พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต)
พระสุนทรราชวงศาฯ หรือ ท้าวฝ่ายบุต เจ้าเมืองยศสุนทร องค์ที่ 3 และเป็นพระโอรสของพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช เจ้าประเทศราชผู้ครองนครจำปาศักดิ์ องค์ที่ 3 อีกทั้งยังสืบเชื้อสายมาจากพระอัยกา (ปู่) คือ พระวรราชปิตา พระอัยยิกา (ย่า) คือ พระนางบุสดีเทวี และพระปัยกา (ปู่ทวด) คือ เจ้านอง ทรงเป็นปฐมราชวงศ์แสนทิพย์นาบัว ปฐมเจ้าผู้สร้างนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ส่วนพระมารดาเป็นหญิงชาวลาวเวียงจันทน์ ประวัติพระสุนทรราชวงศาฯ หรือ ท้าวฝ่ายบุต เป็นพระโอรสของพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช เจ้าประเทศราชผู้ครองนครจำปาศักดิ์ องค์ที่ 3 สมภพที่บ้านสิงห์ท่า เมื่อปี พ.ศ. 2317 ทรงอภิเสกสมรสกับเจ้านางพรหมมา มีพระโอรส 2 องค์ คือ ท้าวเหม็น และท้าวพระเมือง พ.ศ. 2334 เกิดเหตุกบฏอ้ายเชียงแก้วที่อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ทางฝ่ายนครจำปาศักดิ์ไม่สามารถรับมือได้ เนื่องจากพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ในเวลานั้น ถึงแก่พิราลัยกะทันหันหลังจากได้รับทราบข่าวศึก (ก่อนหน้านั้นพระเจ้าองค์หลวงฯ เองก็ประชวรเรื้อรังมานานแล้ว) ท้าวฝ่ายหน้า ได้นำท้าวคำสิงห์ และท้าวฝ่ายบุต พระโอรสทั้งสองไปร่วมมือกับพระประทุมราชวงศา (ท้าวคำผง) เจ้าประเทศราชผู้ครองเมืองอุบล ผู้เป็นพระเชษฐา ยกทัพไปปราบกบฏอ้ายเชียงแก้วจนราบคาบ และท้าวฝ่ายหน้าได้จับตัวอ้ายเชียงแก้วประหารชีวิตที่แก่งตะนะ (อยู่ในแม่น้ำมูล ระหว่างอำเภอพิบูลมังสาหารกับอำเภอสิรินธรในปัจจุบัน) ก่อนหน้าที่กองทัพเมืองนครราชสีมาจะยกมาถึงตามรับสั่งจากกรุงเทพฯ ด้วยความดีความชอบในครั้งนี้ ทำให้เจ้าหน้าได้รับพระราชทานสุพรรณบัฎแต่งตั้งเป็น "พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช"[1] เจ้าประเทศราชผู้ครองนครจำปาศักดิ์ องค์ที่ 3 แลพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชก็ยังให้ท้าวฝ่ายบุต ผู้เป็นพระโอรสลงไปรับราชการสนองที่นครจำปาศักดิ์อีกด้วย พ.ศ. 2370 พระยาราชสุภาวดีจึงกราบบังคมทูลความดีความชอบของท้าวฝ่ายบุตในคราวปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร แต่งตั้งท้าวฝ่ายบุตเป็นพระสุนทรราชวงศา มหาขัตติยชาติ ประเทศราชทวาเวียง ดำรงรักษศักดิยศทฤาไกร ศรีพิไชยสงคราม[2] เจ้าเมืองยศสุนทร องค์ที่ 3 (พ.ศ. 2370-2400) พร้อมพระราชทานพระพุทธรูปสำคัญคือ พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ หรือ พระแก้วหยดน้ำค้าง อันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองยโสธรในปัจจุบัน , พระราชทานเชลยศึกจากนครเวียงจันทน์ จำนวน 500 ครอบครัว และพระราชทานปืนใหญ่ไว้สำหรับเมืองยศสุนทร 1 กระบอก อันมีชื่อว่า "ปืนนางป้อง" ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ที่ศาลหลักเมืองยโสธรมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อท้าวฝ่ายบุตได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นเป็นเจ้าเมืองแล้ว ได้ให้ไพร่พลนำหินศิลาจากบ้านแก้งหินโงม มาสร้างพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานที่มณฑปวัดป่ามะม่วง สร้างวัดขึ้นที่ท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำชี เรียกว่า วัดท่าแขก (หรือวัดศรีธรรมารามในปัจจุบัน) และสร้างวัดขึ้นที่กลางเมือง เรียกว่า วัดกลางศรีไตรภูมิ ไว้เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสืบมา ครองเมืองนครพนมปี พ.ศ. 2378 เมื่อพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมได้หลบหนีไปกับเจ้าอนุวงศ์ แล้วพระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น) จึงได้มอบให้พระสุนทรราชวงศาฯ (ท้าวฝ่ายบุต) เจ้าเมืองยศสุนทร มาว่าราชการเป็นเจ้าเมืองนครพนมเป็นที่เจ้าเมืองนครพนมอีกตำแหน่งหนึ่ง ปี พ.ศ. 2381 พระสุนทรราชวงศาฯ เจ้าเมืองยศสุนทร ได้พยายามเกลี้ยกล่อมให้พระบรมราช (มัง) อดีตเจ้าเมืองนครพนมพร้อมด้วยกรมการเมืองบางคน และบุตรหลานที่อพยพหลบหนีไปกับเจ้าอนุวงศ์ที่เมืองมหาชัยก่องแก้วทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กลับมาอยู่ที่เมืองนครพนมตามเดิม รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชดำริว่าพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมก็ชราภาพ และป่วยเป็นคนพิการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระสุนทรราชวงศาฯ เป็นผู้ครองเมืองนครพนมและครองเมืองยศสุนทรทั้งสองเมือง แม้จะได้ครองทั้ง2เมืองแต่ทรงพระราชทานนามบรรดาศักดิ์เท่าเดิมคือตำแหน่งเจ้าเมืองขึ้นของสยามพร้อมเครื่องยศ คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกระโถนทองคำหนึ่ง โต๊ะเงิน คาวหวาน กระบี่บั้งทองหนึ่ง ปืนคาบศิลาคอลาย 2 กระบอก เสื้อกำมะหยี่ติดขลิบแถบทองตัวหนึ่ง หมวกตุ้มปี่ยอดทองคำประดับพลอยหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วตัวหนึ่ง เสื้อญี่ปุ่นลายเขียนตัวหนึ่ง แพรโล่ผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง และสัปทนสักหลาดคันหนึ่ง เป็นเครื่องยศบรรดาศักดิ์ [3] นอกจากนั้นยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ในเมืองนครพนม ดังนี้ ท้าวจันโท น้องพระบรมราชา (มัง) เป็นอุปราช ท้าวอรรคราช บุตรพระบรมราชา (มัง) เป็นราชวงศ์ ท้าวอินทวงศ์ เมืองยศสุนทร เป็นราชบุตร ในระหว่างที่พระสุนทรราชวงศาฯ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองนครพนม อยู่นานถึง 22 ปี ได้มีเหตุการณ์และตั้งเมืองขึ้นใหม่โดยยกกองทัพออกไปกวาดต้อนผู้คนทางฝั่งซ้าย แม่น้ำโขง (ดินแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน) คือจากเมืองวัง เมืองพิณ เมืองนอง เมืองเซโปน เมืองคำเกิด เมืองคำม่วน