Share to:

 

พระยาพัทลุง (ขุน)

พระยาพัทลุง
(ขุน)
เจ้าเมืองพัทลุง
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2315 – พ.ศ. 2332 (17 ปี)
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ก่อนหน้าพระยาพัทลุง (ฮุเซน)
ถัดไปพระศรีไกรลาศ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ขุน

พ.ศ. 2277
กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา
เสียชีวิตพ.ศ. 2332 (55 ปี)
เมืองพัทลุง อาณาจักรรัตนโกสินทร์
คู่สมรสคุณหญิงแป้น
บุตรพระยาพัทลุง (ทองขาว)
บุพการี
  • พระยาราชบังสัน (บิดา)
ญาติสุลต่านสุลัยมาน ชาห์ (ทวด) พระยาพัทลุง (ฮุเซน) (ตา)

พระยาพัทลุง (ขุน) หรือ ขุนคางเหล็ก (พ.ศ. 2277 - พ.ศ. 2332) เป็นบุตรชายของ พระยาราชบังสัน (ตะตา) บุตรชายของ พระยาพัทลุง (ฮุเซน) บุตร สุลต่านสุลัยมาน เกิดและเติบโตในกรุงศรีอยุธยา จึงพูดภาษาปักษ์ใต้ไม่เป็น เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่ออายุ 14 ปี ต่อมา เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกได้เข้าถวายตัวช่วยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นครั้งแรก ตามเสด็จลงไปปราบ ก๊กเจ้านครศรีธรรมราช พ.ศ. 2312 ขณะนั้นอายุ 35 ปี จึงได้เป็นพระยาภักดีนุชิต สิทธิสงคราม ผู้ช่วยราชการนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2315 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดฯให้ไปเป็นเจ้าเมืองพัทลุง ในราชทินนาม พระยาแก้วโกรพพิชัยฯ เช่นเดียวกับบิดา พระยาราชบังสัน (ตะตา) ซึ่งมีราชทินนามว่า พระยาแก้วโกรพพิชัยฯ เช่นกัน ทว่าสร้อยต่างกัน

ภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตก พระยาพัทลุง (ขุน) กับพี่น้องญาติๆ ได้พากันอพยพมาอยู่หมู่บ้านบริเวณใกล้ ๆ วัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) ไม่ห่างไกลกันนักกับพวกญาติ ๆ เชื้อสุลต่านสุลัยมาน ซึ่งตั้งเคหสถานอยู่ใกล้วัดหงส์รัตนาราม ในคลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวง ใน พ.ศ. 2315 พระยาพัทลุงได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ[1]

ภรรยาพระยาพัทลุง(ขุน) คือ คุณหญิงแป้น น้องร่วมบิดามารดากับท้าวทรงกันดาล บุตร-ธิดา ที่สำคัญได้แก่

พระยาพัทลุง (ขุน) รับราชการอยู่ 17 ปี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2332 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช[2]

ภายในวัดวังมีอนุสาวรีย์พระยาพัทลุง (ขุน) สร้างโดย มูลนิธิพระยาพัทลุงขุนคางเหล็ก-สุลต่านสุลัยมาน

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี, หน้า 332
  2. โรม บุนนาค (12 มิถุนายน 2562). "เหตุที่พระยาพัทลุงได้ฉายา "คางเหล็ก! ไก่เจ๊ก ไก่แขก ตีกันไม่แพ้ไม่ชนะ เจ้าของไก่รำมวยใส่กัน! !". ผู้จัดการออนไลน์.
บรรณานุกรม
Kembali kehalaman sebelumnya