Share to:

 

วิกิพีเดีย:โครงการวิกิภาพยนตร์

บทความภาพยนตร์ ความสำคัญ
ไม่มี ทั้งหมด
คุณภาพ
 บทความคัดสรร คัดสรร  10 10
 บทความคุณภาพ คุณภาพ  9 9
ดี 44 44
พอใช้ 579 579
โครง 3238 3238
รายชื่อ 158 158
จัดระดับแล้ว 4038 4038
ยังไม่ได้จัดระดับ 3381 3381
ทั้งหมด 7419 7419

โครงการวิกิภาพยนตร์ คือโครงการของวิกิพีเดียที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างบทความเกี่ยวกับภาพยนตร์ ซึ่งมีหัวข้อที่ครอบคลุมเนื้อหาที่มีรายละเอียดเพียงพอสำหรับผู้อ่าน คุณก็สามารถมีส่วนร่วมได้กับโครงการวิกิภาพยนตร์

เป้าหมาย

  • เพื่อกำหนดมาตรฐานบทความเกี่ยวกับภาพยนตร์ในวิกิพีเดีย
  • เพื่อยกระดับความครอบคลุมในเนื้อหาของบทความภาพยนตร์ที่มีอยู่เดิม หรือบทความที่สร้างขึ้นใหม่
  • เพื่อเป็นจุดยืนในการอภิปรายสาระของบทความภาพยนตร์
  • เพื่อกำหนดโครงสร้างสำคัญที่จะช่วยให้บทความภาพยนตร์มีคุณภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ขอบเขต

  • ภาพยนตร์และภาพยนตร์ชุด รวมไปถึงภาพยนตร์การ์ตูน
  • ตัวละคร นักแสดงในภาพยนตร์
  • ผู้ควบคุมและผลิตภาพยนตร์ รวมทั้งกองถ่าย ผู้กำกับ เป็นต้น
  • บริษัทและองค์กรที่มีส่วนร่วมในสร้างภาพยนตร์ ซึ่งอาจจะเป็นสมาคมหรือสถาบันการศึกษาก็ได้
  • รางวัลที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ พิธีการ ประเภทรางวัล ผู้เสนอชื่อเข้าชิงและผู้ได้รับรางวัล
  • เทศกาลที่เกี่ยวกับภาพยนตร์
  • เครื่องมือเครื่องใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์ เทคโนโลยี ศัพท์เฉพาะ
  • สถานที่ถ่ายทำและโครงสร้างที่ใช้เป็นฉากในภาพยนตร์
  • การศึกษาเนื้อหาภาพยนตร์ เช่นกระแสตอบรับ การตั้งทฤษฎี การวิจัย
  • ประเภทของภาพยนตร์ ความเคลื่อนไหวในวงการ และช่วงเวลาการเข้าฉาย
  • ประวัติของภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องชาติ ศาสนา หรือกลุ่มชน

หลักการเบื้องต้น

หัวข้อนี้เป็นการอธิบายแนวทางอย่างคร่าวๆ เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนร่วมแก้ไขได้พิจารณาว่า บทความภาพยนตร์ใดควรมีหรือไม่มีในวิกิพีเดีย บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์ควรเป็นไปตามนโยบายเงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม และอะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย เช่นเดียวกับบทความอื่นๆ

แหล่งอ้างอิง

บทความภาพยนตร์จะถือว่ามีความสำคัญ ถ้าภาพยนตร์เรื่องนั้นได้รับการกล่าวถึงในแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ และเป็นหัวข้ออิสระ เป็นหัวข้อใหญ่ไม่ปะปนกับหัวข้ออื่น แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้บนสิ่งตีพิมพ์และได้รับการเผยแพร่ อาทิ หนังสือ สารคดีทางโทรทัศน์ คอลัมน์ข่าวในหนังสือพิมพ์ที่กล่าวถึงภาพยนตร์เป็นสาระสำคัญ การนำเสนอและการวิพากษ์วิจารณ์ในนิตยสาร เป็นต้น แต่ยกเว้นสิ่งเหล่านี้

  • สื่ออื่นๆ ที่คัดลอกเนื้อหาที่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ไปแล้วข้างต้น
  • ภาพยนตร์แนะนำ (trailer) และการโฆษณาภาพยนตร์
  • ข้อมูลจิปาถะ เช่น รายการวันเวลาและโรงภาพยนตร์ที่ฉาย หนังสือแนะนำภาพยนตร์

อนึ่ง ความสำคัญของบทความภาพยนตร์ ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าของบริษัทหรือองค์กรผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนั้น ความสำคัญนี้หมายถึงคุณค่าที่ภาพยนตร์ดังกล่าวจะได้รับการเขียนให้เป็นสารานุกรม

ความสำคัญ

คุณสมบัติต่อไปนี้เป็นสิ่งที่แสดงว่า ภาพยนตร์เรื่องใดมีความสำคัญ และต้องมีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้

  1. ภาพยนตร์ที่ได้เผยแพร่ไปในวงกว้าง เช่นฉายทั่วประเทศ หรือฉายในต่างประเทศ ไม่ใช่ฉายเฉพาะสถานศึกษาแห่งเดียว เป็นต้น และได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากกว่าสองแหล่ง
  2. ภาพยนตร์ที่มีความสำคัญในเชิงประวัติ (มีหัวข้อ "ประวัติ") ซึ่งมีหลักฐานต่อไปนี้มากกว่าหนึ่งอย่าง
    • มีการตีพิมพ์หรือการเผยแพร่บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนั้นเป็นสาระสำคัญ (ที่ไม่ใช่ข้อมูลจิปาถะ) อย่างน้อย 2 เรื่อง และไม่น้อยกว่า 5 ปีหลังจากการฉายครั้งแรก
    • ภาพยนตร์ที่ได้รับการกล่าวถึงจากการสำรวจกระแสตอบรับ จากสถาบันการศึกษา หรือจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์ ซึ่งการสำรวจนั้นได้กระทำไปแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีหลังจากการฉายครั้งแรก
    • ภาพยนตร์ที่จัดทำใหม่อีกครั้งในเชิงพาณิชย์ หรือใช้ฉายในเทศกาลภาพยนตร์ ไม่น้อยกว่า 5 ปีหลังจากการฉายครั้งแรก
    • ภาพยนตร์ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสารคดี รายการโทรทัศน์ หรือนิทรรศการ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์
  3. ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ
  4. ภาพยนตร์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์ประจำชาติ หรือได้รับเลือกให้เป็นสมบัติของชาติ
  5. ภาพยนตร์ที่ใช้เป็นสื่อการสอนในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง

อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์บางเรื่องไม่เข้าข่ายคุณสมบัติข้างต้น แต่อาจยังมีความสำคัญจากการประเมินถึงคุณค่าในตัวภาพยนตร์ ซึ่งความสำคัญดังกล่าวสามารถพิสูจน์ได้จากแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ ข้อที่ควรพิจารณามีดังนี้

  1. ภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึงการประสบผลสำเร็จ หรือจุดเริ่มของการสร้างภาพยนตร์แนวใหม่ หรือเป็นการพัฒนาเพื่อให้เป็นภาพยนตร์ประจำชาติอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยประโยคคำกล่าวที่สามารถยืนยันได้ เช่น "เป็นภาพยนตร์การ์ตูนขนาดยาวเรื่องแรกของประเทศไทย" ใน สุดสาคร (ภาพยนตร์การ์ตูน) เป็นต้น
  2. ภาพยนตร์ที่มีบุคคลสำคัญเข้าร่วม และมีบทบาทหลักที่สำคัญในภาพยนตร์ (ไม่ว่าจะเป็นผู้แสดงหรือผู้กำกับ) อย่างไรก็ตามบทความภาพยนตร์ควรมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ที่เพียงพอ มากกว่าที่จะเป็นชีวประวัติของบุคคลสำคัญเหล่านั้น
  3. ภาพยนตร์ที่เผยแพร่ในประเทศอื่นแล้วประสบความสำเร็จ ซึ่งไม่ใช่ประเทศหลักที่เป็นผู้สร้าง บทความดังกล่าวควรมีความสำคัญอย่างอื่นเข้ามาเสริมนอกจากเรื่องของการสร้างภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดๆ

ภาพยนตร์ที่จะสร้างในอนาคตโดยไม่มีแหล่งอ้างอิงยืนยัน ไม่ควรมีเป็นบทความในวิกิพีเดีย จนกว่าภาพยนตร์เรื่องนั้นจะเริ่มสร้าง ส่วนภาพยนตร์ที่กำลังถ่ายทำแต่ไม่เคยเผยแพร่ที่อื่นมาก่อน ยังไม่ควรมีบทความจนกว่าจะได้พิสูจน์ว่ามีความสำคัญตามแนวทางข้างต้นที่กล่าวไปแล้ว ในกรณีเดียวกัน ภาพยนตร์ที่ได้ผลิตในอดีต ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ที่สร้างไม่เสร็จหรือไม่เคยเผยแพร่ที่ใดก็ตาม ก็ยังไม่ควรมีบทความหากไม่มีความสำคัญ

แนวทางในการเขียน

สมาชิกปัจจุบัน

  1. B20180 (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) 16:40, 27 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
  2. Wutzwz (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) 11:19, 7 มีนาคม 2558 (ICT)
  3. J Hatyai (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) 11:19, 30 กรกฎาคม 2559 (ICT)
  4. Ponpan (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) พฤศจิกายน 2559
  5. บุญพฤทธิ์ ทวนทัย (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) 20:46, 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560
  6. Thai.60 (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) 21:44, 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (ICT)
  7. Buileducanh (พูดคุย · เรื่องที่เขียน)
  8. Bisdt (พูดคุย · เรื่องที่เขียน)
  9. Ekminarin (พูดคุย · เรื่องที่เขียน)
  10. Hopefully999 (พูดคุย · เรื่องที่เขียน)
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya