Share to:

 

ปลดแอก คนย่ำคน

ปลดแอก คนย่ำคน
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับสตีฟ แมคควีน
บทภาพยนตร์จอห์น ริดลีย์
สร้างจากTwelve Years a Slave
โดย โซโลมอน นอร์ธัป
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพฌอน บอบบิต
ตัดต่อโจ วอล์กเกอร์
ดนตรีประกอบฮันส์ ซิมเมอร์
บริษัทผู้สร้าง
  • Regency Enterprises
  • River Road Entertainment
  • Plan B Entertainment
  • New Regency
  • Film4 Productions
ผู้จัดจำหน่ายFox Searchlight Pictures
(สหรัฐอเมริกา)
Entertainment One
Summit Entertainment
(สหราชอาณาจักร)
วันฉาย30 สิงหาคม 2013
(เทศกาลภาพยนตร์เทลลูไรด์)
8 พฤศจิกายน 2013
(สหรัฐอเมริกา)
10 มกราคม 2014
(สหราชอาณาจักร)
ความยาว134 นาที[1]
ประเทศ
  • สหรัฐอเมริกา
  • สหราชอาณาจักร
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
ทำเงิน187.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

ปลดแอก คนย่ำคน (อังกฤษ: 12 Years a Slave) เป็นภาพยนตร์อังกฤษ/อเมริกันแนวดรามาประวัติศาสตร์ ดัดแปลงจากอัตชีวประวัติชื่อเดียวกัน (ชื่อภาษาไทยคือ "ฤๅสิ้นสุดมนุษยภาพ") ในปี ค.ศ. 1853 แต่งโดยโซโลมอน นอร์ธัป เสรีชนชาวนิวยอร์กผู้ถูกลักพาตัวในวอชิงตันดีซีในปี ค.ศ. 1841 และถูกขายเป็นทาส ต้องทำงานในโรงฝ้ายในรัฐลุยเซียนาเป็นเวลาสิบสองปีกว่าจะได้รับอิสรภาพ อัตชีวประวัติของนอร์ธัปที่เป็นวิชาการฉบับแรกได้รับการตรวจแก้โดยซู อีคินและโจเซฟ ล็อกส์ดอนในปี ค.ศ. 1968 โดยเทียบเคียงและปะติดปะต่อเนื้อหาให้มีความถูกต้องสมบูรณ์[4]

ภาพยนตร์นี้เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สามที่สตีฟ แม็กควีน เป็นผู้กำกับ โดยมีจอห์น ริดลีย์ เป็นผู้เขียนบท และชูอิเทล เอจิโอฟอร์แสดงเป็นโซโลมอน นอร์ธัป และมีนักแสดงสมทบคือไมเคิล ฟาสเบนเดอร์, เบเนดิกต์ คัมเบอร์แบทช์, พอล ดาโน, พอล เจียมัตติ, ลูพีตา ญองอ, ซาร่า พอลสัน, แบรด พิตต์ และอัลเฟร วูดดาร์ต ภาพยนตร์ถ่ายทำในนิวออร์ลีน รัฐลุยเซียนา ตั้งแต่ 27 มิถุนายนถึง 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ด้วยงบ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเลือกถ่ายทำในสถานที่ปลูกฝ้ายในประวัติศาสตร์สี่แห่ง คือเฟลิซิตี แม็กโนเลีย โบเคจ และเดสเตรฮาน ซึ่งในบรรดาทั้งสี่ที่นี้ แม็กโนเลียเป็นที่ที่ใกล้กับสถานที่ปลูกฝ้ายที่โซโลมอนถูกขังมากที่สุด

เมื่อภาพยนตร์ออกฉายในปี พ.ศ. 2556 ภาพยนตร์ได้รับเสียงตอบรับแง่บวกอย่างล้นหลาม และได้รับการขนานนามว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดแห่งปีในสื่อหลายสำนัก รวมทั้งประสบความสำเร็จในด้านรายได้ที่ทำรายได้กว่า 159 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากงบเพียง 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2557 ภาพยนตร์ได้รับรางวัลออสการ์สามรางวัล ได้แก่ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เป็นภาพยนตร์ที่มีผู้กำกับหรือโปรดิวเซอร์ผิวดำเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลดังกล่าว[5][6]), สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (สำหรับลูปิตา ยองโง) และสาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (สำหรับจอห์น ริดลีย์) นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลลูกโลกทองคำ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประเภทภาพยนตร์ดรามาและรางวัลบาฟต้าสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (สำหรับชูอิเทล เอจิโอฟอร์)[7]

