กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ(Gastroenteritis) ชื่ออื่น Gastro, stomach bug, stomach virus, stomach flu, gastric flu, gastrointestinitis ภาพไวรัสต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ เป็นภาพถ่ายกำลังขยายเท่ากัน สามารถเปรียบเทียบขนาดของไวรัสแต่ละชนิดได้: A = ไวรัสโรต้า, B = ไวรัสอะดีโน, C = ไวรัสโนโร, และ D = ไวรัสแอสโตร สาขาวิชา โรคติดเชื้อ , วิทยาทางเดินอาหาร อาการ อุจจาระร่วง , อาเจียน , ปวดท้อง , มีไข้ [ 1] [ 2] ภาวะแทรกซ้อน ภาวะขาดน้ำ [ 2] [ 3] สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อ เช่น ไวรัส , แบคทีเรีย , ปรสิต , เชื้อรา [ 2] [ 4] วิธีวินิจฉัย วินิจฉัยจากอาการ, อาจส่งอุจจาระเพาะเชื้อในบางกรณี[ 2] โรคอื่นที่คล้ายกัน โรคลำไส้อักเสบไอบีดี , กลุ่มอาการดูดซึมสารอาหารบกพร่อง , ภาวะไม่ทนต่อแลกโตส [ 5] การป้องกัน การล้างมือ , ดื่มน้ำสะอาด , ขับถ่ายของเสียให้ถูกสุขอนามัย, ให้ทารกกินนมแม่ [ 2] การรักษา สารละลายชดเชยการขาดน้ำแบบกินทางปาก (ประกอบด้วยน้ำ เกลือแกง และน้ำตาล), การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ [ 2] ความชุก 2.4 พันล้านคน (ค.ศ. 2015)[ 6] การเสียชีวิต 1.3 ล้านคน (ค.ศ. 2015)[ 7]
กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (อังกฤษ : gastroenteritis ) หรือ ท้องร่วงจากการติดเชื้อ (อังกฤษ : infectious diarrhea ) เป็นภาวะที่มีการอักเสบ ของอวัยวะในทางเดินอาหาร ได้แก่กระเพาะอาหาร และลำไส้ [ 8] ผู้ป่วยอาจมีอาการอุจจาระร่วง อาเจียน และปวดท้อง ได้[ 1] บางรายอาจมีไข้ อ่อนเพลีย และขาดน้ำ ร่วมด้วย[ 2] [ 3] ส่วนใหญ่เป็นอยู่ไม่เกิน 2 สัปดาห์ เรียกว่ากระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบเฉียบพลัน (อังกฤษ : acute gastroenteritis )[ 8]
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ ไวรัส [ 4] และมีบางส่วนเกิดจากการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ปรสิต และเชื้อรา [ 2] [ 4] เด็กที่ป่วยภาวะนี้และมีอาการรุนแรงส่วนใหญ่จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า [ 9] ส่วนในผู้ใหญ่ที่พบบ่อยที่สุดคือไวรัสโนโร และเชื้อแบคทีเรียแคมไพโลแบกเตอร์ [ 10] [ 11] พฤติกรรมที่ทำให้โรคแพร่กระจายได้แก่ กินอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย[ 2] การรักษาส่วนใหญ่จะเหมือน ๆ กันไม่ว่าจะมีเชื้อใดเป็นสาเหตุ ดังนั้นโดยทั่วไปจะไม่นิยมส่งตรวจหาเชื้อ[ 2]
การป้องกันทำได้โดยล้างมือด้วยสบู่ ดื่มน้ำสะอาด ให้ทารกกินนมแม่ แทนนมชง [ 2] และขับถ่ายให้ถูกสุขลักษณะ ในเด็กแนะนำให้ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรต้าด้วยวัคซีน [ 2] [ 9] การรักษาที่สำคัญคือการชดเชยสารน้ำ [ 2] ในรายที่ป่วยเล็กน้อยหรือปานกลางสามารถทำได้ด้วยวิธีกินสารละลายชดเชยสารน้ำ ที่ผสมจากน้ำสะอาด เกลือแกง และน้ำตาล [ 2] ทารกที่กินนมแม่ แนะนำให้กินนมแม่ต่อไป[ 2] ในรายที่ป่วยรุนแรงอาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำผ่านการให้ทางหลอดเลือดดำ [ 2] หรืออาจให้ผ่านสายสวนกระเพาะอาหารทางจมูก [ 12] ในเด็กแนะนำให้เสริมแร่ธาตุสังกะสี [ 2] ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ [ 13] แต่ในเด็กเล็กที่มีไข้และมีอุจจาระเป็นมูกเลือดแนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะร่วมในการรักษาด้วย[ 1]
