Share to:

 

จังหวัดพัทลุง

จังหวัดพัทลุง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Phatthalung
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง :เขาอกทะลุ วังเจ้าเมืองพัทลุง อุทยานนกน้ำทะเลน้อย ยอยักษ์คลองปากประ
คำขวัญ: 
เมืองหนังโนรา อู่นาข้าว พราวน้ำตก
แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพัทลุงเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพัทลุงเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพัทลุงเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ รัฐศาสตร์ ชิดชู
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2568)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด3,424.473 ตร.กม. (1,322.196 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 58
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด520,598 คน
 • อันดับอันดับที่ 50
 • ความหนาแน่น152.02 คน/ตร.กม. (393.7 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 28
รหัส ISO 3166TH-93
ชื่อไทยอื่น ๆเมืองลุง เสกัก
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้พะยอม
 • ดอกไม้พะยอม
 • สัตว์น้ำปลากระแห
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนราเมศวร์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 93000
 • โทรศัพท์0 7461 3409
 • โทรสาร0 7461 3409
เว็บไซต์http://www.phatthalung.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

พัทลุง เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 860 กิโลเมตร มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล สงขลา และมีพื้นที่ด้านตะวันออกของจังหวัดจรดทะเลสาบสงขลา

ในอดีต พัทลุงเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งหนึ่ง และยังมีสภาพภูมิประเทศทั้งที่ราบ เนินเขา และชายฝั่ง โดยทางทิศตะวันตกของจังหวัด จะเป็นพื้นที่ที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขา อันเนื่องมาจากมีพื้นที่ติดต่อกับทิวเขานครศรีธรรมราช ถัดลงมาทางตอนกลางและทางทิศตะวันออกของจังหวัด จรดทะเลสาบสงขลาจะเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนาข้าว ชาวภาคใต้จะเรียกจังหวัดนี้ว่า "เมืองลุง"

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • คำขวัญประจำจังหวัด : เมืองหนังโนรา อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน
  • ตราประจำจังหวัด : ปรากฏเป็นรูปภูเขาอกทะลุ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของจังหวัด ซึ่งภูเขาอกทะลุนี้ ตั้งอยู่ในตัวอำเภอเมืองพัทลุง ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ มีบันไดทอดตัวยาวขึ้นจากเชิงเขาถึงถ้ำ ซึ่งเป็นรูอยู่ตรงกลางเพื่อให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปชมทิวทัศน์ของจังหวัดพัทลุง ได้อย่างกว้างขวาง หากแต่ปัจจุบันยังขาดการดูแล ปรับปรุงและพัฒนาที่ยั่งยืนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นพะยอม (Shorea roxburghii)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกพะยอม
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลากระแหหรือปลาลำปำ (Barbonymus schwanenfeldii)
พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ โดยได้รับการโปรดเกล้าฯจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชให้นำมาประดิษฐานประจำทิศใต้ ณ จังหวัดพัทลุง ถือเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดพัทลุงและพระพุทธรูปประจำภาคใต้
น้ำตกโตนแพรทอง อยู่ในเขตอำเภอศรีนครินทร์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุง

ที่ตั้ง

จังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของภาคใต้ของประเทศไทย ระหว่างละติจูดที่ 7 องศา 6 ลิปดาเหนือถึง 7 องศา 53 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 100 องศา 5 ลิปดาตะวันออก ห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางสายเอเชีย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41) เป็นระยะทางประมาณ 858 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟ ระยะทางประมาณ 846 กิโลเมตร ความยาวของจังหวัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ประมาณ 78 กิโลเมตรและความกว้างจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ระยะทางประมาณ 53 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3,424.473 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,140,296 ไร่ (พื้นดิน 1,919,446 ไร่ พื้นน้ำ 220,850 ไร่) มีเขาที่สูงที่สุดคือเขาเจ็ดยอด อยู่ในเทือกเขาบรรทัด สูงประมาณ 1,260 เมตร

มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ประวัติ

พัทลุงเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทยที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏหลักฐานจากการค้นพบขวานหินขัดในท้องที่ทั่วไปหลายอำเภอในสมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13–14) บริเวณเมืองพัทลุงเป็นแหล่งที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียในด้านพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน มีหลักฐานค้นพบ เช่น พระพิมพ์ดินดิบจำนวนมากเป็นรูปพระโพธิสัตว์ รูปเทวดาโดยค้นพบบริเวณถ้ำคูหาสวรรค์ และถ้ำเขาอกทะลุ[ต้องการอ้างอิง]

ในพุทธศตวรรษที่ 19 เมืองพัทลุงได้ตั้งขึ้นอย่างมั่นคงภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ปรากฏชื่อเมืองพัทลุง ในกฎหมายพระอัยการนาทหารหัวเมือง พ.ศ. 1998 ระบุว่าเมืองพัทลุงมีฐานะเป็นเมืองชั้นตรี ซึ่งนับได้ว่าเป็นหัวเมืองหนึ่งของพระราชอาณาจักรทางใต้ ที่ตั้งเมืองพัทลุงในระยะเริ่มแรกนั้นเชื่อกันว่า ตั้งอยู่ที่เมืองสทิงพระ จังหวัดสงขลาในปัจจุบัน มักจะประสบปัญหาโดนโจมตีจากกลุ่มโจรสลัดมลายูอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโจรสลัดราแจะอารูและอุยงคตนะ ได้เข้าปล้นสดมภ์โจมตีเผาทำลายเมืองอยู่เนือง ๆ[ต้องการอ้างอิง]

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมด๊ะโต๊ะโมกอล ชาวมุสลิมที่อพยพมาจากเมืองสาเลห์ บริเวณหมู่เกาะชวา ซึ่งเป็นต้นตระกูลของสุลต่านสุไลมาน แห่งเมืองสงขลาได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานค้าขาย ณ หัวเขาแดง แล้วตั้งประชาคมมุสลิมขึ้น ตรงนั้นอย่างสงบ ไม่มีการขัดแย้งกับชาวเมืองที่อยู่มาก่อน ปักหลักอยู่ยาวนานจนมีผู้คนอพยพมาอาศัยอยู่มากขึ้นในที่สุดก็พัฒนาขึ้นมาเป็นเมืองท่าปลอดภาษี มีเรือสำเภาแวะเข้ามาซื้อ

บทบาทของดะโต๊ะโมกอลได้รับการสนับสนุนจากอาณาจักรอยุธยาด้วยดีสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น "ข้าหลวงใหญ่" ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ต่อมาคือท่านสุไลมานบุตรชายคนโต มีหน้าที่ปกครองดูแลรักษาความสงบของพื้นที่ตั้งแต่ตอนล่างของนครศรีธรรมราช มาจดเขตปัตตานี ครอบคลุมครึ่งล่างของเมืองตรัง ปะเหลียน พัทลุง และสงขลา นอกจากนี้ก็ต้องเก็บส่วยสาอากรส่งถวายพระเจ้าแผ่นดินที่กรุงศรีอยุธยา ท่านสุไลมานก็ได้ทำหน้าที่นี้เรียบร้อยด้วยดีมาตลอด ต่อมาได้ย้ายเมืองสงขลาจากสทิงพระมายังหัวเขาแดงซึ่งมีชัยภูมิป้องกันตนเองได้ดีกว่า

ในสมัยสุลต่านสุไลมาน บุตรของดะโต๊ะโมกอล ได้ส่ง ฟาริซีน้องชายซึ่งเป็นปลัดเมืองมาสร้างเมืองใหม่ที่เขาชัยบุรี เพื่อป้องกันศัตรูที่จะมาโจมตีเมืองสงขลาทางบก ภายหลังได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองพัทลุง และได้ย้ายเมืองพัทลุงออกจากเมืองสงขลาตั้งแต่นั้น และตั้งเมืองอยู่ที่เขาชัยบุรีตลอดมาจนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2310[ต้องการอ้างอิง]

ในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการย้ายสถานที่ตั้งเมืองอีกหลายครั้งและได้ยกขึ้นเป็นเมืองชั้นโทในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในช่วงนี้เมืองพัทลุงมีผู้นำที่มีความสำคัญในการสร้างความเจริญและความมั่นคงให้กับบ้านเมืองหลายท่าน อาทิ พระยาพัทลุง (ขุนคางเหล็ก) พระยาวิชิตเสนา (ทองขาว)พระยาอภัยบริรักษ์ (จุ้ย จันทร์โรจน์วงศ์) ส่วนประชาชนชาวเมืองพัทลุงก็ได้มีบทบาทในการร่วมมือกับผู้นำ ต่อสู้ป้องกันเอกราชของชาติมาหลายครั้ง เช่น เมื่อสงครามเก้าทัพ (พ.ศ. 2328 – 2329) พม่าจัดกองทัพใหญ่ 9 ทัพ 1 ใน 9 ทัพ มีเกงหวุ่นแมงยีเป็นแม่ทัพ ยกลงมาตีทางใต้ ตีได้เมืองกระบุรี ระนอง ชุมพร ไชยา และนครศรีธรรมราชตามลำดับ และในขณะที่กำลังจัดไพร่พลอยู่ที่นครศรีธรรมราช เพื่อจะยกมาตีเมืองพัทลุงและสงขลานั้น พระยาพัทลุงโดยความร่วมมือจากพระมหาช่วยแห่งวัดป่าลิไลยก์ ได้รวบรวมชาวพัทลุงประมาณ 1,000 คน ยกออกไปตั้งขัดตาทัพที่คลองท่าเสม็ด จนกระทั่งทัพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท วังหน้าในรัชกาลที่ 1 ทรงยกกองทัพมาช่วยหัวเมืองปักษ์ใต้ ตีทัพพม่าแตกหนีไป พระมหาช่วยได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ลาสิกขาแล้วแต่งตั้งเป็นพระยาทุกขราษฎร์ช่วยราชการเมืองพัทลุง นอกจากสงครามกับพม่าแล้วชาวพัทลุงยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติในหัวเมืองภาคใต้ เพราะปรากฏอยู่เสมอว่าทางเมืองหลวงได้มีคำสั่งให้เกณฑ์ชาวพัทลุง พร้อมด้วยเสบียงอาหารไปทำสงครามปราบปรามกบฏในหัวเมืองมลายูเช่น กบฏไทรบุรี พ.ศ. 2373 และ พ.ศ. 2381 ซึ่งบทบาทดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นความสำคัญของเมืองพัทลุง ทางด้านการเมือง การปกครองในอดีตเป็นอย่างดี [ต้องการอ้างอิง]

ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปฏิรูปการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาลใน พ.ศ. 2437 และได้ประกาศจัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2439 ประกอบด้วยเมืองต่างๆ คือ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และหัวเมืองทั้ง 7 ที่เป็นเมืองปัตตานีเดิม สำหรับเมืองพัทลุงแบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ คืออำเภอกลางเมือง อำเภออุดร และอำเภอทักษิณ ขณะนั้นตัวเมืองตั้งอยู่ที่ตำบลลำปำ จนกระทั่ง พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองพัทลุงมาอยู่ที่ตำบลคูหาสวรรค์ในปัจจุบัน เพื่อจะได้อยู่ใกล้เส้นทางรถไฟ และสะดวกในด้านติดต่อกับเมืองต่าง ๆ [ต้องการอ้างอิง]

จากอดีตถึงปัจจุบัน เมืองพัทลุงได้มีการย้ายเมืองหลายครั้งสถานที่เคยเป็นที่ตั้งเมืองพัทลุงมาแล้ว ได้แก่

  1. โคกเมืองแก้ว ปัจจุบัน หมู่ที่ 4 ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน
  2. บ้านควนแร่ ปัจจุบัน หมู่ที่ 1 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง
  3. เขาชัยบุรี(เขาเมือง) ปัจจุบัน เขต 3 ตำบล คือตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง
  4. ท่าเสม็ด ปัจจุบัน ตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
  5. เมืองพระรถ ปัจจุบัน หมู่ที่ 1 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง
  6. บ้านควนมะพร้าว ปัจจุบัน หมู่ที่ 2 ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง
  7. บ้านม่วง ปัจจุบัน หมู่ที่ 6 ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง
  8. บ้านโคกลุง ปัจจุบัน หมู่ที่ 4 ตำบลลำปำ อำเภ เมืองพัทลุง

ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบบริหารส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ ได้ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ทำให้เมืองพัทลุงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่ง ในปัจจุบันจังหวัดพัทลุง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ คือ อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอควนขนุน อำเภอเขาชัยสน อำเภอปากพะยูน อำเภอกงหราอำเภอตะโหมด อำเภอป่าบอน อำเภอศรีบรรพต อำเภอป่าพะยอม อำเภอบางแก้ว และอำเภอศรีนครินทร์[3]

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 65 ตำบล 670 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองพัทลุง
  2. อำเภอกงหรา
  3. อำเภอเขาชัยสน
  4. อำเภอตะโหมด
  5. อำเภอควนขนุน
  6. อำเภอปากพะยูน
  7. อำเภอศรีบรรพต
  8. อำเภอป่าบอน
  9. อำเภอบางแก้ว
  10. อำเภอป่าพะยอม
  11. อำเภอศรีนครินทร์
 
แผนที่หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนท้องถิ่น

จังหวัดพัทลุง มีการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เฉพาะรูปแบบทั่วไป ดังนี้

จังหวัดพัทลุงมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 74 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จำนวน 1 แห่ง เทศบาล จำนวน 49 แห่ง (แยกเป็นเทศบาลเมือง จำนวน 1 แห่ง และเทศบาลตำบล จำนวน 48 แห่ง) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จำนวน 24 แห่ง [ที่มา:สำนักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง (พฤษภาคม 2564)]

องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง

ประกอบไปด้วย ฝ่ายบริหารคือ นายก อบจ. พัทลุงพร้อมรองนายกอบจ. (2 ท่าน) เลขานุการนายกอบจ. (3 ท่าน) ที่ปรึกษานายกอบจ. (2 ท่าน) และที่ปรึกษาพิเศษนายกอบจ. (9 ท่าน) และฝ่ายสภา อบจ. พัทลุง โดยมี สมาชิก อบจ. หรือ สจ. 30 ท่าน เป็นประธานสภาและรองประธานสภาคนที่ 1 และคนที่ 2 อีกทั้งได้เลือกสมาชิกเป็นเลขานุการสภาอบจ. (1 ท่าน) ซึ่งแบ่งเขตของทั้ง 11 อำเภอ 65 ตำบล 670 หมู่บ้าน

(การแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละครั้งประกาศโดย กกต.)

เทศบาลเมือง

มีเทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ

  • เทศบาลเมืองพัทลุง (ตั้ง พ.ศ. 2479)
  • เขตพื้นที่รับผิดชอบ คือ ตำบลคูหาสวรรค์ (ทั้งตำบล)และบางส่วนของอีก 6 ตำบลในหมู่ต่าง ๆ คือ ตำบลเขาเจียก (หมู่ 11), ตำบลควนมะพร้าว (หมู่ 3), ตำบลลำปำ (หมู่ 3-4, 6-7, 9), ตำบลตำนาน (หมู่ 10), ตำบลปรางหมู่ (หมู่ 9) และ ตำบลท่ามิหรำ (หมู่ 2)

เทศบาลตำบล

จังหวัดพัทลุงมีเทศบาลตำบล 48 แห่ง ในทุกอำเภอ ยกเว้นอำเภอศรีบรรพต (ทั้ง 3 ตำบลยังมีฐานะเป็น อบต. ทั้งหมด)

  • เทศบาลตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง (พ.ศ. 2551)
  • เทศบาลตำบลเขาเจียก อำเภอเมืองพัทลุง (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลปรางหมู่ อำเภอเมืองพัทลุง (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง (พ.ศ. 2555)
  • เทศบาลตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง (พ.ศ. 2555)
  • เทศบาลตำบลตำนาน อำเภอเมืองพัทลุง (พ.ศ. 2563)
  • เทศบาลตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม (พ.ศ. 2551)
  • เทศบาลตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม (พ.ศ. 2551)
  • เทศบาลตำบลชุมพล อำเภอศรีนครินทร์ (พ.ศ. 2551)
  • เทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ (พ.ศ. 2551)
  • เทศบาลตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลอ่างทอง อำเภอศรีนครินทร์ (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน (พ.ศ. 2542)
  • เทศบาลตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน (พ.ศ. 2551)
  • เทศบาลตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว (พ.ศ. 2542)
  • เทศบาลตำบลบางแก้ว อำเภอบางแก้ว (พ.ศ. 2550)
  • เทศบาลตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน (พ.ศ. 2542)
  • เทศบาลตำบลหนองพ้อ อำเภอควนขนุน (พ.ศ. 2551)
  • เทศบาลตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน (พ.ศ. 2542)
  • เทศบาลตำบลบ้านสวน อำเภอควนขนุน (พ.ศ. 2551)
  • เทศบาลตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน (พ.ศ. 2551)
  • เทศบาลตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน (พ.ศ. 2551)
  • เทศบาลตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลแพรกหา อำเภอควนขนุน (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลปากพะยูน อำเภอปากพะยูน (พ.ศ. 2542)
  • เทศบาลตำบลอ่าวพะยูน อำเภอปากพะยูน (พ.ศ. 2551)
  • เทศบาลตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน (พ.ศ. 2551)
  • เทศบาลตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน (พ.ศ. 2555)
  • เทศบาลตำบลป่าบอน อำเภอป่าบอน (พ.ศ. 2542)
  • เทศบาลตำบลชะรัด อำเภอกงหรา (พ.ศ. 2551)
  • เทศบาลตำบลกงหรา อำเภอกงหรา (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา (พ.ศ. 2552)
  • เทศบาลตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา (พ.ศ. 2555)
  • เทศบาลตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด (พ.ศ. 2542)
  • เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง อำเภอตะโหมด (พ.ศ. 2551)
  • เทศบาลตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด (พ.ศ. 2542)
  • เทศบาลตำบลควนเสาธง อำเภอตะโหมด (พ.ศ. 2551)
  • เทศบาลตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด (พ.ศ. 2555)

องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

จังหวัดพัทลุงมีองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2538 (2 ตำบล)และพ.ศ. 2539 (22 ตำบล) รวมทั้งหมด 24 แห่งในทุกอำเภอ ยกเว้น 2 อำเภอได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลทั้งอำเภอคือ อำเภอตะโหมด และอำเภอศรีนครินทร์

  • อบต. ชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง (พ.ศ. 2539)
  • อบต. ควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง (พ.ศ. 2539)
  • อบต. ลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง (พ.ศ. 2539)
  • อบต. คลองเฉลิม อำเภอกงหรา (พ.ศ. 2539)
  • อบต. เขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน (พ.ศ. 2539)
  • อบต. ควนขนุน อำเภอเขาชัยสน (พ.ศ. 2539)
  • อบต. หานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน (พ.ศ. 2539)
  • อบต. ชะมวง อำเภอควนขนุน (พ.ศ. 2539)
  • อบต. ปันแต อำเภอควนขนุน (พ.ศ. 2539)
  • อบต. พนมวังก์ อำเภอควนขนุน (พ.ศ. 2539)
  • อบต. โคกสัก อำเภอบางแก้ว (พ.ศ. 2539)
  • อบต. นาปะขอ อำเภอบางแก้ว (พ.ศ. 2539)
  • อบต. เกาะหมาก อำเภอปากพะยูน (พ.ศ. 2539)
  • อบต. ฝาละมี อำเภอปากพะยูน (พ.ศ. 2539)
  • อบต. ป่าบอน อำเภอป่าบอน (พ.ศ. 2539)
  • อบต. โคกทราย อำเภอป่าบอน (พ.ศ. 2539)
  • อบต. ทุ่งนารี อำเภอป่าบอน (พ.ศ. 2539)
  • อบต. วังใหม่ อำเภอป่าบอน (พ.ศ. 2538)
  • อบต. หนองธง อำเภอป่าบอน (พ.ศ. 2539)
  • อบต. ป่าพะยอม อำเภอป่าพะยอม (พ.ศ. 2539)
  • อบต. เกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม (พ.ศ. 2538)
  • อบต. เขาปู่ อำเภอศรีบรรพต (พ.ศ. 2539)
  • อบต. เขาย่า อำเภอศรีบรรพต (พ.ศ. 2539)
  • อบต. ตะแพน อำเภอศรีบรรพต (พ.ศ. 2539)

รายนามเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง

รายนามเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง
รายพระนาม รายนาม พุทธศักราช
1. พระยาพัทลุง (ฮุเซน) ไม่ทราบปี - 2315
2. พระยาพัทลุง (ขุนคางเหล็ก) 2315 - 2332
  3. พระศรีไกรลาศ 2332 - 2333
  4. พระยาพัทลุง (ทองขาว) 2334 - 2360
  5. พระยาพัทลุง (เผือก) 2360 - 2369
  6. พระยาอุทัยธรรม (น้อยใหญ่) 2369 - 2382
  7. พระยาอภัยบริรักษ์ (จุ้ย จันทรโรจน์วงศ์) 2382 - 2393
  8. พระยาอภัยบริรักษ์ (ทับ) 2394 - 2410
  9. พระยาอภัยบริรักษ์ (น้อย) 2410 - 2431
  10. พระยาอภัยบริรักษ์ (เนตร) 2431 - 2446
  11. พระสุรฤทธิ์ภักดี (คอยุตี่ ณ ระนอง) 2446 - 2447
  12. พระศิริธรรมบริรักษ์ (เย็น สุวรรณปัตมะ) 2447 - 2449
  13. พระแก้วโกรพ (หมี ณ ถลาง) 2449 - 2450
  14. พระกาญจนดิษฐ์มณี (อวบ ณ ถลาง) 2450 - 2451
  15. พระยาอุดรกิจพิจารณ์ (สุด สารสุทธิ) 2452 - 2454
  16. พระยาวุฒิภาคภักดี (ช้าง ช้างเผือก) 2455 - 2456
  17. หม่อมเจ้าประสบประสงค์ ชุมพล 2456 - 2456
  18. หลวงวิชิตเสรี (หงวน ศตะรัตน์) 2457 - 2458
  19. พระวิชิตสรไกร (ทองสุก ผลพันธิน) 2458 - 2464
  20. พระคณาศัยสุนทร (สา สุวรรณสาร) 2464 - 2475
  21. พระสาครบุรานุรักษ์ (ปริก สุวรรณนานนท์) 2475 - 2476
  22. พ.อ.พระยาสุรเดชรณชิต (ชิต ยุวณเตมีย์) 2476 - 2477
  23. ขุนประสงค์สุขการี (สมบุญ ลาภเจริญ) 2477 - 2479
  24. หลวงปราณีประชาชน (ลาภ หงษเวศ) 2479 - 2485
  25. ขุนพิเศษนครกิจ (ชุบ กลิ่นสุคนธ์) 2485 - 2486
  26. หลวงอรรถวิจิตรจรรยารักษ์ (กังวาน วงษ์สกุล) 2486 - 2487
  27. ร.อ.ขุนสุรจิตจตุรงค์ (สุรจิต อินทรกำแหง) 2488 - 2489
  28. นายสุวรรณ รื่นยศ 2489 - 2490
  29. หลวงอรรถวิภัชพจนกร (กรุง อรรถวิภัชน์) 2491 - 2493
  30. นายลิขิต สัตยายุทย์ 2493 - 2495
  31. นายจันทร์ สมบูรณ์กุล 2495 - 2497
  32. นายชูสง่า ไชยพันธ์ 2497 - 2498
  33. ขุนวัฒนานุรักษ์ (ประจักษ์ วงษ์รัตน์) 2498 - 2499
  34. พ.ต.อ.บุญนรงค์ วัฑฒนายนต์ 2499 - 2500
  35. นายพันธุ์ สายตระกูล 2500 - 2501
  36. นายวิชาญ บรรณโสภิฐ 2501 - 2503
  37. นายสวัสดิ์ มีเพียร 2503 - 2508
  38. นายนิรุต ไชยกูล 2508 - 2509
  39. นายสมัค ปทุมานนท์ 2509 - 2512
  40. นายมนัส เจริญประสิทธิ์ 2512 - 2514
  41. พลตรีสุวรรณ อินทุลักษณ์ 2514 - 2517
  42. นายจำลอง พลเดช 2517 - 2518
  43. นายบำรุง สุขบุษย 2518 - 2519
  44. นายดิเรก ดิเรกวัฒนะ 2519 - 2521
  45. ร้อยตรีกิตติ ประทุมแก้ว 2521 - 2523
  46. นายนิพนธ์ บุญญภัทโร 2523 - 2526
  47. เรือตรีสุกรี รักษ์ศรีทอง 2526 - 2529
  48. ร้อยตรีอนุกูล สุภาไชยกิจ 2529 - 2531
  49. พันตรีชอบ มงคลรัตน์ 2531 - 2533
  50. นายสมพงศ์ ศรียะพันธุ์ 2533 - 2535
  51. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น 2535 - 2537
  52. นายประสิทธิ์ พรรณพิสุทธิ์ 2537 - 2539
  53. นายสุวิช รัตนะรัต 2539 - 2540
  54. นายนิรันดร์ชัย เพชรสิงห์ 2540 - 2542
  55. นายไพศาล แก้วประสม 2542 - 2544
  56. นายอำนวย สงวนนาม 2544 - 2546
  57. นายประจักษ์ สุวรรณภักดี 2546 - 2549
  58. นายสุเทพ โกมลภมร 2549 - 2552
  59. นายวิญญู ทองสกุล 2552 - 2552
  60. นายวินัย ครุวรรณพัฒน์ 2552 - 2553
  61. นายพิสิษฐ บุญช่วง 2553 - 2554
  62. นายวิญญู ทองสกุล 2554 - 2556
  63. นายเสรี ศรีหะไตร 2556 - 2557
  64. ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ 2557 - 2559
  65. นายวันชัย คงเกษม 2559 - 2560
  66. นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ 2560 - 2565
  67. นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ 2566 - 2567

