จังหวัดสุโขทัย
สุโขทัย เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ในภาคกลางตอนบน หรือบางที่จัดเป็นภาคเหนือตอนล่าง มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก และลำปาง (เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านเหนือ) มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือแม่น้ำยม เป็นที่ตั้งอาณาจักรของชนชาติไทยเมื่อกว่า 700 ปีที่ผ่านมา คำว่า "สุโขทัย" มาจากคำสองคำคือ "สุข+อุทัย" มีความหมายว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข " ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นในพื้นที่ของจังหวัดสุโขทัยปัจจุบัน ในอดีตเป็นที่ตั้งของรัฐหนึ่งที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ ต่อมาเมื่อจักรวรรดิขแมร์และอาณาจักรพุกามเสื่อมอำนาจ ทำให้เกิดรัฐใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาไล่เลี่ยกัน ราว พ.ศ. 1782 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพงเป็นผลสำเร็จ และได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย โดยพ่อขุนบางกลางหาวราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สุโขทัยพระองค์แรกของอาณาจักรสุโขทัย ในรัชกาลต่อมา พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 1782 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง โดยพระองค์มีพระเชษฐา 2 พระองค์และพระขนิษฐา 2 พระองค์ พระเชษฐาพระองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหงยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาพระองค์ที่สองทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า "พระยาบานเมือง" ซึ่งได้เสวยราชสมบัติต่อจากพระบรมชนกนาถ และเมื่อพ่อขุนบานเมืองได้เสด็จสวรรคตแล้ว พ่อขุนรามคำแหงจึงเสวยราชสมบัติต่อมา พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยหรือตัวหนังสือไทยขึ้นเมื่อมหาศักราช ๑๒๐๕ ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีข้อความปรากฎว่า “เมื่อก่อนลานสืไทนี๋บ่มี ๑๒๐๕ สก ปีมแมพ่ขุนรามคํแหงหาใคร่ใจในใจแล่ใศ่ลายสืไทนี๋ สายสืไทนี๋ จี่งมีเพื่อขุนผู๋น๋นนใศ่ไว๋” หา แปลว่า ด้วยตนเอง (ไทยขาวยังใช้อยู่) ใคร่ในใจ แปลว่า คำนึงในใจ (จากพจนานุกรมไทยอาหม) ข้อความที่อ้างถึงแสดงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยแบบที่จารึกไว้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ ในจารึกในที่นี้เป็นภาษาในการจารึกเพื่อปริวรรตขึ้นมาใช้ในทางด้านการจารึก แต่เราไม่สามารถทราบถึง การพูดการจา หรือสำเนียงในสมัยสุโขทัยได้เลยว่าเขาพูดจากันอย่างไร มีเพียงข้อสันนิษฐานของทาง ศูนย์มามนุษยวิทยาสิรินเจได้ปริวรรตอักษรไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 - 20 ซึ่งช่วงต้นนั้นตรงกับสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้นเอง หลังจากประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายในและการแทรกแซงจากอยุธยา ต่อมาอาณาจักรสุโขทัยถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด[3] ในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สุโขทัยถูกกำหนดให้เป็นหัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร มีการกำหนดเป็นเมืองเอก โท หรือตรี ตามลำดับความสำคัญ ภายหลังการเสียกรุงครั้งที่หนึ่งและหลังประกาศอิสรภาพ และหลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวหัวเมืองเหนือทั้งปวง (เมืองพระพิษณุโลกสองแคว เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิจิตร และเมืองพระบาง) ลงมาไว้ที่อยุธยาเพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ ผ่านไป 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ และเปลี่ยนสุโขทัยจากหัวเมืองชั้นนอก เป็นหัวเมืองชั้นโท คือเมืองพระยามหานครที่มีความสำคัญรองลงมา มีอยู่ 6 หัวเมือง ทางเหนือมีสวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ เพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง สุโขทัยยังคงมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นโทจนถึงต้นสมัยรัตนโกสินทร์[ต้องการอ้างอิง] ยุคมณฑลเทศาภิบาลถึงปัจจุบันจนกระทั่งยุครัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2437 