ข้อมูล ค.ศ. 2015 พบว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบราว 2 พันล้านคน เสียชีวิตประมาณ 1.3 ล้านคน[ 6] [ 7] กลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเด็กและคนที่อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา [ 14] โดยข้อมูล ค.ศ. 2011 มีเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ป่วยจากภาวะนี้ราว 1.7 พันล้านคน และเสียชีวิตประมาณ 7 แสนคน[ 15] เด็กอายุไม่เกิน 2 ปีในประเทศพัฒนาแล้ว จะป่วยจากภาวะนี้ประมาณปีละ 6 ครั้ง หรือมากกว่า[ 16] ในผู้ใหญ่จะพบภาวะนี้ได้น้อยลง ส่วนหนึ่งเพราะภูมิคุ้มกันพัฒนาแล้ว[ 17] ชื่อภาษาอังกฤษของภาวะนี้ชื่อหนึ่งคือ stomach flu ("ไข้หวัดใหญ่ที่กระเพาะอาหาร") ซึ่งเป็นการเรียกชื่อที่ไม่ตรงกับสาเหตุของโรค ภาวะนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับโรคไข้หวัดใหญ่ แต่อย่างใด[ 18]
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบส่วนใหญ่จะทั้งอาการอาเจียน และถ่ายเหลว [ 17] แต่อาจมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้[ 1] อาจปวดท้อง ร่วมด้วยได้[ 1] ส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อมาเป็นเวลา 12–72 ชั่วโมง[ 14] หากเป็นจากการติดเชื้อไวรัสจะหายได้เองในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์[ 17] อาการอื่นที่อาจพบได้ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น[ 17] หากอุจจาระมีเลือดปน อาจเป็นจากการติดเชื้อแบคทีเรียมากกว่าจะเป็นจากไวรัส[ 17] [ 19] การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดอาจทำให้มีอาการปวดท้องต่อเนื่องได้หลายสัปดาห์[ 19]
เด็กที่ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโรต้ามักหายได้เองภายใน 3–8 วัน[ 20] อย่างไรก็ดีเด็กในประเทศยากจนอาจมีความยากลำบากในการเข้าถึงการรักษาสำหรับกรณีที่เป็นรุนแรง ซึ่งอาจทำให้มีภาวะถ่ายเหลวเรื้อรังตามมาได้[ 21] ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือการขาดน้ำ [ 22] หากผู้ป่วยเด็กขาดน้ำรุนแรงอาจทำให้มีผิวหนังแข็งจับตั้งแล้วคืนตัวได้ช้า เรียกว่าภาวะสูญเสียความยืดหยุ่นของผิวหนัง (poor skin turgor)[ 23] และอาจมีความเร็วเลือดไหลกลับคืนหลอดเลือดฝอยช้าลง (prolonged capillary refill) ได้ด้วย[ 23] รายที่ขาดน้ำรุนแรงมากอาจมีอาการหายใจลำบากเพิ่มได้อีก[ 23] ในพื้นที่ที่สุขลักษณะไม่ดีและขาดแคลนสารอาหาร อาจทำให้มีผู้ป่วยติดเชื้อซ้ำได้บ่อย[ 14] ซึ่งทำให้เกิดภาวะไม่เจริญเติบโต และสติปัญญาบกพร่องตามมาได้[ 16]
ผู้ป่วยกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบจากเชื้อแบคทีเรียแคมไพโลแบกเตอร์ประมาณ 1% จะมีข้ออักเสบแบบปฏิกิริยา ตามมาในภายหลัง และ 0.1% จะเกิดกลุ่มอาการกิลแลงบาร์เร รายที่ติดเชื้ออีโคไล สายพันธุ์ที่สร้างสารพิษชิกา หรือติดเชื้อชิเกลลา อาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย (HUS) ตามมาได้ ผู้ป่วยที่มี HUS จะมีเกล็ดเลือดต่ำ ไตวาย และเลือดจางจากเม็ดเลือดแดงแตก ภาวะนี้มีโอกาสเกิดในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ นอกจากนี้แล้วการติดเชื้อไวรัสบางชนิดอาจทำให้เกิดโรคลมชักแบบไม่รุนแรงในทารก ได้ด้วย
สาเหตุ
กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส (โดยเฉพาะไวรัสโรต้า ) และแบคทีเรีย เช่น อี. โคไล และ แคมไพโลแบกเตอร์ [ 14] [ 24] อย่างไรก็ดียังอาจเกิดจากการติดเชื้ออื่น ๆ ได้ เช่น ปรสิต และเชื้อรา เป็นต้น[ 16] [ 4] นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การติดเชื้อได้ แต่พบได้น้อยกว่ามาก[ 1] เด็กมีโอกาสป่วยมากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกัน ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์[ 1] และยังไม่สามารถปฏิบัติตนตามหลักสุขอนามัย ได้[ 1] เด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ จะมีโอกาสป่วยสูงขึ้นไปอีก[ 1]
การติดเชื้อ
ไวรัส
เป็นที่ทราบกันว่าการติดเชื้อไวรัสโรตา , ไวรัสโนโร , ไวรัสอะดีโน และไวรัสแอสโตร เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบจากไวรัส[ 25] ไวรัสโรตาเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก[ 24] และมีอัตราใกล้เคียงกันทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา[ 20] ไวรัสโรตาทำให้เกิดอาการท้องร่วงติดเชื้อประมาณ 70% ในกลุ่มอายุเด็ก[ 12] แต่เป็นสาเหตุที่พบได้น้อยกว่าในผู้ใหญ่จากการมีภูมิคุ้มกันแบบรับมา [ 26] ไวรัสโนโรเป็นสาเหตุประมาณ 18% ของผู้ป่วยทุกกรณี[ 27] กล่าวโดยทั่วไป โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุถึง 21–40% ของกรณีผู้ป่วยโรคท้องร่วงติดเชื้อในประเทศที่พัฒนาแล้ว[ 28]
ไวรัสโนโรเป็นสาเหตุสำคัญของโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบในผู้ใหญ่ในสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 90% ของการระบาดของไวรัสก่อโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ[ 17] โรคระบาด เฉพาะถิ่นเหล่านี้มักเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มคนที่ใช้เวลาอยู่ร่วมกันเช่น บนเรือสำราญ [ 17] ในโรงพยาบาล หรือในร้านอาหาร[ 1] ผู้คนอาจยังคงติดเชื้อแม้หลังจากอาการท้องร่วงสิ้นสุดลงแล้ว[ 17] และไวรัสโนโรเป็นสาเหตุประมาณ 10% ในผู้ป่วยเด็ก[ 1]
แบคทีเรีย
Salmonella enterica serovar Typhimurium (ATCC 14028) ภาพจากกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 1,000 เท่าหลังจากการย้อมสีแกรม
ในบางประเทศ Campylobacter jejuni เป็นสาเหตุหลักของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบจากแบคทีเรีย โดยครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยกรณีเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการสัมผัสกับสัตว์ปีก [ 19] แบคทีเรีย เป็นสาเหตุประมาณ 15% ของกรณีผู้ป่วยเด็กทั้งหมด โดยชนิดของแบคทีเรียที่พบมากที่สุดคือสายพันธุ์ของ Escherichia coli , Salmonella , Shigella และ Campylobacter [ 12] หากอาหารปนเปื้อนแบคทีเรียและยังคงอยู่ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลาหลายชั่วโมง แบคทีเรียจะทวีคูณจำนวนซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อในผู้ที่รับประทานอาหารนั้น[ 16] อาหารที่มักเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยได้แก่ เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล และไข่ดิบหรือปรุงไม่สุก, ถั่วงอกดิบ, นมไม่พาสเจอร์ไรส์ และชีสเนื้ออ่อน , น้ำผักและผลไม้[ 29] ในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮารา และเอเชีย การติดเชื้ออหิวาตกโรค เป็นสาเหตุทั่วไปของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ โดยมักติดต่อจากน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน[ 30]
แบคทีเรียก่อชีวพิษ Clostridium difficile เป็นสาเหตุสำคัญของอาการท้องร่วงที่เกิดขึ้นบ่อยขึ้นในผู้สูงอายุ [ 16] ทารก สามารถเป็นพาหะของแบคทีเรียเหล่านี้ได้โดยไม่แสดงอาการใด ๆ[ 16] โดยเป็นสาเหตุของอาการท้องร่วงในผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและมักเกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะ [ 31] โรคท้องร่วงจากการติดเชื้อ Staphylococcus aureus อาจเกิดขึ้นในผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะ[ 32] "อาการท้องร่วงของนักเดินทาง" ซึ่งเกิดเฉียบพลันมักจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียก่อโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ในขณะที่อาการเรื้อรังมักเกิดจากการติดเชื้อปรสิต [ 33] ยายับยั้งการหลั่งกรด อาจเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญหลังจากได้รับเชื้อหลายชนิด รวมทั้งเชื้อ Clostridium difficile , Salmonella และ Campylobacter [ 34] ความเสี่ยงในผู้ที่ใช้ยาชนิดยับยั้งการขับโปรตอนมีมากกว่าสารต้านตัวรับเอช 2 [ 34]
ปรสิต
มีปรสิตอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบได้หลายชนิด[ 12] ที่พบบ่อยที่สุดคือจิอาร์เดีย แลมเบลีย ชนิดอื่น ๆ ที่พบได้ เช่น อี. ฮิสโตไลติกา และคริปโตสปอริเดียม เป็นต้น[ 12] [ 33] นับรวม ๆ แล้วพบเป็นสาเหตุได้ถึง 10% ของผู้ป่วยเด็กที่มีกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ[ 35] [ 33] ชนิดที่เกิดจากจิอาร์เดียพบได้บ่อยในประเทศกำลังพัฒนา แต่ก็สามารถพบได้เกือบทุกที่[ 36] โดยเฉพาะในคนที่เดินทางไปยังพื้นที่ระบาด เด็กในศูนย์เลี้ยงเด็ก ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และหลังเกิดภัยพิบัติ [ 36]
การแพร่เชื้อ
การแพร่เชื้ออาจเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนหรือเมื่อผู้คนแบ่งปันสิ่งของส่วนตัว[ 14] คุณภาพน้ำโดยทั่วไปจะแย่ลงในฤดูฝนและมีการระบาดเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลานี้[ 14] ในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่น การติดเชื้อจะพบได้บ่อยในฤดูหนาว[ 16] การป้อนนมทารกด้วยขวดที่ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุสำคัญทั่วโลก[ 14] อัตราการแพร่เชื้อยังสัมพันธ์กับสุขอนามัย ที่ไม่ดี (โดยเฉพาะในเด็ก)[ 17] ในครัวเรือนที่มีสมาชิกจำนวนมาก[ 37] และในผู้ที่มีภาวะโภชนาการไม่ดี[ 16] ผู้ใหญ่ที่พัฒนาภูมิคุ้มกันแล้วยังอาจเป็นพาหะของเชื้อบางชนิดโดยไม่แสดงอาการ ดังนั้นจึงอาจกลายเป็นรังโรคตามธรรมชาติ[ 16] ในขณะที่เชื้อบางชนิด (เช่นแบคทีเรียสกุล Shigella ) ก่อโรคในไพรเมต เท่านั้น เชื้ออื่น ๆ (เช่นปรสิตสกุล Giardia ) อาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หลายชนิด[ 16]
สาเหตุอื่น
มีสาเหตุอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่ทำให้เกิดการอักเสบของทางเดินอาหารได้โดยไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ที่พบบ่อย เช่น ยาบางชนิด (เช่น ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ), อาหารบางชนิด เช่น นมที่มีแลกโตส (ในผู้ที่มีความไม่ทนต่อแลกโตส ), และ กลูเตน (ในผู้ป่วยโรคซีลีแอก ) โรคโครห์น ก็เป็นอีกโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีลำไส้อักเสบโดยไม่ต้องมีการติดเชื้อ และอาจเป็นได้รุนแรง บางครั้งอาจมีการอักเสบจากการได้รับสารพิษ ซึ่งพิษที่ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว โรคอื่น ๆ เช่น การเป็นพิษจากซิกัวเทอรา เกิดจากการกินปลาที่สะสมสารพิษเอาไว้, การเป็นพิษจากสครอมบอยด์ เกิดจากการกินปลาบางชนิดที่เน่าเสีย, การเป็นพิษจากเตโตรโดท็อกซิน จากการกินปลาปักเป้า และ การเป็นพิษจากโบทูลินัม จากการกินอาหารกระป๋องที่เก็บไม่ดี เป็นต้น
ในสหรัฐพบว่าอัตราการเข้าใช้บริหารที่ห้องฉุกเฉินจากภาวะกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อใน ค.ศ. 2011 ลดลงจาก ค.ศ. 2006 ประมาณ 30% โดยในบรรดาโรคที่นำผู้ป่วยมารับบริการที่ห้องฉุกเฉินบ่อยที่สุด 20 อันดับแรก จำนวนผู้ป่วยกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อลดลงเป็นสัดส่วนมากที่สุด
การวินิจฉัย
ส่วนใหญ่แล้ววินิจฉัยโดยดูจากอาการและอาการแสดงทางคลินิก[ 17] การตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจนของภาวะนี้มักไม่จำเป็น เนื่องจากไม่เปลี่ยนแปลงแนวทางการรักษา[ 14]
กรณีที่ควรตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจอุจจาระ ด้วยการเพาะเชื้อ ได้แก่ กรณีที่ถ่ายเป็นเลือด, กรณีที่อาจเกิดจากอาหารเป็นพิษ และกรณีที่เดินทางกลับมาจากประเทศกำลังพัฒนา[ 12] นอกจากนี้อาจควรทำในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี, ผู้สูงอายุ, และผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง[ 38] นอกจากนี้ยังอาจตรวจเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเฝ้าระวังโรค[ 17] ผู้ป่วยที่เป็นทารกและเด็กเล็กประมาณ 10% อาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ร่วมด้วย จึงแนะนำให้ตรวจระดับกลูโคส ในเลือดในผู้ป่วยกลุ่มนี้[ 23] ในรายที่มีภาวะขาดน้ำรุนแรงอาจต้องตรวจอีเล็กโตรลัยต์ในเลือดและตรวจการทำงานของไต ร่วมด้วย[ 12]
การรักษา
ผู้ป่วยกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบส่วนใหญ่หายได้เองและไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์[ 22] การรักษาที่จะได้ประโยชน์ที่สุดสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ซึ่งมีภาวะขาดน้ำ ระดับเล็กน้อยถึงปานกลางคือการชดเชยน้ำด้วยการกินสารละลายเกลือแร่ [ 35] ในเด็กเล็กบางรายที่อาจขาดน้ำจากการอาเจียนอาจได้ประโยชน์จากการใช้ยาต้านการอาเจียน สักหนึ่งครั้ง เช่น เมโทโคลปราไมด์ หรือ ออนแดนซีตรอน เป็นต้น[ 39] ไฮออสซีนบิวทิลโบรไมด์ อาจช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ได้[ 40]
อ้างอิง
↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 Singh, Amandeep (July 2010). "Pediatric Emergency Medicine Practice Acute Gastroenteritis — An Update" . Pediatric Emergency Medicine Practice . 7 (7).
↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 Ciccarelli, S; Stolfi, I; Caramia, G (29 October 2013). "Management strategies in the treatment of neonatal and pediatric gastroenteritis" . Infection and Drug Resistance . 6 : 133–61. doi :10.2147/IDR.S12718 . PMC 3815002 . PMID 24194646 .