เมืองคำอ้อคำเขียว เมืองแสก เมืองเชียงฮ่ม เมืองผาบัง ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ คือ ผู้ไท ข่า กะโซ่ กะเลิง แสก ย้อ โย้ย ให้มาตั้งขึ้นเป็นเมืองต่าง ๆ ในท้องที่เมืองนครพนม เมืองสกลนคร เมืองมุกดาหาร และเมืองกาฬสินธุ์ เกิดขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร [4] เมืองอาทมาต ต่อมาถูกยุบลงเป็นตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม เมืองรามราช[5] ต่อมาถูกยุบลงเป็นตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน เมืองอากาศอำนวย[6] เมืองท่าอุเทน[7] เมืองไชยบุรี[8][9] การสงคราม และคุณูปการณ์พ.ศ. 2369 เกิดสงครามเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์กับกรุงเทพมหานคร ท้าวฝ่ายบุตพร้อมกับท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) (ต่อมาได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นพระปทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคายคนแรก) และท้าวเคน บุตรชายของท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) ได้นำกองกำลังเมืองยศสุนทรเข้าร่วมกองทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดี เข้าตีค่ายเวียงคุกที่เมืองยโสธรแตก เจ้าราชบุตร (โย้) โอรสของเจ้าอนุวงศ์และเป็นเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ยกทัพมาตั้งมั่นที่เมืองอุบล พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ยกทัพจากยโสธรเข้าโจมตีเมืองอุบล ชาวลาวเมืองอุบลลุกฮือขึ้นขับไล่เจ้าราชบุตรออกจากเมือง เจ้าราชบุตรหลบหนีกลับไปยังเมืองจำปาศักดิ์แต่ไม่สามารถเข้าเมืองได้เนื่องจากความวุ่นวายในเมือง พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) จึงสามารถเข้ายึดเมืองจำปาศักดิ์ และจับกุมตัวเจ้าราชบุตรได้ พ.ศ. 2371 เจ้าอนุวงศ์ซึ่งได้หลบหนีไปยังเวียดนามราชวงศ์เหงียน และได้กลับมายังเมืองเวียงจันทน์พร้อมคณะทูตของพระจักรพรรดิมิญหมั่ง เจ้าอนุวงศ์เข้าลอบสังหารกองกำลังฝ่ายไทยและเข้าครองเมืองเวียงจันทน์อีกครั้ง เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ซึ่งยกทัพมาตั้งมั่นที่เมืองพันพร้าว (ตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย) จึงล่าถอยไปทางใต้ไปยังเมืองยโสธร เจ้าอนุวงศ์จึงส่งพระโอรสเจ้าราชวงศ์ (เหง้า) ยกทัพลาวจากเวียงจันทน์ข้ามแม่น้ำโขงลงมาทางใต้เพื่อตามทัพของเจ้าพระยาราชสุภาวดี เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ได้ยกทัพขึ้นมาตั้งรับที่ค่ายบกหวาน (ตำบลบกหวาน อำเภอเมืองจังหวัดหนองคาย) เจ้าพระยาราชสุภาวดีได้ต่อสู้ตัวต่อตัวกับเจ้าราชวงศ์ (เหง้า) เจ้าพระยาราชสุภาวดีตกจากม้าล้มลง เจ้าราชวงศ์ใช้หอกแทกถูกเฉียดตัวเจ้าพระยาราชสุภาวดีเป็นแผลถลอก[10] เจ้าราชวงศ์จะให้ดาบฟันซ้ำหลวงพิพิธน้องชายของเจ้าพระยาราชสุภาวดีเข้ารับแทนทำให้หลวงพิพิธถูกฟันเสียชีวิต