Share to:

 

บัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

บัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนาค.ศ. 1874 (การเรียนการสอนครั้งแรก)
ค.ศ. 1936 (ใช้ชื่อหลักอย่างเป็นทางการ)
สถาบันหลักมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
คณบดีซาราห์ วิตทิง (Sarah Whiting)
อาจารย์206 คน
ผู้ศึกษา878 คน
362 คน (สาขาสถาปัตยกรรม)
161 คน (สาขาการวางผังเมือง)
182 คน (สาขาภูมิสถาปัตยกรรม)
173 (ระดับมหาบัณฑิตและสาขาการออกแบบอื่น)
ที่ตั้ง, ,
วิทยาเขตในเขตเมือง
เว็บไซต์gsd.harvard.edu

บัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (หรือย่อ GSD) (อังกฤษ: Harvard Graduate School of Design) เป็นบัณฑิตวิทยาลัยในสาขาการออกแบบของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ตั้งอยู่ใน เคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ วิทยาลัยการออกแบบแห่งนี้เปิดสอนหลักทั้งสาขา สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม การวางผังเมือง การออกแบบผังเมือง อสังหาริมทรัพย์[1] การออกแบบเชิงวิศวกรรม และวิชาการออกแบบอื่น ๆ

ตั้งแต่เปิดการเรียนการสอนมา จีเอสดี มีศิษย์เก่ามากกว่า 13,000 คน และได้ผลิตบุคลากรที่เป็นสถาปนิก นักผังเมือง และภูมิสถาปนิกที่มีชื่อเสียงออกมามากมาย วิทยาลัยการออกแบบนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้นำสถาบันที่ผลิตนักออกแบบชั้นนำของโลก โดยได้ติดอันดับหนึ่งในสิบมาด้วยกันหลายปีซ้อน[2][3]

บัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยังเป็นสถาบันแห่งแรกที่บุกเบิกการสอนในสาขาภูมิสถาปัตยกรรม ในปี ค.ศ. 1893 และยังเป็นวิทยาลัยที่สอนการวางผังเมืองแห่งแรกในทวีปอเมริกาเหนือ ในปี ค.ศ. 1900 โดยสาขาวิชาสถาปัตยกรรม เริ่มสอนขึ้นเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อปี ค.ศ. 1874[4] หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1936 ก็ได้เปิดบัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบขึ้นอย่างเป็นทางการ ภายใต้สามสาขาหลักที่เปิดสอนได้แก่สาขาสถาปัตยกรรม สาขาวิชาผังเมือง และสาขาภูมิสถาปัตยกรรม[5]

ประวัติ

ชาร์ลส์ เอเลียต นอร์ทัน เป็นผู้บุกเบิกการเรียนการสอนสถาปัตยกรรมขึ้นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี ค.ศ. 1874

สาขาสถาปัตยกรรม

ชาร์ลส์ เอเลียต นอร์ทัน (Charles Eliot Norton) ได้เริ่มการสอนวิชาสถาปัตยกรรมขึ้นที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี ค.ศ. 1874[6]

สาขาการวางผังเมือง

ในปี ค.ศ. 1900 เริ่มมีการจัดการเรียนการสอนในสาขาผังเมือง การเรียนการสอนสาขานี้บุกเบิกขึ้นโดย เจมส์ สเตอร์กิส เพรย์ (James Sturgis Pray) โดยในช่วงแรกเขาได้นำหลักสูตรไปเป็นส่วนหนึ่งของภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม ต่อมาในปี ค.ศ. 1923 ได้ทำการแยกหลักสูตรออกจากภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม แต่ยังคงได้รับวุฒิการศึกษาของภูมิสถาปัตยกรรมบัณฑิตอยู่ (Master in Landscape Architecture) จนในปี ค.ศ. 1929 ได้เริ่มเปิดการเรียนการสอนภาควิชาผังเมืองขึ้นอย่างเป็นทางการ และถือเป็นครั้งแรกในทวีปอเมริกาเหนืออีกด้วยที่สอนในระดับบัณฑิตวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนเงินจากมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์ แต่ในปี ค.ศ. 1935 หลักสูตรก็ได้ปิดไป ภายหลังที่ MIT ได้ทำการเปิดหลักสูตรนี้เช่นเดียวกัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1980 หลักสูตรได้ย้ายไปสอนที่ วิทยาลัยการปกครองเคนเนดี มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard Kennedy School of Government) จนกระทั่งได้กลับมาสอนปกติที่บัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบ ในปี ค.ศ. 1984

สาขาภูมิสถาปัตยกรรม

การเรียนการสอนสาขาภูมิสถาปัตยกรรมได้ถูกเสนอให้เปิดเป็นหลักสูตรใหม่เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ด ในปี ค.ศ. 1893 จน 7 ปีต่อมา ก็ได้เริ่มการเรียนการสอนสาขาภูมิสถาปัตยกรรมขึ้นเป็นครั้งแรกโดยเฟรเดอริก ลอว์ ออล์มสเตด จูเนียร์ (บุตรชายของเฟรเดอริก ลอว์ ออล์มสเตด ซึ่งได้รับการยกย่องในเวลาต่อมาให้เป็นบิดาแห่งภูมิสถาปัตยกรรม) และอาร์เทอร์ เอ. เซอร์คลิฟฟ์ (Arthur A. Shurcliff) ซึ่งถือเป็นหลักสูตรบัณฑิตภูมิสถาปัตยกรรมแห่งแรกของโลก สำหรับวิทยาลัยภูมิสถาปัตยกรรมก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1913[7]

ภายหลังการก่อตั้งบัณฑิตวิทยาลัย

วัลเทอร์ โกรพีอุส หนึ่งในบิดาแห่งวงการโมเดิร์น ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมาสเตอร์คนสำคัญคนหนึ่งของการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่

การเรียนการสอนที่ จีเอสดี มีด้วยกันสามสาขาหลัก คือ สถาปัตยกรรม การวางผังเมือง และภูมิสถาปัตยกรรม ซึ่งได้ทำการรวมเป็นบัณฑิตวิทยาลัย ในปี ค.ศ. 1936 โดยใช้ชื่อว่า บัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ต่อมาในปี ค.ศ. 1937 วัลเทอร์ โกรพีอุส สถาปนิกผู้ก่อตั้งเบาเฮาส์ ในประเทศเยอรมนี ซึ่งได้ลี้ภัยนาซีเยอรมนี (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1934) ได้เดินทางเข้ามาร่วมสอนที่มหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ด โดยรับตำแหน่งเป็นคณบดี และได้บุกเบิกการเรียนการสอนแบบออกแบบสมัยใหม่ หรือ โมเดิร์นดีไซน์ โดยได้รับการช่วยปรับหลักสูตรโดย มาแซล บรอย (Marcel Breuer) สถาปนิกและนักออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยร่วมสอนกันที่เบาเฮาส์มาก่อน

โยเซฟ หลุนส์ เซิร์ต (Josep Lluís Sert) สถาปนิกและนักผังเมืองชาวสเปน ได้เข้ามาเปิดหลักสูตรผังเมืองขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1960 ในปี ค.ศ. 1972 อาคารจอร์จกันด์ฮอลล์ (George Gund Hall) ซึ่งเป็นอาคารบัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบ ได้รับการเปิดอย่างเป็นทางการ โดยได้รับการออกแบบโดยจอห์น แอนดรูว์ส สถาปนิกชาวออสเตรเลียและอดีตบัณฑิตจากจีเอสดี ต่อมาทางวิทยาลัยได้เริ่มเปิดแลปด้านสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการประมวลขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาเป็นระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ หรือที่เรียกว่า GIS ระหว่างทศวรรษที่ 1960 ถึง 1970[8][5]

นักศึกษา

ในช่วงปี ค.ศ. 2012-2013 มีบัณฑิตกว่า 878 คน แบ่งเป็นสาขาสถาปัตยกรรม 362 คน หรือราว 42% สาขาภูมิสถาปัตยกรรม 182 คน หรือราว 21% สาขาการวางผังเมือง 161 คน หรือราว 18% และสาขาการออกแบบอื่นรวมถึงมหาบัณฑิตจำนวน 173 คน หรือราว 20% สำหรับอัตราส่วนนักศึกษาแบ่งเป็น นักศึกษาชาวอเมริกันร้อย 65 โดยอายุเฉลี่ยของบัณฑิตอยู่ที่ 27 ปี[9]

ศิษย์เก่าชาวต่างชาติที่มีชื่อเสียง

  • ฟิลิป จอห์นสัน สถาปนิกแนวสมัยใหม่ ผู้ได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ในปี ค.ศ. 1979
  • แฟรงก์ เกห์รี (Frank Gehry) สถาปนิกร่วมสมัย ผู้ได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ในปี ค.ศ. 1989
  • ไอ. เอ็ม. เพ (I. M. Pei) สถาปนิกร่วมสมัย ผู้ได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ในปี ค.ศ. 1983
  • ฟูมิฮิโกะ มากิ (Fumihiko Maki) สถาปนิกร่วมสมัย ผู้ได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ในปี ค.ศ. 1993
  • ทอม เมย์น (Thom Mayne) สถาปนิกร่วมสมัย ผู้ได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ในปี ค.ศ. 2005
  • ฮิเดโอะ ซาซากิ (Hideo Sasaki) ภูมิสถาปนิก ที่มีผลงานด้านงานออกแบบพื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่หลายแห่ง
  • ริชาร์ด แฮก (Richard Haag) ภูมิสถาปนิกมีชื่อเสียงจากการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม หรือพาณิชยกรรมที่ถูกทิ้งร้าง มาเป็นพื้นที่สาธารณะ
  • ชาร์ลส์ เจนค์ส (Charles Jencks) ภูมิสถาปนิกและนักทฤษฎีด้านภูมิสถาปัตยกรรมสมัยใหม่
  • แดน ไคลีย์ (Dan Kiley) ภูมิสถาปนิก เป็นที่รู้จักจากงานภูมิสถาปัตยกรรมที่ใช้คอนเซปต์เชิงปรัชญา
  • แจ็ค แดนเจอร์มอนด์ (Jack Dangermond) ภูมิสถาปนิก นักธุรกิจผู้พัฒนาระบบ GIS ในนามบริษัท Esri จำกัด
  • เอียน แม็กฮาร์จ (Ian McHarg) ภูมิสถาปนิก เป็นที่รู้จักจากการนำ GIS เข้ามาใช้ในงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม ผู้ก่อตั้งภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
  • การ์เร็ตท์ เอ็กค์โบ (Garrett Eckbo) ภูมิสถาปนิก เป็นที่รู้จักจากงานภูมิสถาปัตยกรรมที่ใช้คอนเซปต์จากศิลปะเข้ามาใช้ในการออกแบบ
  • อวี้ข่งเจี้ยน (Kongjian Yu) ภูมิสถาปนิกชาวจีน ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ Turenlandscape ศาสตราจารย์และคณบดีประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
  • ลอว์เลนซ์ ฮาลพริน (Lawrence Halprin) ภูมิสถาปนิกแนวสมัยใหม่
  • ปีเตอร์ วอกเกอร์ (Peter Walker) ภูมิสถาปนิก ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ PWP Landscape Architecture
  • มาร์ธา ชวาร์ตซ์ (Martha Schwartz) ภูมิสถาปนิก เป็นที่รู้จักการใช้ภูมิศิลป์ในงานออกแบบ ผู้ก่อตั้งบริษัท Martha Schwartz Partners

ศิษย์เก่าชาวไทยที่มีชื่อเสียง

  • ศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ อดีตอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[10]
  • ศาสตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภูมิสถาปัตยกรรม) ประจำปี พ.ศ. 2549 ผู้บุกเบิกการเรียนการสอนภูมิสถาปัตยกรรมขึ้นเป็นครั้งในประเทศไทย และผู้ก่อตั้งภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[11]
  • ผศ.ดร.พรพรรณ ฟูตระกูล อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เมธา บุนนาค สถาปนิก และศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ประจำปี พ.ศ. 2555
  • วิชัย ตันตราธิวุฒิ สถาปนิก ผู้ก่อตั้งสำนักสถาปนิกดีไซน์ 501 จำกัด นายกสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประเทศไทย
  • ดร.ดนัย ทายตะคุ ภูมิสถาปนิก นักวิจัยชาวไทยและอาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บุกเบิกการเรียนการสอนภูมินิเวศน์ (Landscape Ecology) คนแรก ๆ ของประเทศไทย[12]
  • ปรีดาพนธ์ บัณฑิตยานนท์ ภูมิสถาปนิก กรรมการผู้จัดการบริษัท ภูมิสถาปนิก 49 จำกัด (L49)[13]
  • สมหวัง ลีวาณิชยกูล ภูมิสถาปนิก ผู้บุกเบิกบริษัทเบล คอลลิน อินเตอร์เนชั่นแนล ในประเทศไทย
  • ศาสตราจารย์ ฉัตรชัย วิริยะไกรกุล สถาปนิก อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.นวณัฐ โอศิริ ภูมิสถาปนิก และอาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[14]
  • วรรณพร พรประภา ภูมิสถาปนิก ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบบริษัท พี แลนด์สเคป จำกัด (P Landscape)[15]
  • ผศ.ปราณิศา บุญค้ำ ภูมิสถาปนิก และอาจารย์ประจำสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิก ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบบริษัท แลนด์โปรเสส จำกัด (Landprocess)[16]
  • ผศ.ภาวิณี อินชมภู ภูมิสถาปนิกและอาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[17]
  • ผศ.ดร.สุภาพิมพ์ คชเสนี อาจารย์ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์[18]
  • ญารินดา บุนนาค นักร้อง นักแสดง พิธีกร และสถาปนิก ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักงานออกแบบ Imaginary Objects (บริษัท อิมเมจินารีออปเจ็กต์ส จำกัด) อาจารย์พิเศษสาขาวิชาการออกแบบ สถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) หรือ INDA[19]
  • ชล ศุภวงศ์ ภูมิสถาปนิก อดีตภูมิสถาปนิกสำนักงานออกแบบ Design Workshop Inc อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบ สถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) หรือ INDA[20]
  • ดร.ชูศักดิ์ จันทร์ปฐมพงศ์ ภูมิสถาปนิก อดีตภูมิสถาปนิกอาวุโสสำนักงานออกแบบ Sasaki Associate Inc. อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[21]
  • อรรถพร คบคงสันติ ภูมิสถาปนิก ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบบริษัท ทร็อพ จำกัด (TROP : Terrains + Open space)[22]
  • ฉัตรพงษ์ ชื่นฤดีมล สถาปนิก ก่อตั้งสำนักงานออกแบบบริษัท ฉัตร จำกัด (CHAT architect)[23]
  • อมตะ หลูไพบูลย์ สถาปนิก ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักงานออกแบบบริษัท ดีพาร์ทเมนต์ออฟอาร์คีเท็คเจอร์ จำกัด (Department of ARCHITECTURE Co.)[24]
  • สมเกียรติ โชควิจิตรกุล ภูมิสถาปนิก ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักงานออกแบบบริษัท แลนด์สเคปคอลลาโบเรชัน จำกัด (Landscape Collaboration)[25]
  • วารัตน์ ลิ่มวิบูลย์ สถาปนิก ภูมิสถาปนิก ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักงานออกแบบบริษัท ภาวะ จำกัด (PAVA)[26]

อ้างอิง

  1. "About - REAL ESTATE and the BUILT ENVIRONMENT". REAL ESTATE and the BUILT ENVIRONMENT (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-18. สืบค้นเมื่อ 2015-11-17.
  2. "The Best US Architecture Schools for 2014 are..." 4 November 2013.
  3. "2013 United States Best Architecture Schools". 21 November 2012.
  4. "Harvard Graduate School of Design". www.gsd.harvard.edu.
  5. 5.0 5.1 "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-08-10. สืบค้นเมื่อ 2014-05-12.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  6. "Harvard University, Graduate School of Design. The GSD History Collection, Administrative Affairs: An Inventory". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-03. สืบค้นเมื่อ 2017-11-22.
  7. Alofsin, Anthony (2002). The Struggle for Modernism: Architecture, Landscape Architecture, and City Planning at Harvard.
  8. [1]. gsd.harvard.edu. Retrieved on 2012-04-03.
  9. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-03-20. สืบค้นเมื่อ 2014-05-12.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  10. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติร่วมกับวิทยาลัยครูเชียงใหม่ และศูนย์วัฒนธรรมประจำจังหวัดต่าง ๆ ภาคเหนือ. (2525). เชิดชูเกียรติ นายไกรศรี นิมมานเหมินท์
  11. ศิลปินแห่งชาติ :: National Artist[ลิงก์เสีย], website:http://art2.culture.go.th/ เก็บถาวร 2020-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. DANAI THAITAKOO, website:http://www.land.arch.chula.ac.th/
  13. Predapond Bandityanond, website:http://www.l49.co.th/
  14. [http://www.land.arch.chula.ac.th/people/navanath-osiri NAVANATH OSIRI], website:http://www.land.arch.chula.ac.th/
  15. วรรณพร พรประภา, website:https://th.hellomagazine.com/
  16. กชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกนักสร้างสวนที่ติดอันดับนิตยสาร TIME, website:https://readthecloud.co/
  17. PAVINEE INCHOMPOO, website:http://www.land.arch.chula.ac.th/
  18. CUURP. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภาพิมพ์ คชเสนี. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564.
  19. สุดยอด!ญารินดาคว้าป.โทฮาร์วาร์ด, website:https://www.posttoday.com/
  20. Chon Supawongse, website:http://cuinda.com/
  21. ชูศักดิ์ จันทร์ปฐมพงศ์, website:http://www.land.arch.chula.ac.th/
  22. Somebody อรรถพร คบคงสันติ, website:https://positioningmag.com/
  23. “สถาปัตยที่ดี…ต้องไม่กระแดะ” ฉัตรพงษ์ ชื่นฤดีมล ผู้ก่อตั้ง CHAT architects เก็บถาวร 2020-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, website:https://lifeandhomemag.com/
  24. อมตะ หลูไพบูลย์ ศิลปินศิลปาธร ปี 2560 เก็บถาวร 2020-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, website:https://ocac.go.th/
  25. Somkiet Chokvijitkul [Boyd], website:http://landscapecollaboration.com/
  26. VARAT LIMWIBUL, website:https://pavaarchitects.com/
Kembali kehalaman sebelumnya