Share to:

 

นโยบายจีนเดียว

นโยบายจีนเดียว (จีน: 一個中國; อังกฤษ: One-China policy) หมายถึง นโยบายที่ยืนยันว่ามีเพียงรัฐรัฐเดียวที่ใช้ชื่อว่าจีน ซึ่งขัดต่อความคิดที่ว่ามีสองรัฐ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีนกับสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) หลายรัฐปฏิบัติตามนโยบายจีนเดียว แต่ความหมายไม่เหมือนกัน[1][2]

นโยบายจีนเดียวต่างจาก "หลักการจีนเดียว" ซึ่งหลักการนั้นถือว่าทั้งไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่คือจีนทั้งหมด หลักการจีนเดียวดัดแปลงมาจาก ฉันทามติ 1992 ของรัฐบาลสาธารณรัฐจีนในขณะนั้นกับข้อกำหนดของสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งขึ้นอยู่กับเสียงข้างมากของพรรคภายใต้ฉันทามติทั้งสองรัฐบาลเห็นด้วยที่มีเพียงที่เดียวที่มีอำนาจอธิปไตยที่รวมทั้งสองแผ่นดินใหญ่จากจีนไปไต้หวัน แต่ไม่เห็นด้วยเรื่องของรัฐบาลว่าใครคือผู้ถูกต้องตามกฎหมายที่จะเป็นรัฐบาลของประเทศนี้ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันกับเกาหลี

เบื้องหลัง

อาณาเขตควบคุมโดย สาธารณรัฐประชาชนจีน (สีม่วง) และสาธารณรัฐจีน (สีส้ม)

ในวันที่ 2 ธันวาคม 2016 ดอนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ และไช่ อิงเหวิน ประธานาธิบดีไต้หวัน โทรศัพท์ส่วนตัวหากันเกี่ยวกับเรื่องทางเศรษฐกิจการเมืองระหว่างไต้หวันและสหรัฐ[3]

ความสัมพันธ์ทางการทูต

สถานทูตจีนในแคนเบอร์รา ออสเตรเลีย ซึ่งออสเตรเลียไม่ได้ยอมรับไต้หวัน
สถานทูตไต้หวันในสวาซิแลนด์ สวาซิแลนด์ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนแผ่นดินใหญ่

นโยบายจีนเดียวยังเป็นความสำคัญสำหรับการเมืองเพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนแผ่นดินใหญ่เนื่องจากการกลายเป็นค่านิยมที่ทุกชาติทราบกันทั่วไปว่า จีน หมายถึงจีนแผ่นดินใหญ่ไม่ใช่ไต้หวัน อย่างไรก็ตามหลายชาติไม่ต้องการให้เรื่องนี้เป็นเรื่องพิเศษเพราะต้องการรักษาความสัมพันธ์กับทั้งสองประเทศไว้ บางประเทศใช้เงื่อนไขว่า "ยอมรับ", "เข้าใจ" ในขณะที่ประเทศอื่นในข้อบังคับใช้คำว่า "สนับสนุน" หรือ "รับรู้" สำหรับปักกิ่งเป็นตำแหน่งสถานะของไต้หวัน

ชื่อ "จีนไทเป" ใช้ในระหว่างประเทศตั้งแต่ที่ไต้หวันใช้ชื่อว่า "ไต้หวัน" ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นประเทศแยกออกและชื่อ "สาธารณรัฐจีน" บ่งบอกว่ามีสองจีน ดังนั้นชื่อทั้งสองละเมิดหลักการนโยบายจีนเดียว ชื่อไต้หวันเคยเป็นชื่อย่อของสหภาพระหว่างไต้หวัน เกาะเผิงหู หมู่เกาะจินเหมิน และเกาะหมาจู่ ตัวอย่างเช่นในนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงยุโรป (CFSP)

ประเทศส่วนใหญ่ยอมรับจีนแผ่นใหญ่ในทางการทูตจึงตั้งสำนักงานเศรษฐกิจขึ้นเพื่อทำหน้าที่แทนในการติดต่อกับไต้หวัน ขณะที่ไต้หวันมีสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป (TECRO) ทำหน้าที่เป็นสถานทูตโดยพฤตินัยเพื่อติดต่อกับประเทศอื่น ๆ

สำหรับฟิลิปปินส์ สถานทูตที่ไม่เป็นทางการเรียกสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมมะนิลา ถึงแม้ว่าจะเป็นสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมแต่ที่เว็บไซต์ปรากฏชัดเจนว่าสำนักงานตัวแทนฟิลิปปินส์ในไต้หวัน และยังมีบริการต่าง ๆ อย่างเช่นการทำวีซ่าและพาสปอร์ต

อ้างอิง

  1. "Exploring Chinese History :: Politics :: International Relations :: Nationalist Era Policy". ibiblio.org.
  2. Congressional Research Service: Evolution of the "One China" policy, http://assets.opencrs.com/rpts/RL30341_20090817.pdf เก็บถาวร 2012-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Metzler, John J. (7 December 2016). "Trump's Taiwan call: Tempest in a teapot?". www.atimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-29. สืบค้นเมื่อ 14 December 2016.
Kembali kehalaman sebelumnya