↑ 3.0 3.1 Ferri's Clinical Advisor 2015: 5 Books in 1 . Elsevier Health Sciences. 2014. p. 479. ISBN 978-0-323-08430-7 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 A. Helms, Richard (2006). Textbook of therapeutics : drug and disease management (8. ed.). Philadelphia [u.a.]: Lippincott Williams & Wilkins. p. 2003. ISBN 978-0-7817-5734-8 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
↑ Caterino, Jeffrey M.; Kahan, Scott (2003). In a Page: Emergency medicine (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. p. 293. ISBN 978-1-4051-0357-2 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
↑ 6.0 6.1 GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence Collaborators (8 ตุลาคม 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015" . Lancet . 388 (10053): 1545–1602. doi :10.1016/S0140-6736(16)31678-6 . PMC 5055577 . PMID 27733282 .
↑ 7.0 7.1 GBD 2015 Mortality and Causes of Death Collaborators (8 ตุลาคม 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015" . Lancet . 388 (10053): 1459–1544. doi :10.1016/s0140-6736(16)31012-1 . PMC 5388903 . PMID 27733281 .
↑ 8.0 8.1 Schlossberg, David (2015). Clinical infectious disease (Second ed.). p. 334. ISBN 978-1-107-03891-2 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
↑ 9.0 9.1 Tate JE, Burton AH, Boschi-Pinto C, Steele AD, Duque J, Parashar UD (February 2012). "2008 estimate of worldwide rotavirus-associated mortality in children younger than 5 years before the introduction of universal rotavirus vaccination programmes: a systematic review and meta-analysis" . The Lancet Infectious Diseases . 12 (2): 136–41. doi :10.1016/S1473-3099(11)70253-5 . PMID 22030330 .
↑ Marshall JA, Bruggink LD (April 2011). "The dynamics of norovirus outbreak epidemics: recent insights" . International Journal of Environmental Research and Public Health . 8 (4): 1141–9. doi :10.3390/ijerph8041141 . PMC 3118882 . PMID 21695033 .
↑ Man SM (December 2011). "The clinical importance of emerging Campylobacter species". Nature Reviews Gastroenterology & Hepatology . 8 (12): 669–85. doi :10.1038/nrgastro.2011.191 . PMID 22025030 . S2CID 24103030 .
↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 Webb, A; Starr, M (April 2005). "Acute gastroenteritis in children". Australian Family Physician . 34 (4): 227–31. PMID 15861741 .
↑ Zollner-Schwetz, I; Krause, R (August 2015). "Therapy of acute gastroenteritis: role of antibiotics" . Clinical Microbiology and Infection . 21 (8): 744–9. doi :10.1016/j.cmi.2015.03.002 . PMID 25769427 .
↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 14.7 Webber, Roger (2009). Communicable disease epidemiology and control : a global perspective (3rd ed.). Wallingford, Oxfordshire: Cabi. p. 79. ISBN 978-1-84593-504-7 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-26.
↑ Walker, CL; Rudan, I; Liu, L; Nair, H; Theodoratou, E; Bhutta, ZA; O'Brien, KL; Campbell, H; Black, RE (Apr 20, 2013). "Global burden of childhood pneumonia and diarrhoea" . Lancet . 381 (9875): 1405–16. doi :10.1016/S0140-6736(13)60222-6 . PMC 7159282 . PMID 23582727 .
↑ 16.00 16.01 16.02 16.03 16.04 16.05 16.06 16.07 16.08 16.09 Dolin, Raphael; Mandell, Gerald L.; Bennett, John E., บ.ก. (2010). "Chapter 93". Mandell, Douglas, and Bennett's principles and practice of infectious diseases (7th ed.). Philadelphia: Churchill Livingstone/Elsevier. ISBN 978-0-443-06839-3 .
↑ 17.00 17.01 17.02 17.03 17.04 17.05 17.06 17.07 17.08 17.09 17.10 Eckardt AJ, Baumgart DC (January 2011). "Viral gastroenteritis in adults". Recent Patents on Anti-Infective Drug Discovery . 6 (1): 54–63. doi :10.2174/157489111794407877 . PMID 21210762 .
↑ Shors, Teri (2013). The microbial challenge : a public health perspective (3rd ed.). Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning. p. 457. ISBN 978-1-4496-7333-8 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
↑ 19.0 19.1 19.2 Galanis, E (11 กันยายน 2007). "Campylobacter and bacterial gastroenteritis" . Canadian Medical Association Journal . 177 (6): 570–1. doi :10.1503/cmaj.070660 . PMC 1963361 . PMID 17846438 .
↑ 20.0 20.1 Meloni, A; Locci, D; Frau, G; Masia, G; Nurchi, AM; Coppola, RC (October 2011). "Epidemiology and prevention of rotavirus infection: an underestimated issue?". Journal of Maternal-Fetal and Neonatal Medicine . 24 (Suppl 2): 48–51. doi :10.3109/14767058.2011.601920 . PMID 21749188 . S2CID 44379279 .
↑ "Toolkit" . DefeatDD . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 27 April 2012. สืบค้นเมื่อ 3 May 2012 .
↑ 22.0 22.1 "Management of acute diarrhoea and vomiting due to gastoenteritis in children under 5" . National Institute of Clinical Excellence . April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-08-02. สืบค้นเมื่อ 2009-06-11 .
↑ 23.0 23.1 23.2 23.3 Tintinalli, Judith E. (2010). Emergency Medicine: A Comprehensive Study Guide (Emergency Medicine (Tintinalli)) . New York: McGraw-Hill Companies. pp. 830–839. ISBN 978-0-07-148480-0 .
↑ 24.0 24.1 Szajewska, H; Dziechciarz, P (มกราคม 2010). "Gastrointestinal infections in the pediatric population". Current Opinion in Gastroenterology . 26 (1): 36–44. doi :10.1097/MOG.0b013e328333d799 . PMID 19887936 . S2CID 5083478 .
↑ Barlow, Gavin; Irving, William L.; Moss, Peter J. (2020). "20. Infectious disease" . ใน Feather, Adam; Randall, David; Waterhouse, Mona (บ.ก.). Kumar and Clark's Clinical Medicine (ภาษาอังกฤษ) (10th ed.). Elsevier. pp. 529–530. ISBN 978-0-7020-7870-5 .
↑ Desselberger U, Huppertz HI (มกราคม 2011). "Immune responses to rotavirus infection and vaccination and associated correlates of protection" . The Journal of Infectious Diseases . 203 (2): 188–95. doi :10.1093/infdis/jiq031 . PMC 3071058 . PMID 21288818 .
↑ Ahmed, Sharia M; Hall, Aron J; Robinson, Anne E; Verhoef, Linda; Premkumar, Prasanna; Parashar, Umesh D; Koopmans, Marion; Lopman, Benjamin A (สิงหาคม 2014). "Global prevalence of norovirus in cases of gastroenteritis: a systematic review and meta-analysis" . The Lancet Infectious Diseases . 14 (8): 725–30. doi :10.1016/S1473-3099(14)70767-4 . PMC 8006533 . PMID 24981041 .
↑ Baumgart, Alexander J. Eckardt and Daniel C. (31 ธันวาคม 2010). "Viral Gastroenteritis in Adults" . Recent Patents on Anti-Infective Drug Discovery (ภาษาอังกฤษ). 6 (1): 54–63. doi :10.2174/157489111794407877 . PMID 21210762 . สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2020 .
↑ Nyachuba, DG (พฤษภาคม 2010). "Foodborne illness: is it on the rise?". Nutrition Reviews . 68 (5): 257–69. doi :10.1111/j.1753-4887.2010.00286.x . PMID 20500787 .
↑ Charles, RC; Ryan, ET (ตุลาคม 2011). "Cholera in the 21st century". Current Opinion in Infectious Diseases . 24 (5): 472–7. doi :10.1097/QCO.0b013e32834a88af . PMID 21799407 . S2CID 6907842 .
↑ Moudgal, V; Sobel, JD (กุมภาพันธ์ 2012). "Clostridium difficile colitis: a review". Hospital Practice . 40 (1): 139–48. doi :10.3810/hp.2012.02.954 . PMID 22406889 . S2CID 23015631 .
↑ Lin, Z; Kotler, DP; Schlievert, PM; Sordillo, EM (พฤษภาคม 2010). "Staphylococcal enterocolitis: forgotten but not gone?" . Digestive Diseases and Sciences . 55 (5): 1200–7. doi :10.1007/s10620-009-0886-1 . PMID 19609675 . S2CID 2023416 .
↑ 33.0 33.1 33.2 "Persistent Travelers' Diarrhea" . United States Centers for Disease Control and Prevention. 10 กรกฎาคม 2015. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2016 . Although most cases of travelers' diarrhea are acute and self-limited, a certain percentage of travelers will develop persistent (>14 days) gastrointestinal symptoms ... Parasites as a group are the pathogens most likely to be isolated from patients with persistent diarrhea
↑ 34.0 34.1 Leonard, J; Marshall, JK; Moayyedi, P (กันยายน 2007). "Systematic review of the risk of enteric infection in patients taking acid suppression". The American Journal of Gastroenterology . 102 (9): 2047–56, quiz 2057. doi :10.1111/j.1572-0241.2007.01275.x . PMID 17509031 . S2CID 12326803 .
↑ 35.0 35.1 Elliott, EJ (6 มกราคม 2007). "Acute gastroenteritis in children" . The BMJ . 334 (7583): 35–40. doi :10.1136/bmj.39036.406169.80 . PMC 1764079 . PMID 17204802 .
↑ 36.0 36.1 Escobedo, AA; Almirall, P; Robertson, LJ; Franco, RM; Hanevik, K; Mørch, K; Cimerman, S (October 2010). "Giardiasis: the ever-present threat of a neglected disease". Infectious Disorders Drug Targets . 10 (5): 329–48. doi :10.2174/187152610793180821 . PMID 20701575 .
↑ Grimwood, K; Forbes, DA (ธันวาคม 2009). "Acute and persistent diarrhea". Pediatric Clinics of North America . 56 (6): 1343–61. doi :10.1016/j.pcl.2009.09.004 . PMID 19962025 .
↑ Shane, Andi L; Mody, Rajal K; Crump, John A; Tarr, Phillip I; Steiner, Theodore S; Kotloff, Karen; Langley, Joanne M; Wanke, Christine; Warren, Cirle Alcantara; Cheng, Allen C; Cantey, Joseph; Pickering, Larry K (19 October 2017). "2017 Infectious Diseases Society of America Clinical Practice Guidelines for the Diagnosis and Management of Infectious Diarrhea" . Clinical Infectious Diseases . 65 (12): e45–e80. doi :10.1093/cid/cix669 . PMC 5850553 . PMID 29053792 .
↑ Fedorowicz, Zbys; Jagannath, Vanitha A.; Carter, Ben (2011-09-07). "Antiemetics for reducing vomiting related to acute gastroenteritis in children and adolescents" . Cochrane Database of Systematic Reviews . 130 (9): 270. doi :10.1002/14651858.CD005506.pub5 . ISSN 1469-493X . PMC 6768985 . PMID 21901699 .
↑ Tytgat GN (2007). "Hyoscine butylbromide: a review of its use in the treatment of abdominal cramping and pain". Drugs . 67 (9): 1343–57. doi :10.2165/00003495-200767090-00007 . PMID 17547475 . S2CID 46971321 .
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค ทรัพยากรภายนอก
ไวรัสก่อมะเร็ง ดีเอ็นเอไวรัส :
ไวรัสตับอักเสบ บี (
มะเร็งเซลล์ตับ )
· ฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส (
มะเร็งปากมดลูก ,
มะเร็งทวารหนัก ,
มะเร็งองคชาต ,
มะเร็งปากช่องคลอด ,
มะเร็งช่องคลอด ,
มะเร็งคอหอยส่วนบน )
· KSHV (
Kaposi's sarcoma )
· ไวรัส
เอ็ปสไตน์-บาร์ (
Nasopharyngeal carcinoma ,
Burkitt's lymphoma ,
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกิน ,
Follicular dendritic cell sarcoma ,
Extranodal NK/T-cell lymphoma, nasal type )
· MCPyV (
Merkel-cell carcinoma )
ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ โรคระบบประสาทส่วนกลาง จากไวรัส
โรคหัวใจร่วมหลอดเลือดอักเสบจากไวรัส โรคระบบหายใจจากไวรัส /โรคเยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลัน /ปอดอักเสบจากไวรัส
โรคระบบทางเดินอาหารจากไวรัส
โรคระบบทางเดินปัสสาวะจากไวรัส