เจ้าพระยาราชสุภาวดีอาศัยจังหวะใช้มีดแทงที่ต้นขาของเจ้าราชวงศ์ประกอบกับฝ่ายไทยยิงปืนถูกเข่าของเจ้าราชวงศ์ล้มลงเสียโลหิตมาก ฝ่ายลาวจึงนำเจ้าราชวงศ์ขึ้นแคร่หามหนีไป เจ้าพระยาราชสุภาวดีแม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บยังคงติดตามเจ้าราชวงศ์ไปแต่ไม่สำเร็จ หลังจากชัยชนะของเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ที่ค่ายบกหวานทำให้เจ้าอนุวงศ์หลบหนีออกจากเวียงจันทน์อีกครั้งไปยังเมืองพวนอาณาจักรเชียงขวาง เจ้าพระยาราชสุภาวดียกทัพกลับไปพันพร้าวอีกครั้งและเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ได้เผาทำลายเมืองเวียงจันทน์ลงอย่างสิ้นเชิง ฝ่ายพระจักรพรรดิมิญหมั่งส่งทูตมาอีกครั้งแต่เจ้าพระยาราชสุภาวดีไม่ไว้วางใจฝ่ายเวียดนามจึงออกอุบายให้จัดงานเลี้ยงให่แก่คณะทูตเวียดนามและสังหารคณะทูตเวียดนามเกือบหมดสิ้น[11] เจ้าน้อยเมืองพวน ได้จับกุมตัวเจ้าอนุวงศ์ส่งมาให้เจ้าพระยาราชสุภาวดีได้สำเร็จ พ.ศ. 2395 พระสุนทรราชวงศาฯ (ท้าวฝ่ายบุต) ได้ติดต่อค้าขายกับเมืองนครราชสีมาและได้รับรองให้ชาวจีนเข้ามาตั้งร้านค้าขายที่เมืองยโสธรเป็นครั้งแรก โดยใช้เกวียนในการขนส่งสินค้า กองเกวียนของพ่อค้าจีนน่าจะใช้เส้นทางนางอรพิม ทางช้างเผือกในการขนส่งสินค้าระหว่างทั้งสองเมืองนี้ ดังนั้นทางสายนี้จึงมีความสำคัญทั้งทางด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อหัวเมืองในแถบนี้ ต่อมาในปีเดียวกัน ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 พระสุนทรราชวงศาฯ (ท้าวฝ่ายบุต) ถูกครหาว่าได้มีการสมคบคิดกับชาวญวน ซึ่งมีความผิดจริง ความผิดนั้นมาจากการที่พระสุนทรราชวงศาได้มีการรับจดหมายจากญวนซึ่งเป็นศัตรูกับทางการสยามในขณะนั้น เเต่พระสุนทรราชวงศาไม่ได้นำไปทูลเกล้าถวายเเด่พระมหากษัตริย์เเห่งกรุงรัตนโกสินทร์ให้ได้ทรงรับทราบ จึงเป็นสาเหตุที่เเท้จริงที่ส่งผลให้พระสุนทรราชวงศาฯ (ท้าวฝ่ายบุต) ถูกปลดออกจากตำเเหน่งเจ้าเมืองนครพนมเเละเมืองยศสุนทร เเละส่วนกลางมีความประสงค์จะให้ส่งตัวท้าวฝ่ายบุตที่พ้นตำเเหน่งเจ้าเมืองเเล้วไปไว้ที่เมืองนครราชสีมา เเต่เนื่องด้วยท้าวฝ่ายบุต ตอนนั้น มีอายุ 78 ปี ซึ่งมีความชราภาพมากเเล้ว ส่วนกลางจึงให้ท้าวฝ่ายบุตกลับมาอาศัยอยู่กับญาติพี่น้องที่เมืองยศสุนทร ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการเเต่งตั้งเจ้าเมืองยศสุนทรคนใหม่ เเต่ยังคงให้พระศรีวรราช (ท้าวเหม็น) บุตรท้าวฝ่ายหน้า เเลกรมการเมืองปกครองเมืองสืบต่อมา[12] การก่อตั้งบ้านเมืองขึ้นในภาคอีสานในระหว่างที่พระสุนทรราชวงศาฯ เป็นเจ้าเมืองนครพนม ท่านได้ยกกำลังออกไปกวาดต้อนผู้คนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ให้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนขึ้นเป็นชุมชนจนพัฒนากลายเป็นเมืองในเขตเมืองนครพนม เมืองสกลนคร เมืองมุกดาหาร และเมืองกาฬสินธุ์ ดังนี้