ทรงยกเลิกระบบกินเมืองและระบบหัวเมืองแบบเก่า และกำหนดให้ใช้ระบบมณฑลเทศาภิบาล โดยจัดการปกครองส่วนภูมิภาคขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย เป็นมณฑล เมือง อำเภอ หมู่บ้าน ทำให้บริเวณที่เป็นจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน มีการจัดตั้งเมืองในระบบมณฑลเทศาภิบาลอยู่ด้วยกัน 2 แห่ง ภายใต้การปกครองของมณฑลพิษณุโลก ได้แก่ เมืองสวรรคโลก ซึ่งครอบคลุมส่วนเหนือของจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน และ เมืองศุโขทัย (ตามการสะกดเดิม) ซึ่งครอบคลุมส่วนใต้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลัง พ.ศ. 2459 คำว่า "จังหวัด" ได้กลายเป็นคำที่เรียกหน่วยการปกครองระดับต่ำกว่ามณฑลแทนคำว่า "เมือง" เพื่อแยกความกำกวมจากคำว่าเมืองที่ใช้เรียกที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด (อำเภอเมือง) ทำให้เมืองศุโขทัยและเมืองสวรรคโลกเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น จังหวัดศุโขทัย และ จังหวัดสวรรคโลก ตามลำดับ[4] ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2460 จังหวัดศุโขทัยแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 1 กิ่ง ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่[4]
ส่วนจังหวัดสวรรคโลกแบ่งออกเป็น 2 อำเภอ ได้แก่[4]
ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการยุบเลิกบางมณฑลและบางจังหวัด โดยยุบเลิกจังหวัดสุโขทัยและรวมท้องที่อำเภอสุโขทัยธานี อำเภอบ้านไกร อำเภอคลองตาล กิ่งอำเภอลานหอย กิ่งอำเภอโตนด เข้าไว้ในการปกครองของจังหวัดสวรรคโลก[5] ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476 ขึ้น ทำให้มณฑลทั้งหมดถูกล้มเลิกไป จังหวัดจึงกลายเป็นเขตการปกครองระดับสูงที่สุดของประเทศไทย ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482 มีการย้ายศาลากลางจังหวัดสวรรคโลกมาตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอสุโขทัยธานี และเปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัดสวรรคโลกเป็น จังหวัดสุโขทัย รวมทั้งเปลี่ยนชื่ออำเภอสุโขทัยธานี เป็นอำเภอเมืองสุโขทัย และอำเภอเมืองสวรรคโลก เป็นอำเภอสวรรคโลก[6] ภูมิศาสตร์ตามการแบ่งจังหวัดเป็นภาคโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติและราชบัณฑิตยสภา จังหวัดสุโขทัยตั้งอยู่ในภาคกลาง บริเวณตอนบนของภาค หากแบ่งเขตตามการพยากรณ์อากาศและเศรษฐกิจ สังคม จะจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานครตามระยะทางหลวงแผ่นดินประมาณ 440 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ภูมิประเทศพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสุโขทัยจะเป็นที่ราบลุ่ม ทางตอนเหนือและตอนใต้ของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีเขาหลวงเป็นภูเขาที่มีความสูงที่สุด วัดจากระดับน้ำทะเลมีความสูงประมาณ 1,200 เมตร โดยมีแนวภูเขายาวเป็นพืดทางด้านทิศตะวันตก ส่วนพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดจะเป็นที่ราบ มีแม่น้ำยมไหลผ่านจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ผ่านอำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอเมืองสุโขทัย และอำเภอกงไกรลาศ ช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดสุโขทัยยาวประมาณ 170 กิโลเมตร[7] ภูมิอากาศจังหวัดสุโขทัยตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งลึกเข้ามาในแผ่นดิน จึงมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง เกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 27.9 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อนอากาศร้อนอบอ้าว อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33.8 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนที่สุดอยู่ในเดือนเมษายน ซึ่งเคยตรวจอุณหภูมิสูงที่สุดได้ 44.5 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 ส่วนในฤดูหนาวอากาศมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23.0 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศหนาวที่สุดอยู่ในเดือนมกราคม ซึ่งเคยตรวจอุณหภูมิต่ำที่สุดได้ 5.5 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2517[8][9]
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
การเมืองการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคการปกครองของสุโขทัยแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ, 86 ตำบล, 843 หมู่บ้าน
ทำเนียบเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย
รายชื่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
การปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่บริหารทั้งพื้นที่ของจังหวัดสุโขทัย คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย และมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับพื้นฐาน 90 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลเมือง 3 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย เทศบาลเมืองสวรรคโลก และเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี, เทศบาลตำบล 18 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 69 แห่ง[15]
การขนส่งทางถนนจังหวัดสุโขทัยมีระยะห่างจากกรุงเทพมหานครอยู่ประมาณ 427 กม. มีทางหลวงสายสำคัญที่ตัดผ่าน ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ซึ่งเป็นถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมต่อกับจังหวัดตากและจังหวัดพิษณุโลก, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 เชื่อมต่อกับจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดแพร่, และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102 เชื่อมต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์ สามารถเดินทางได้ด้วย รถส่วนตัวและรถสาธารณะ เช่น รถทัวร์ รถประจำทาง รถตู้ สามารถขึ้นได้ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุโขทัย และจุดจอดรับทั่วจังหวัดในแต่ละอำเภอ ทางรางในสุโขทัย มีสถานีรถไฟ 2 แห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก และสถานีรถไฟคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร โดยเป็นทางรถไฟสายรองที่แยกออกจากเส้นทางรถไฟสายเหนือจาก สถานีชุมทางบ้านดารา ปัจจุบันมีเพียงขบวนเดียวที่เข้าออกเส้นทางสายนี้ คือ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 405/406 ศิลาอาสน์-สวรรคโลก-ศิลาอาสน์ โดยคาดว่าในอนาคตจะมีรถไฟความเร็วสูงสายเหนือตัดผ่านจังหวัดสุโขทัย โดยมีสถานี 2 แห่งที่ตั้งในจังหวัด ได้แก่ สถานีรถไฟความเร็วสูงสุโขทัย และสถานีรถไฟความเร็วสูงศรีสัชนาลัย[16] ทางอากาศมี ท่าอากาศยานสุโขทัย หรือ สนามบินสุโขทัย ตั้งอยู่ในเขต 3 ตำบล คือ ต.ท่าทอง ต.คลองกระจง และ ต.ย่านยาว อ.สวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ให้บริการโดย บางกอกแอร์เวย์ส ของ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด โดยมีเส้นทางคือ กรุงเทพ/สุวรรณภูมิ-สุโขทัย 4 เที่ยวทุกวัน[17] ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
การศึกษาดูบทความหลักที่:รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสุโขทัย สถานศึกษาในจังหวัดสุโขทัยมีทั้งหมด 371 แห่ง แบ่งได้ดังนี้
*สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุโขทัย แบ่งเป็นสองเขต ดูบทความหลักที่:รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสุโขทัย* โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอเมืองสุโขทัย : โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม (โรงเรียนประจำจังหวัดสุโขทัย), โรงเรียนอุดมดรุณี (โรงเรียนประจำจังหวัดสุโขทัย (หญิง)) บ้านด่านลานหอย : โรงเรียนบ้านด่านล่านหอยวิทยา ศรีสำโรง : โรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์ คีรีมาศ : โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม สวรรคโลก : โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา (โรงเรียนประจำจังหวัดสุโขทัย) กงไกรลาศ : โรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ศรีนคร : โรงเรียนศรีนคร ศรีสัชนาลัย : โรงเรียนเมืองเชลียงวิทยา ทุ่งเสลี่ยม : โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์
ระดับอุดมศึกษา
