ผู้รับใช้พระเป็นเจ้าผู้รับใช้พระเป็นเจ้า[1] หรือ ผู้รับใช้ของพระเจ้า เป็นสมัญญานามที่ใช้กับศาสนิกชนบางคนในศาสนาเทวนิยม ใช้เพื่อแสดงว่าบุคคลนั้นศรัทธาอย่างแรงกล้า ในคริสตจักรโรมันคาทอลิกใช้คำนี้ในความหมายเฉพาะลงไปอีก คือหมายถึงบุคคลที่อยู่ในกระบวนการชั้นแรกก่อนการประกาศเป็นนักบุญ ส่วนนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ใช้คำนี้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ในนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์[2] คำว่า "ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า" ใกล้เคียงกับคำว่า อับดุลลอฮ์[3] (عبد الله บ่าวของอัลลอฮ์) ในภาษาอาหรับ และ โอบาดีห์ ในภาษาฮีบรู ศาสนาคริสต์คัมภีร์ไบเบิลคำว่า "ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า" ปรากฏ 7 ครั้งในคัมภีร์ไบเบิล โดยหมายถึงโมเสสถึง 5 ครั้ง (พันธสัญญาเดิม 4 ครั้ง[4][5][6][7] และพันธสัญญาใหม่ 1 ครั้ง[8]) นอกจากนี้เปาโลอัครทูตก็บอกว่าตนเองเป็นผู้รับใช้คนหนึ่งของพระเป็นเจ้า[9] ผู้เขียนจดหมายของนักบุญยากอบก็เรียกตนเองว่าเป็นผู้รับใช้คนหนึ่งของพระเป็นเจ้าเช่นกัน[10] โรมันคาทอลิกคริสตจักรโรมันคาทอลิกใช้คำว่า "ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า" เพื่อหมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ล่วงลับไปแล้ว ที่คริสตจักรโรมันคาทอลิกกำลังสอบสวนประวัติและผลงานเพื่อประกาศรับรองว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์และได้อยู่ในสวรรค์ร่วมกับพระยาห์เวห์[11] นอกจากนี้ยังมีคำว่า "ผู้รับใช้ของบรรดาผู้รับใช้พระเป็นเจ้า" ซึ่งเป็นสมัญญานามหนึ่งของพระสันตะปาปาที่ใช้มาตั้งแต่สมณสมัยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 ในกระบวนการประกาศเป็นนักบุญ ตำแหน่ง "ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า" เป็นตำแหน่งแรกสุด ต่อจากนั้นหากได้รับประกาศยืนยันว่าผู้นั้นประกอบด้วยวีรคุณธรรมจึงเรียกว่า "ผู้น่าเคารพ" ศาสนาฮินดูคุรุและนักปราชญ์หลายคนในศาสนาฮินดูมักใช้นามที่มีคำว่า ทาส[12] ซึ่งหมายถึง "ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า" ในภาษาทมิฬ คำว่า "ทาส" มักใช้หมายถึงผู้ศรัทธาอุทิศตนต่อพระวิษณุหรือพระกฤษณะ เช่น หริทาส นารายณทาส รามทาส และกาลิทาส เป็นต้น อ้างอิง
|