Share to:

 

น้ำเกลือ (การแพทย์)

น้ำเกลือ
สารละลายน้ำเกลือสำหรับให้ทางหลอดเลือดดำ
ข้อมูลทางคลินิก
AHFS/Drugs.comข้อมูลยาของ FDA สำหรับผู้เชี่ยวชาญ
ข้อมูลทะเบียนยา
ช่องทางการรับยาในหลอดเลือดดำ, เฉพาะที่, ใต้ผิวหนัง
รหัส ATC
ตัวบ่งชี้
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรClNa
มวลต่อโมล58.44 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • [Na+].[Cl-]
  • InChI=1S/ClH.Na/h1H;/q;+1/p-1
  • Key:FAPWRFPIFSIZLT-UHFFFAOYSA-M
สารานุกรมเภสัชกรรม

น้ำเกลือ (อังกฤษ: saline) หรือเรียกอีกอย่างว่า สารละลายน้ำเกลือ (อังกฤษ: saline solution) เป็นส่วนผสมของโซเดียมคลอไรด์ (เกลือ) และน้ำ[1] มีประโยชน์ทางการแพทย์หลายประการ เช่น ทำความสะอาดบาดแผล ให้ความชุ่มชื้นกับตาเพื่อช่วยบรรเทาอาการตาแห้ง และช่วยในการเอาเลนส์สัมผัสออกจากตา[2] สามารถให้ทางหลอดเลือดดำเพื่อแก้ไขภาวะปริมาตรเลือดน้อยจากภาวะต่าง ๆ เช่น กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ หรือภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน[2][1] นอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวทำละลายสำหรับใช้ผสมยาต่าง ๆ ก่อนฉีดเข้าร่างกายได้ด้วย หากได้รับน้ำเกลือมากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะสารน้ำมากเกิน อาการบวมน้ำ ภาวะกรดเกิน และโซเดียมในเลือดสูง[1][2] ในผู้ที่มีระดับโซเดียมในเลือดต่ำเป็นเวลานาน การได้รับน้ำเกลือมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดกลุ่มอาการไมอีลินเสื่อมจากออสโมซิส (osmotic demyelination syndrome)[2]

น้ำเกลือจัดอยู่ในกลุ่มยาที่มีผลึกใสหรือคริสตัลลอยด์ (crystalloid)[3] โดยทั่วไปมักใช้เป็นสารละลายเกลือ 9 กรัมต่อลิตร (0.9%) ที่ปราศจากเชื้อ ซึ่งเรียกว่าน้ำเกลือธรรมดา หรือนอร์มัลเซไลน์/เซลีน (normal saline)[1] และอาจมีการใช้น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นสูงหรือต่ำกว่านี้ได้ด้วยในบางกรณี[4][5] น้ำเกลือมีฤทธิ์เป็นกรด โดยมีค่า pH เท่ากับ 5.5 (เนื่องจากมีคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่เป็นหลัก)[6]

การใช้น้ำเกลือทางการแพทย์เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 1831[7] โดยอยู่ในบัญชียาหลักขององค์การอนามัยโลก[8] โซเดียมเป็นยาที่แพทย์สั่งจ่ายมากที่สุดเป็นอันดับ 274 ในสหรัฐ โดยมีใบสั่งยามากกว่า 1 ล้านใบ ใน ค.ศ. 2020[9][10]

ความเข้มข้นปกติ

น้ำเกลือธรรมดา หรือนอร์มัลเซไลน์/นอร์มัลเซลีน (NSS, NS หรือ N/S) เป็นชื่อที่ใช้กันโดยทั่วไปในการเรียกสารละลายโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้นมวลต่อปริมาตร 0.90%, 308 mOsm/L หรือ 9.0 กรัมต่อลิตร นอกจากนี้ ยังมีการเรียกสารละลายนี้ว่าเป็น น้ำเกลือทางสรีรวิทยา (physiological saline) หรือ น้ำเกลือไอโซโทนิก (isotonic saline) เนื่องจากมีค่าสภาพตึงตัวเท่ากันกับซีรัมในเลือดโดยประมาณ ซึ่งทำให้น้ำเกลือธรรมดาเป็นสารละลายปกติทางสรีรวิทยา แม้ว่าชื่อทั้งสองนี้จะถูกใช้เรียกกันน้อยกว่าและไม่ถูกต้องในทางเทคนิค เนื่องจากน้ำเกลือธรรมดาไม่เหมือนกับซีรัมในเลือดเลย แต่ทั้งสองชื่อก็ให้ผลในทางปฏิบัติที่มักพบเห็นได้ทั่วไป นั่นคือ มีสมดุลของเหลวที่ดี มีสภาพตึงตัวต่ำหรือสูงเพียงเล็กน้อย น้ำเกลือธรรมดามักใช้ให้โดยวิธีการหยดเข้าหลอดเลือดดำ (intravenous, IV) สำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับของเหลวทางปากได้ และมีอาการหรือเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำหรือภาวะปริมาตรเลือดน้อย น้ำเกลือธรรมดายังใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันเชื้ออีกด้วย โดยทั่วไปแล้วน้ำเกลือธรรมดาจะเป็นของเหลวชนิดแรกที่ใช้เมื่อปริมาตรเลือดต่ำมากจนส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด และเชื่อกันมานานว่าเป็นของเหลวที่ปลอดภัยที่สุดที่สามารถให้ในปริมาณมากอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าการให้น้ำเกลือธรรมดาอย่างรวดเร็วสามารถทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดเมแทบอลิก (metabolic acidosis)[11] ได้

สารละลายน้ำเกลือธรรมดา (NS) ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) 9 กรัมละลายในน้ำปริมาตรรวม 1,000 มิลลิลิตร (น้ำหนักต่อหน่วยปริมาตร) มวลของน้ำเกลือธรรมดา 1 มิลลิลิตร จะเท่ากับ 1.0046 กรัม ที่อุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียส[12][13] NaCl มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 58.4 กรัมต่อโมล ดังนั้น NaCl 58.4 กรัมจึงเท่ากับ NaCl 1 โมล เนื่องด้วย NS ประกอบด้วย NaCl 9 กรัม ความเข้มข้นจึงเท่ากับ 9 กรัมต่อลิตร หารด้วย 58.4 กรัมต่อโมล หรือเท่ากับ 0.154 โมลต่อลิตร และเนื่องด้วย NaCl แตกตัวเป็นไอออน 2 ชนิด คือ โซเดียม และคลอไรด์ NaCl 1 โมลาร์จะมี 2 ออสโมลาร์ ดังนั้น NS จึงมี Na+ 154 mEq/L และ Cl ในปริมาณเท่ากัน ซึ่งชี้ให้เห็นถึงออสโมลาริตีที่มีค่าเป็น 154 + 154 = 308 ซึ่งสูงกว่าเมื่อเทียบกับออสโมลาริตีของเลือด (ประมาณ 285)[14] อย่างไรก็ตาม หากนำค่าสัมประสิทธิ์ออสโมซิส (ตัวคูณเพื่อแก้ไขค่าความเข้มข้นสำหรับสารละลายที่ไม่เป็นไปตามอุดมคติ) เข้ามาพิจารณา สารละลายน้ำเกลือจะมีค่าความเข้มข้นใกล้เคียงไอโซโทนิก (ค่าสภาพตึงตัวเท่ากับในเลือด) มากขึ้น ค่าสัมประสิทธิ์ออสโมซิสของ NaCl อยู่ที่ประมาณ 0.93[15] ซึ่งให้ออสโมลาริตีเท่ากับ 0.154 × 1000 × 2 × 0.93 = 286.44 ดังนั้น ออสโมลาริตีของน้ำเกลือธรรมดาจึงใกล้เคียงกับออสโมลาริตีของเลือดมากที่สุด

การใช้งาน

สารสะลายน้ำเกลือสำหรับการชะล้าง

สำหรับวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ มักใช้น้ำเกลือเพื่อล้างแผลและแผลถลอกบนผิวหนัง อย่างไรก็ตาม งานวิจัยระบุว่าน้ำเกลือไม่ได้มีประสิทธิภาพดีไปกว่าน้ำประปาที่ใช้ดื่ม[16] น้ำเกลือธรรมดาจะไม่ทำให้ปวดแสบปวดร้อนหรือทำให้ระคายเคืองเมื่อใช้กับบาดแผล[ต้องการอ้างอิง]

น้ำเกลือยังใช้ในการบำบัดทางหลอดเลือดดำ โดยให้น้ำเพิ่มเข้าไปภายในหลอดเลือดดำเพื่อชดเชยน้ำที่เสียไปในร่างกายของผู้ป่วย หรือให้น้ำและเกลือที่จำเป็นในแต่ละวันแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานทางปากได้ เนื่องด้วยการให้สารละลายที่มีออสโมลาริตีต่ำอาจทำให้เกิดปัญหา เช่น เม็ดเลือดแดงแตก ดังนั้น การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำที่มีความเข้มข้นของเกลือต่ำ (น้อยกว่า 0.9%) มักมีการเติมเดกซ์โตรส (กลูโคส) เพื่อคงไว้ซึ่งออสโมลาริตีที่ปลอดภัยในขณะที่ให้โซเดียมคลอไรด์น้อยลง ปริมาณน้ำเกลือธรรมดาที่ให้เข้าไปนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วยเป็นส่วนใหญ่ (เช่น ท้องเสียเรื้อรังหรือหัวใจล้มเหลว)[ต้องการอ้างอิง]

น้ำเกลือยังใช้ล้างจมูกเพื่อบรรเทาอาการบางอย่างของโรคเยื่อจมูกอักเสบ (rhinitis) และโรคหวัด (common cold)[17] สารละลายนี้มีผลในการทำให้มูกหรือเสมหะอ่อนตัวลงและจับตัวกันน้อยลง ทำให้ล้างและทำความสะอาดโพรงจมูกได้ง่ายขึ้นสำหรับทั้งเด็ก[18]และผู้ใหญ่[19] ในบางกรณีที่พบได้ยากมาก คือการติดเชื้อที่อาจถึงแก่ชีวิตได้โดยอะมีบา Naegleria fowleri ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หากเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ดังนั้นจึงไม่ควรใช้น้ำประปาในการล้างจมูก น้ำที่จะเหมาะสำหรับจุดประสงค์นี้จะต้องผ่านการกลั่น ต้ม กรอง หรือฆ่าเชื้อเท่านั้น[20]

น้ำเกลือไอโซโทนิกที่ปราศจากเชื้อยังใช้บรรจุในเต้านมเทียมในการผ่าตัดเสริมเต้านม เพื่อแก้ไขความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น เต้านมผิดรูปเป็นปุ่ม และเพื่อแก้ไขความไม่สมมาตรของเต้านม[21][22] นอกจากนี้ ยังใช้เต้านมเทียมแบบบรรจุน้ำเกลือในการผ่าตัดสร้างเต้านมใหม่หลังการผ่าตัดเอาเต้านมออกอีกด้วย

ตา

ยาหยอดตาเป็นยาที่มีส่วนผสมของน้ำเกลือที่ใช้กับดวงตา ขึ้นอยู่กับอาการที่จะให้การรักษา ยาหยอดตาอาจประกอบด้วยสเตอรอยด์ สารต้านฮิสตามีน ซิมพาโทมิเมติก สารบล็อกตัวรับเบตา พาราซิมพาโทมิเมติก พาราซิมพาโทไลติก พรอสตาแกลนดิน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ยาปฏิชีวนะ หรือยาชาเฉพาะที่ ยาหยอดตาบางครั้งไม่มีตัวยาแต่เป็นเพียงสารหล่อลื่นและสารละลายทดแทนน้ำตา

จมูก

มีหลักฐานเบื้องต้นที่แสดงว่าการล้างจมูกด้วยน้ำเกลืออาจช่วยบรรเทาอาการเยื่อจมูกและไซนัสอักเสบ (rhinosinusitis) ที่เป็นมาอย่างเรื้อรังได้[23] แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนในเรื่องผลของการใช้น้ำเกลือล้างจมูกในกรณีเยื่อจมูกและไซนัสอักเสบที่เป็นในระยะสั้น[24]

การสักลูกตา

น้ำเกลือใช้ในการสักบริเวณเปลือกลูกตาส่วนตาขาว (scleral tattooing) เพื่อทำให้ส่วนที่เป็นสีขาวของดวงตามนุษย์มีสีสัน[25]

การลดรอยสัก

น้ำเกลือใช้เพื่อทำให้รอยสัก (รวมทั้งรอยสักแบบไมโครเบลดดิง) จางลงโดยผ่านกระบวนการออสโมซิส[26]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Sodium Chloride Injection - FDA prescribing information, side effects and uses". www.drugs.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2017. สืบค้นเมื่อ 14 January 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 British national formulary : BNF 69 (69th ed.). British Medical Association. 2015. pp. 683, 770. ISBN 9780857111562.
  3. Marini JJ, Wheeler AP (2010). Critical Care Medicine: The Essentials (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. p. 54. ISBN 9780781798396. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2017.
  4. "Hypertonic Saline - FDA prescribing information, side effects and uses". www.drugs.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2017. สืบค้นเมื่อ 14 January 2017.
  5. Pestana C (2000). Fluids and Electrolytes in the Surgical Patient (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. p. 11. ISBN 9780781724258. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2017.
  6. Reddi BA (2013). "Why is saline so acidic (and does it really matter?)". International Journal of Medical Sciences. 10 (6): 747–750. doi:10.7150/ijms.5868. PMC 3638298. PMID 23630439.
  7. Bozzetti F, Staun M, van Gossum A (2014). Home Parenteral Nutrition (ภาษาอังกฤษ) (2nd ed.). CABI. p. 4. ISBN 9781780643113. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2017.
  8. World Health Organization (2019). World Health Organization model list of essential medicines: 21st list 2019. Geneva: World Health Organization. hdl:10665/325771. WHO/MVP/EMP/IAU/2019.06. License: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.
  9. "The Top 300 of 2020". ClinCalc. สืบค้นเมื่อ 7 October 2022.
  10. "Sodium Salts - Drug Usage Statistics". ClinCalc. สืบค้นเมื่อ 7 October 2022.
  11. Prough DS, Bidani A (May 1999). "Hyperchloremic metabolic acidosis is a predictable consequence of intraoperative infusion of 0.9% saline". Anesthesiology. 90 (5): 1247–1249. doi:10.1097/00000542-199905000-00003. PMID 10319767.
  12. "Fluid Density Calculator". Earthwardconsulting.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2009. สืบค้นเมื่อ 27 February 2011.
  13. "Water Density Calculator". Csgnetwork.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2010. สืบค้นเมื่อ 27 February 2011.
  14. Lote CJ. Principles of Renal Physiology, 5th edition. Springer. p. 6.
  15. Hamer WJ, Wu YC (1 October 1972). "Osmotic Coefficients and Mean Activity Coefficients of Uni-univalent Electrolytes in Water at 25°C". Journal of Physical and Chemical Reference Data. 1 (4): 1047–1100. Bibcode:1972JPCRD...1.1047H. doi:10.1063/1.3253108.
  16. Brown A (20 August 2018). Ford S (บ.ก.). "When is wound cleansing necessary and what solution should be used?". Nursing Times (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Vol. 114 no. 9. Metropolis International. pp. 42–45. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
  17. "Cure a cold: Saline Nasal drops". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2013.
  18. "Blocked Nose in Babies ('Snuffles')". Patient UK.
  19. "Tixylix saline nasal drops". Netdoctor. 30 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2012.
  20. "Sinus Rinsing For Health or Religious Practice". CDC. 28 February 2017.
  21. Eisenberg T (October 2021). "Does Overfilling Smooth Inflatable Saline-Filled Breast Implants Decrease the Deflation Rate? Experience with 4761 Augmentation Mammaplasty Patients". Aesthetic Plastic Surgery. 45 (5): 1991–1999. doi:10.1007/s00266-021-02198-3. PMC 8481168. PMID 33712871.
  22. Eisenberg T (2019). "One-Stage Correction of Tuberous Breast Deformity Using Saline Implants: Without the Need for Radial Scoring or Lowering the Inframammary Fold". American Journal of Cosmetic Surgery. 36 (4): 191–196. doi:10.1177/0748806819841466. S2CID 145932734.
  23. Succar EF, Turner JH, Chandra RK (May 2019). "Nasal saline irrigation: a clinical update". International Forum of Allergy & Rhinology. 9 (S1): S4–S8. doi:10.1002/alr.22330. PMID 31087631.
  24. Achilles N, Mösges R (April 2013). "Nasal saline irrigations for the symptoms of acute and chronic rhinosinusitis". Current Allergy and Asthma Reports. 13 (2): 229–235. doi:10.1007/s11882-013-0339-y. PMID 23354530. S2CID 9798807.
  25. "A Model Almost Lost Her Eye After Getting a Sclera Tattoo. Here's Why She Did It". TIME (ภาษาอังกฤษ). 2017-09-29. สืบค้นเมื่อ 2024-04-28. It happens when a mixture of ink and saline is injected into the eye through a small needle.
  26. Dall'Asen, Nicola (2022-02-18). "OK, I'll Say It: I Regret Getting My Eyebrows Microbladed". Allure (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-04-28.
Kembali kehalaman sebelumnya