อุทยาน

การขนส่ง

ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่าง ๆ

การศึกษา

โรงเรียน

ระดับอุดมศึกษา

อุตสาหกรรม

ในจังหวัดพัทลุงมีกลุ่มสตาร์ตอัพ Southern IoT ได้ทำการติดตั้งและดำเนินการในระบบเครือข่าย LoRaWAN โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ People's Network ซึ่งเป็นโครงการ LoRaWAN ที่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบและให้บริการฟรีสำหรับผู้ใช้และนักพัฒนา IoT ภายในจังหวัด โดยใช้ SenseCAP M1 LoRa Gateway ที่มี Firmware ที่พัฒนาโดย Southern IoT Co., Ltd. ทำงานบน Kubernetes โดยเริ่มที่จังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย

ปัจจุบันเครือข่ายนี้มีการติดตั้ง LoRaWAN Gateway มากกว่า 100 ตัว ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย รวมถึงจังหวัดพัทลุงด้วย เพื่อช่วยขยายการครอบคลุมของเครือข่าย ผู้ใช้สามารถนำ LoRaWAN Gateway ของตัวเองมาร่วมติดตั้งในโครงการได้ ระบบได้มีการนำ AI มาใช้ในการบริหารจัดการเครือข่ายนี้

เครือข่าย LoRaWAN ในพัทลุงถูกนำไปใช้ในหลายด้าน เช่น การเกษตรอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มผลผลิตและวางแผนการเกษตร นอกจากนี้ ยังมีการใช้งานในโครงการต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสำคัญของพื้นที่ เช่น การขาดแคลนน้ำในพื้นที่ชนบท

บุคคลที่มีชื่อเสียง

พระสงฆ์
นักการเมือง
นักแสดง พิธีกรรายการ นักร้อง เน็ตไอดอล
นักกีฬา
การศึกษา

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 22 มีนาคม 2565.
  3. http://www.phatthalung.go.th/history.php Retrieved on 23 December 2012

ดูเพิ่ม

หนังสือและบทความ

  • ยงยุทธ ชูแว่น. (2550). พัทลุง: จากเมืองปลายแดนของอยุธยามาสู่เมืองในอาณาจักรในสมัยรัตนโกสินทร์. ใน ยงยุทธ ชูแว่น (บก.), คาบสมุทรไทยในราชอาณาจักรสยาม. น. 107–46. กรุงเทพฯ: นาคร.
  • สารูป ฤทธิ์ชู. สภาพการเมืองพัทลุง พ.ศ. 2315–2439. ใน ยงยุทธ ชูแว่น (บก.), คาบสมุทรไทยในราชอาณาจักรสยาม. น. 149–78. กรุงเทพฯ: นาคร.

ออนไลน์

แหล่งข้อมูลอื่น

7°38′N 100°04′E / 7.63°N 100.07°E / 7.63; 100.07

Kembali kehalaman sebelumnya