สาธารณสุขจังหวัดสุโขทัยมีโรงพยาบาลอยู่กระจายทั่วจังหวัด โดยมีโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วไปหรือโรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่ อยู่สองแห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสุโขทัย (โรงพยาบาลประจำจังหวัด) และโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย (โรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่) และโรงพยาบาลขนาดอื่น ๆ อีก 130 แห่ง[24] โรงพยาบาลประจำอำเภอ
โรงพยาบาลเอกชน
เศรษฐกิจจังหวัดสุโขทัยเป็นจังหวัดขนาดกลาง มีประชากรอยู่ทั้งหมด 585,352 คน เป็นลำดับที่ 43 ของประเทศไทย ความหนาแน่น 88.74 คนต่อตารางกิโลเมตร มีจำนวนแรงงานทั้งสิ้น 336,555 คน มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดทั้งหมด 47,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.3 ของประเทศไทย ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว 77,681 บาทต่อปี หรือ 6,473 บาทต่อเดือน[25] โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดสุโขทัยแบ่งเป็นภาคบริการ 53%, ภาคเกษตร 35% และภาคอุตสาหกรรม 12% ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ สินค้าเกษตรพืชเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การบริการ และการใช้จ่ายภาครัฐ โดยมีการลงทุนจากภาครัฐประมาณ 3,253 ล้านบาทต่อปี[26] การท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัยมีนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งสิ้น 926,877 คน แบ่งเป็นจากในประเทศ 850,448 คน และจากต่างประเทศ 76,429 คน โดยทำรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด 2,047 ล้านบาท ส่วนมากมีจุดหมายปลายทางที่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย[27]
งานเทศกาลและประเพณีในจังหวัดสุโขทัยจะจัดขึ้นช่วงปลายเดือนตุลาคม ถึง เดือนพฤศจิกายนของทุกๆปี ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อ.เมืองสุโขทัย โดยจะมีกิจกรรมการจัดตลาดปสาน, การประกวดนางนพมาศ, การแสดงนาฏศิลป์ไทย, ลอยกระทง และยังมีการแสดงพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ของทุกวันตลอดการจัดงาน งานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮงจัดขึ้นในวันที่ 18-19เมษายนของทุกปี ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์เจ้าพ่อ เมืองด้ง ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย การจัดงานจัดขึ้นเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชู “หมื่นนคร” หรือ “เจ้าพ่อเมืองด้ง” ผู้สร้างเมืองด้ง งานหมากม่วงหมากปรางและงานของดีศรีสวรรคโลกจัดขึ้นระหว่าง เดือนมีนาคม ถึง เดือนเมษายน ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอสวรรคโลก อ.สวรรคโลก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะมะม่วง มะปราง ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงและมีผลผลิตเป็นจำนวนมากของอำเภอสวรรคโลก งานประเพณีสงกรานต์และเทศกาลอาหารเมืองสวรรคโลกจัดขึ้นทุกวันที่ 11-15 เมษายน ของทุกปี ไหว้พระ 3 ฤทธิ์ จัดขึ้นเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีอันดีงามให้แก่ประชาชน ส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองสวรรคโลก ณ สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอสวรรคโลก งานวันพิชิตยอดเขาหลวงเป็นงานประจำปีที่จังหวัดสุโขทัยจัดให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป ได้เดินทางขึ้นสู่ยอดเขาหลวงในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง อำเภอคีรีมาศ งานสักการะพระแม่ย่าเป็นงานจัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม มีมัจฉากาชาด เดินแบบแฟชั่นการกุศล ร่วมสักการะพระแม่ย่า และมีมหรสพและอาหารชื่อดังทั่วประเทศ งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจัดขึ้นในช่วง 17-19 มกราคม ของทุกปีที่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีการแสดงแสงสีเสียง ประกวดลูกหลานพ่อขุน ตลาดโบราณ งานแห่ช้างบวชนาคไทยพวน หาดเสี้ยวจัดขึ้นในวันที่ 7 เมษายน ของทุกปี ที่วัดหาดเสี้ยว ต.หาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย ภายในงานมีแห่ช้างข้ามลำน้ำยม มีบรรพชาอุปสมบท และการแสดงพื้นบ้าน ผู้มีชื่อเสียงที่เกิดในจังหวัดสุโขทัยวงการบันเทิง
วงการการเมือง
วงการกีฬา
พระภิกษุสงฆ์/สามเณร
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สุโขทัย 17°01′N 99°45′E / 17.01°N 99.75°E
|