การศาสนาพระสุนทรราชวงศาฯ ผู้นี้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอันมาก นำไพร่พลสร้างพระอารามขึ้นหลายแห่ง ดังนี้ พ.ศ. 2378 พระสุนทรราชวงศาฯ ขึ้นไปครองเมืองนครพนม ได้ขอเวนคืนที่ดินแล้ว มีรับสั่งให้เมืองแสน เมืองจันทร์ ท้าวเพียกรมการเมืองนำไพร่พลชาวเมืองนครพนมสร้างวัดขึ้น 1 แห่ง และพระเจดีย์อีก 1 องค์ ก็เป็นที่สง่างามแก่เมืองนครพนมเท่าทุกวันนี้ (ยังไม่ทราบชัดเจนว่าคือวัดใด) พ.ศ 2395 หลังจากที่ท้าวฝ่ายบุต กลับลงมาอาศัยอยู่ที่เมืองยศสุนทร มีรับสั่งให้เมืองแสน เมืองจันทร์ ท้าวเพียกรมการเมืองนำไพร่พลสร้างวัดขึ้นตรงบริเวณประหารชีวิตเจ้าอุปราชบุตร และเจ้าคำม่วน ซึ่งทั้งสองมีศักดิ์เป็นหลานอาว์ของพระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) ด้วยความอาลัยรันทดในวิบากกรรมของท่านทั้งหลายที่ได้สิ้นชีวิตโดยการถูกประหารใน "คุกเพลิง" และปักเขตสร้างพระอุโบสถครอบตรงที่คุกเพลิงนั้นเสีย ปักเขตวัดตั้งแต่หนองแห้วข้างเมือง หนองแกอยู่กลางวัด เกณฑ์ไพร่พลขุดดืนถมเป็นลานวัดให้ราบเสมอกันดี ทิศใต้วัดล้อมด้วยเสาไม้แก่น ทิศตะวันออก ทิศเหนือ แลทิศใต้ล้อมด้วยกำแพงก่อดินอิฐ พร้อมปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ จำนวน 8 ต้น เรียงรายเป็นระยะ สร้างเสนาสนะสำหรับเป็นที่อาศัยแก่พระภิกษุสามเณร และนิมนต์พระครูเผือกมาจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาส พระสุนทรราชวงศาฯ สละข้าไพร่ชายหญิง จำนวน 10 ครัวเรือน ให้เป็นข้าโอกาส (เลขวัด) ดูแลวัดสืบไป และประทานนามวัดว่า วัดท่าชี แต่ประชาชนชาวเมืองนิยมเรียกว่า วัดท่าแขก หรือ วัดนอก ทูลเกล้าถวายช้างเผือกในขณะที่ท้าวฝ่ายบุต ซึ่งขณะนั้นหลังถูกปลดจากตำเเหน่งเจ้าเมือง ได้พำนักอยู่ที่เมืองยศสุนทร โดยมีพระศรีวรราช (ท้าวเหม็น) บุตรชาย รักษาราชการเมืองเเทน ก็ได้แต่งหมอช้างควาญช้างจากบ้านเมืองไพร แขวงเมืองยศสุนทรไปแทรกโพนช้างทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงได้ช้างสีประหลาดมา 2 ครา ภายในระยะเวลา 2 ปีติดต่อกัน และได้ฝึกหัดช้างสีประหลาดจนชำนาญ จึงนำลงไปทูลเกล้าฯ ที่กรุงเทพมหานคร ดังปรากฏในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ความว่า
ครั้นแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราความชอบให้แก่ท้าวฝ่ายบุต คือ เหรียญชั้นตริยาภรณ์ และเครื่องยศอื่นสมควรแก่อดีตท่านเจ้าเมืองนครพนมเเละเมืองยศสุนทร [12][13] พระญาติวงศ์พระสุนทรราชวงศาฯ (ท้าวฝ่ายบุต) มีพระญาติวงศ์ทั้งหมด 5 พระองค์ เป็นพระเชษฐา 1 พระองค์ คือ
และมีพระอนุชา พระขนิษฐา อีก 4 พระองค์ คือ
ถึงเเก่กรรมพ.ศ. 2400 พระสุนทรราชวงศาฯ (ท้าวฝ่ายบุต) ได้ถึงแก่กรรม แลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบศิลาปลงศพ พระอิสริยยศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
สกุลที่สืบเชื้อสาย
พงศาวลี
อ้างอิง
|