ประพจน์ อัศววิรุฬหการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประพจน์ อัศววิรุฬหการ เป็น กรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา,กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา[1] นักวิชาการ นักภาษาศาสตร์ และ นักอักษรศาสตร์ชาวไทย ประวัติผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ เกิดที่ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณคดีบาลีและภาษาสันสกฤต พระไตรปิฎกฉบับภาษาจีน และพระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็น กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2] ประวัติการศึกษา
ความชำนาญพิเศษพระพุทธศาสนา เถรวาท, พระพุทธศาสนามหายาน, ภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤต, พระไตรปิฎกภาษาจีน, พระพุทธศาสนาในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้, อิทธิพลความเชื่อทางศาสนาและปรัชญาในอินเดียที่มีต่อวรรณคดีไทย ผลงานทางวิชาการผลงานที่สร้างชื่อให้ดร.ประพจน์เล่มแรกก็คือวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ที่นำเสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช โดยอธิบายอย่างละเอียดถึงความต่างระหว่างพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์ของฝ่ายเถรวาทและมหายาน หลังจากนั้นก็มีผลงานทางพระพุทธศาสนาที่เขียนขึ้นต่อยอดงานวิจัยอื่นๆ หลายเรื่อง วิทยานิพนธ์ที่นำเสนอต่อมหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์ในระดับปริญญาเอก ชื่อ "The Ascendency of Theravada Buddhism in Southeast Asia" นั้นเป็นงานที่น่าสนใจมากเพราะได้นำเอาประเด็น สุวรรณภูมิ มาวิเคราะห์อย่างละเอียด วิทยานิพนธ์เล่มนี้ เป็นการวิเคราะห์สุวรรณภูมิของนักภาษาและวรรณคดีบาลีและสันสกฤตเล่มแรกของไทยที่เขียนอย่างละเอียด โดยผู้วิจัยตรวจสอบทั้งหลักฐานที่อ้างถึงสุวรรณภูมิในภาษาบาลี, สันสกฤต, บันทึกประวัติศาสตร์ในภาษาจีน, หลักฐานทางโบราณคดี, หลักฐานจารึกและหลักฐานจากกรีกและอื่นๆ มาร่วมวิเคราะห์อีกมาก
เกียรติภูมิผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์เป็นหนึ่งในนักวิชาการด้านพุทธศาสน์ศึกษาในยุคใหม่ของไทยไม่กี่คนที่ทำงานได้ระดับนานาชาติ เน้นผลิตงานต่อยอด ดังนั้น จึงเป็นนักวิชาการที่ได้รับการจับตามองมากที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย ผลงานของอาจารย์ประพจน์แม้จะมีไม่มาก แต่เน้นคุณภาพ ทั้งได้ทำงานวิจัยร่วมงานกับ ดร. ปีเตอร์ สกิลลิง อยู่เป็นประจำ ได้เป็นหนึ่งในกรรมการประสานงานเพื่อความร่วมมือด้านการจัดการเรียนการสอนวิชาว่าด้วยพุทธธรรม หรือวงการพุทธศาสน์ศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยเมืองไทย 6 สถาบันกับศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา ของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดด้วย รางวัลบุคคลดีเด่นสถาบันขงจื้อ การทำงาน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|