Share to:

 

ปรีชา สุวรรณทัต

ปรีชา สุวรรณทัต
คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2527 – พ.ศ. 2529
ก่อนหน้าเกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์
ถัดไปพนัส ทัศนียานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2480 (87 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2543–ปัจจุบัน)

ศาสตราจารย์พิเศษ ปรีชา สุวรรณทัต (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2480) เป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขากฎหมายมหาชน[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.)[2] และยังเป็น "กูรูกฎหมายการเงินการคลัง"[3]

ประวัติ

ศ.พิเศษ ปรีชา สุวรรณทัต สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2505 และปริญญาเอก ทางกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยนีช ประเทศฝรั่งเศส ศ.พิเศษ ปรีชา สุวรรณทัต มีอายุครบ 80 ปี ในปี 2560 และได้มีการจัดทำหนังสืออาจาริยบูชา 80 ปี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต โดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[4][5]

การทำงาน

ด้านวิชาการ

ศ.พิเศษ ปรีชา สุวรรณทัต เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งคณบดี ในปี 2527 และเป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2529 กระทั่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายปรีชา สุวรรณทัต อาจารย์พิเศษ สังกัดคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชากฎหมายมหาชน สังกัดคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[6] ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557

ด้านการเมือง

ศ.พิเศษ ปรีชา สุวรรณทัต เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 4 (เขตพระโขนง, เขตลาดกระบัง และเขตประเวศ) และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก พร้อมกับ สาวิตต์ โพธิวิหค และ อรรคพล สรสุชาติ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 แต่ในปี 2538 แพ้ให้กับพรรคพลังธรรม และพรรคประชากรไทย

ศ.พิเศษ ปรีชา สุวรรณทัต ได้รับเลือกอีกครั้งในเขตเลือกตั้งเดิม ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ร่วมกับ อรรคพล สรสุชาติ และ วิชัย ตันศิริ และในเการเลือกตั้งครั้งถัดมา การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ศ.พิเศษ ปรีชา ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 36 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งในครั้งแรก ต่อมาได้เลื่อนขึ้นมาแทน ส.ส.ที่ลาออก[7]

ต่อมา ศ.พิเศษ ปรีชา สุวรรณทัต ได้วางมือทางการเมืองและเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชากฎหมาย[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. โปรดเกล้าฯ 'ปรีชา สุวรรณทัต' เป็นศาสตราจารย์พิเศษ
  2. ศึกสายเลือดฟ้องบันลือโลก รวมคดีชิงอภิมหึมา 'มรดก'
  3. เปิดช่องลอด ม.143 ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ฉลุยหรือโมฆะ
  4. คณะกรรมการจัดทำหนังสืออาจาริยบูชา 80 ปี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต ; สุปรียา แก้วละเอียด, บรรณาธิการ. อาจาริยบูชา 80 ปี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต. กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561
  5. อาจาริยบูชา...๘๐ ปี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัตจาก แนวหน้า คอลัมภ์ ปรีชาทัศน์ วันศุกร์ ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2561
  6. 6.0 6.1 มุมข้าราชการ 13/06/58 จาก ไทยรัฐ
  7. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗๗, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
Kembali kehalaman sebelumnya