พระวัชรสัตว์
วัชรสัตว์ (สันสกฤต: वज्रसत्त्व, Tibetan: རྡོ་རྗེ་སེམས་དཔའ། Dorje Sempa, รูปย่อ: རྡོར་སེམས། Dorsem)[1] เป็นพระโพธิสัตว์ในคติศาสนาพุทธมหายานและวัชรยาน ที่ปรากฏในวรรณกรรมพุทธมากมาย ในประเด็นหลักของพระสูตรเช่น ไวโรจนาภิสัมโพธิสูตร, วัชรเศขรสูตร และ นวยูหสูตร ในพระไตรปิฎกญิงมา และในวรรณกรรมซ็อกเซ็นมากมาย เช่น กุลยราชตันตระ และ พระสูตรกระจกหทัยพระวัชรสัตว์ ในศาสนาพุทธแบบจีนและชินกง ตามธรรมเนียมมองว่าพระวัชรสัตว์เป็นพระสังฆาจารย์ลำดับที่สอง รองจากพระไวโรจนพุทธเจ้าตามตำนานของคุไคเล่าเรื่องอ้างบันทึกของพระอโมฆวัชระว่า พระนาคารชุนพบพระวัชรสัตย์ในเสาเหล็กแห่งหนึ่งในอินเดียใต้ และประกอบพิธีอภิเษกให้พร้อมส่งมอบคำสอนที่เรียนรู้จากพระไวโรจนะในพระมหาไวโรจนสูตร กระนั้นคุไคไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดใดเกี่ยวกับพระวัชรสัตว์อีก[2] มนตร์สำคัญขอบพระวัชรสัตว์คือมนตร์ร้อยพยางค์ (หรือ พระคาถาร้อยคำ) ซึ่งปรากฏใน สรวตถาคต-ตัตตวสังครห์[3] ซึ่งปรากฏหลักฐานเก่าแก่ที่สุดในรูปของบทรวมมนตร์แปลภาษาจีนของพระวัชรโพธิ (ประมาณปี 671–741) จากปี 722[4] อ้างอิง
|