เนื้อเรื่อง

ในปี ค.ศ. 1841 โซโลมอน นอร์ธัป (ชูอิเทล เอจิโอฟอร์) เป็นเสรีชนชาวแอฟริกันอเมริกัน ทำงานเป็นช่างไม้และมือเล่นไวโอลินผู้มีฝืมือ อาศัยอยู่กับภรรยาและบุตรสองคนที่ซาราโตกาสปริงส์ รัฐนิวยอร์ก ต่อมามีชายสองคน (สก็อต แม็กไนรีย์และทาราน คินเลียม) เสนองานเป็นนักดนตรีเป็นเวลาสองสัปดาห์กับโซโลมอน แต่กลับลากเขาไปจนโซโลมอนสลบ เมื่อตื่นขึ้นมาก็พบว่าตัวเองติดโซ่ตรวนกำลังจะถูกขายเป็นทาสในอีกไม่ช้า โซโลมอนถูกส่งไปนิวออร์ลีนในชื่อ "แพล็ต" ในฐานะทาสผู้หลบหนีจากจอร์เจีย หลังจากถูกรุมทำร้ายอยู่เนือง ๆ เจ้าของโรงฝ้ายชื่อวิลเลียม ฟอร์ด (เบเนดิกต์ คัมเบอร์แบทช์) ซื้อเขาไป โซโลมอนกับวิลเลียมซึ่งเป็นนายผู้ใจบุญอยู่ด้วยกันได้ดี โดยโซโลมอนได้ทำทางน้ำให้การขนส่งท่อนซุงในหนองบึงเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด วิลเลียมให้ไวโอลินแก่โซโลมอนเพื่อเป็นการตอบแทน แต่ช่างไม้ชื่อจอห์น ทิบีตส์ (พอล ดาโน) ไม่พอใจและเริ่มคุกคามฟอร์ดด้วยคำพูดต่าง ๆ

เหตุการณ์ระหว่าทิบีตส์และนอร์ธัปเริ่มรุนแรงขึ้น ทิบีตส์เริ่มทำร้ายนอร์ธัป นอร์ธัปสู้กลับ เพื่อเป็นการแก้แค้นทิบีตส์และเพื่อนของเขาทำร้าย นอร์ธัป โดยการแขวนคอ ให้ยืนด้วยนิ้วเท้านานหลายชั่วโมง ฟอร์ดอธิบายว่าเพื่อให้นอร์ธัปปลอดภัย นอร์ธัปต้องถูกขายให้กับเอ็ดวิน เอปส์ (ไมเคิล ฟาสเบนเดอร์) นอร์ธัปพยายามอธิบายว่าเขาเป็นเสรีชน แต่ฟอร์ดปฏิเสธที่จะรับฟังโดยอ้างว่าเขามีหนี้ต้องชำระในการซื้อนอร์ธัปมา เมื่อนอร์ธัปไปอยู่กับเอปส์ เอปส์เชื่อว่าตามพระคัมภีร์สามารถลงคนเป็นทาสและทำร้ายทาสได้ ทาสทุกคนต้องเก็บฝ้ายให้ได้สองร้อยปอนด์ทุกวัน มิเช่นนั้นจะถูกทำร้าย ทาสหญิงชื่อแพตซี (ลูพีตา ญองอ) ผู้เก็บฝ้ายได้มากกว่าห้าร้อยปอนด์ต่อวันได้รับคำชมอย่างมาก ในขณะที่เอปส์ก็ข่มขืนเธออยู่บ่อยครั้งและดูเหมือนจะหลงรักเธอเกินกว่าจะรู้ผิดชอบ ภรรยาของเอปส์ (ซาราห์ พอลสัน) ซึ่งอิจฉาแพตซีอยู่แล้วก็เริ่มทำให้แพตซีขมขื่นรวมทั้งทำร้ายเธอด้วย เหตุการณ์ยิ่งร้ายลง ทำให้แพตซีอยากตายและขอให้นอร์ธัปฆ่าเธอ นอร์ธัปปฏิเสธ

