Share to:

 

บุญธรรม ชุมดวง

บุญธรรม ชุมดวง
เลขาธิการพรรคอิสระ
ดำรงตำแหน่ง
15 เมษายน พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 ตุลาคม พ.ศ. 2469
อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
เสียชีวิต10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 (59 ปี)
พรรคการเมืองเสรีมนังคศิลา (2500)
อิสระ (2512–2514)
ชาติไทย (2517–2528)
คู่สมรสวิเวียน ชุมดวง

บุญธรรม ชุมดวง (29 ตุลาคม พ.ศ. 2469 – 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528) เจ้าของสัมปทานป่าไม้ภาคเหนือ[1][2] อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย 4 สมัย อดีตเลขาธิการพรรคอิสระ

ประวัติ

บุญธรรม ชุมดวง เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2469 ที่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นบุตรนายหลู่ และนางจันทร์เป็ง ชุมดวง สมรสกับ นาง วิเวียน ชุมดวง มีบุตร-ธิดา รวม 4 คน คือ

บุญธรรม ชุมดวง ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 สิริอายุรวม 59 ปี

การศึกษา

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2475 กำนันหลู่ ชุมดวง ได้ย้ายครอบครัวไปอยู่ที่อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย เพื่อประกอบกิจการสัมปทานป่าไม้ และบุญธรรม ชุมดวง ก็ได้เรียนหนังสือชั้นประถมที่วัดกลางดง จนจบชั้นประถมปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2480 และได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนสวรรควิทยา จังหวัดสุโขทัย จนกระทั่งมัธยมปีที่ 3 จากนั้นไปเรียนต่อที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อจบการศึกษาจึงได้กลับมาช่วยธุรกิจของครอบครัว[3]

การทำงาน

บุญธรรม ชุมดวง ได้ทำงานช่วยเหลือกิจการของครอบครัว คือ การเป็นตัวแทนบริษัท หลุยซ์ ที เลียวโนเวนส์ (Lois T. Leonowens) ซึ่งได้รับสัมปทานทำป่าไม้สักในภาคเหนือจากรัฐบาลไทย ทำการตัดชักลากไม้สักแทนในเขต 2 จังหวัด คือ สุโขทัยและลำปาง รวมถึงกิจการโรงบ่มใบยาสูบ ที่อำเภอแม่พริก อำเภอห้างฉัตร และอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

บุญธรรม ชุมดวง ดำเนินกิจการของตัวเองโดยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รับเหมาทำป่าไม้สักจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ มีกิจการกว้างขวางบริเวณจังหวัดลำปาง จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก

บุญธรรม เริ่มทำงานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 โดยไม่สังกัดพรรคการเมือง

ในปี พ.ศ. 2512 เขาร่วมกับ โกศล ไกรฤกษ์ บุญเลิศ ชินวัตร และ สมพงษ์ อยู่หุ่น ก่อตั้งพรรคอิสระ ขึ้นโดยเขารับตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค[4] และนำสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 ได้ ส.ส. จำนวน 17 ที่นั่ง และเขาก็ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สุโขทัย เป็นสมัยที่ 3 เช่นเดียวกัน

หลังเกตุการณ์ 14 ตุลา บุญธรรมได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคชาติไทย ของประมาณ อดิเรกสาร แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518[5] ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (บุญเท่ง ทองสวัสดิ์)[1] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 ปิดฉากชีวิตมือปราบ "สล้าง บุนนาค" เหรียญตราและบาดแผล
  2. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/793716
  3. บุญธรรม ชุมดวง โรงพิมพ์วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง
  5. แค่เฉียด 6 ตุลา? ส่องชีวิต “สล้าง” เติบใหญ่ใต้เงา “ขวาจัด"
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๗ ง หน้า ๑๓๙, ๑๔ มกราคม ๒๕๒๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘๐๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
Kembali kehalaman sebelumnya