูปเมจิ หลังการปฏิรูปเมจิ เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาล หมู่บ้านนีมิก็ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1889 ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1896 ในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1938 ได้เกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ที่เผาทำลายส่วนใหญ่ของเมืองนีมิ หลังจากนั้น เมืองนีมิได้รับการยกฐานะเป็นนครเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1954 ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2005 นครนีมิได้ผนวกรวมเมืองต่าง ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ได้แก่ โอซะ, ชิงโง, เท็ซเซ และเท็ตตะ (ทั้งหมดเคยอยู่ภายในอำเภออาเต็ตสึ) ทำให้นครนีมิมีขนาดพื้นที่ใหญ่ขึ้น[4] การเมืองการปกครองนครนีมิเป็นเทศบาลนคร มีรูปแบบการบริหารแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภานครที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วยสมาชิก 16 คน นครนีมิเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดโอกายามะจำนวน 1 คน ในแง่ของการเมืองระดับประเทศ นครนีมิเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งจังหวัดโอกายามะที่ 3 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาญี่ปุ่น เศรษฐกิจเมืองนีมิมีชื่อเสียงในด้านเหมืองทรายเหล็กและผลิตภัณฑ์เนื้อวากิว[5] อุตสาหกรรมหลักในเมืองนีมิในปัจจุบัน ได้แก่ เหมืองหินปูน การผลิตปูนซีเมนต์[11] อุตสาหกรรมป่าไม้ และการท่องเที่ยว เมืองนี้เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัท ยามาซะ จำกัด ผู้ผลิตตู้สล็อตปาจิงโกะ[12] ฟาร์มต่าง ๆ ในเมืองนีมิมีทั้งฟาร์มองุ่น เกาลัด พีช และสาลี่ญี่ปุ่น[11] อีกทั้งยังมีฟาร์มเพาะปลูกชาดำที่นี่อีกด้วย[13] การศึกษานีมิมีโรงเรียนรัฐที่สังกัดเทศบาลเมือง แบ่งเป็นโรงเรียนประถม 17 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 7 แห่ง และมีโรงเรียนรัฐที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดโอกายามะ เป็นโรงเรียนมัธยมปลาย 1 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนมัธยมปลายเอกชน 1 แห่ง และทางจังหวัดได้ดำเนินการเปิดโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับผู้พิการ 1 แห่ง รวมถึงมีมหาวิทยาลัยนีมิ หรือนีมิโคริตสึไดงากุ การขนส่งรถไฟนีมิเป็นเมืองชุมทางรถไฟ[11] โดยมีเส้นทางรถไฟของบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตกให้บริการ 3 สาย ซึ่งมาบรรจบกันที่สถานีรถไฟนีมิ
รถโดยสารประจำทาง
ทางหลวงเมืองพี่น้องและเมืองแฝดนีมิมีเมืองพี่น้องและเมืองแฝดดังต่อไปนี้
สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่นนีมิมีขึ้นชื่อเรื่องถ้ำหินปูน[4] ซึ่งได้แก่
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ นีมิ
|