ต่อมาเกิดเหตุโรคระบาดในต้นฝ้ายทำให้โรงฝ้ายของเอปส์ไม่ได้ผลผลตเท่าที่ควร เอปส์เห็นว่าเป็นความผิดของทาสที่มาใหม่ผู้เป็นโรคระบาดจากพระเจ้า เอปส์จึงให้เจ้าของโรงฝ้ายใกล้กันเช่าตัวนอร์ธัปไปตลอดฤดู เขาได้รับความเชื่อมั่นจากเจ้าของโรงฝ้ายใหม่ผู้ยอมให้เขาเล่นซอในงานฉลองครบรอบแต่งงานของเพื่อนบ้าน และเก็บค่าจ้างไว้เอง เมื่อเขากลับมาที่โรงนาของเอปส์ เขาพยายามให้เงินกับอาร์มสบี (การ์เรต ดิลลาฮันท์) คนงานผิวขาวและอดีตผู้ดูแลโรงนาให้ส่งจดหมายไปให้เพื่อนนอร์ธัปที่นิวยอร์ก อาร์มสบีรับว่าจะส่งจดหมายให้และเอาเงินไป แต่กลับหักหลังนอร์ธัป นอร์ธัปแก้ตัวกับเอปส์ไปได้อย่างหวุดหวิดว่าเรื่องจดหมายไม่ใช่เรื่องจริง และต่อมาได้เผาจดหมายสู่อิสรภาพทิ้งทั้งน้ำตา นอร์ธัปเริ่มทำงานสร้างศาลาสวนกับกรรมกรชาวแคนาดาชื่อบาส (แบรด พิตต์) บาสพูดถึงความไม่เห็นด้วยในระบบทาสกับเอปส์ว่า เอปส์ไม่ได้สนใจคนที่ทำงานให้เขาเลย กลับมองเป็นสมบัติชิ้นหนึ่ง ทำให้เอปส์ไม่พอใจอย่างยิ่ง

วันหนึ่งเอปส์โกรธที่พบว่าแพตซีหายไปจากโรงฝ้าย แพตซีกลับมาและบอกว่าไปเอาสบู่จากคุณนายชอว์ (อัลเฟร วูดดาร์ต) เนื่องจากตัวเองไม่สบายเพราะมีกลิ่นเหม็นที่ตัวและแมรี เอปส์ไม่ยอมให้สบู่ เอปส์ไม่เชื่อเรื่องนี้และให้เธอถอดเสื้อผ้ามัดกับเสา เอปส์สั่งให้นอร์ธัปโบยแพตซีตามคำยุของภรรยา นอร์ธัปทำแบบไม่รุนแรง ทำให้เอปส์เอาโบยมาเองจนทำให้แพตซีบาดเจ็บสาหัส นอร์ธัปพังไวโอลินหลังจากนั้น และในขณะที่กำลังสร้างศาลาสวน เขาถามบาสว่ามาจากที่ไหน บาสตอบว่าแคนาดา นอร์ธัปจึงสารภาพเรื่องที่เขาถูกลักพาตัวและขอให้บาสนำจดหมายไปส่งที่ซาราโตกาสปริงส์อีกครั้ง บาสบอกว่าเขาเสี่ยงชีวิตที่จะทำงานนี้ แต่จะจัดการส่งให้ หลังจากนั้นไม่นานนายอำเภอมากับชายคนหนึ่งมาตามหานอร์ธัป นายอำเภอถามคำถามชุดหนึ่งเพื่อยืนยันชีวิตความเป็นอยู่ในนิวยอร์กของเขา เขาจำได้ว่าคนที่ตามมาด้วยคือผู้ติดตามของนายอำเภอที่เคยเจอที่ซาราโตกา และนายอำเภอมาเพื่อปลดปล่อยเขา ทั้งสองสวมกอดกันและรีบเดินทางไปจากที่นั่นทันที เป็นที่เกรี้ยวกราดแก่เอปส์และเป็นที่ไม่พอใจของแพตซี หลังจากเป็นทาสมาสิบสองปีนอร์ธัปได้กลับคืนความเป็นไทอีกครั้ง ตอนที่เขาเดินเข้าบ้านเขาพบครอบครัวของเขา รวมถึงลูกสาวที่มีหลานชายชื่อเดียวกับเขา ในฉากจบมีการพูดถึงว่านอร์ธัปและที่ปรึกษากฎหมายของเขาไม่สามารถจะนำคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเป็นทาสของเขามาลงโทษได้ และมีการกล่าวถึงประเด็นเรื่องมรณกรรมและการฝังศพของเขา

นักแสดง

อัลเฟร วูดดาร์ต ในงานเปิดตัวภาพยนตร์

อ้างอิง

  1. "12 YEARS A SLAVE (15)". Fox Searchlight Pictures. British Board of Film Classification. February 19, 2014. สืบค้นเมื่อ February 19, 2014.
  2. "2013 Feature Film Production Report" (PDF). Film L.A. March 6, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-12. สืบค้นเมื่อ October 8, 2014.
  3. "12 Years a Slave (2013)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ August 10, 2014.
  4. doi:10.1353/cwh.1969.0065
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  5. "Sign of the times". The Hindu. สืบค้นเมื่อ March 12, 2014.
  6. Lacob, Jace (March 2, 2014). "'12 Years A Slave' Wins Best Picture Oscar At 86th Annual Academy Awards". Buzzfeed. สืบค้นเมื่อ March 13, 2014.
  7. "Baftas: Gravity and 12 Years a Slave share glory". BBC News. February 17, 2014. สืบค้นเมื่อ February 17, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya