Share to:

 

พระองคุลิมาลเถระ

พระองคุลิมาลเถระ
องคุลีมาล (ขวา) ไล่ตามพระพุทธเจ้าหมายจะตัดนิ้วของพระองค์เป็นนิ้วที่ 1,000 ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะโปรดให้กลับใจบวชเป็นพระภิกษุ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อเดิมอหิงสกะ
ชื่ออื่นอหิงสกะ, พระองคุลิมาล, อหิงสกะกุมาร, องคุลิมาลโจร, โจรองคุลิมาล
สถานที่เกิดเมืองสาวัตถี
สถานที่บวชป่าองคุลิมาล
วิธีบวชเอหิภิกขุอุปสัมปทา
สถานที่บรรลุธรรมป่าองคุลิมาล
อาจารย์อาจารย์ในเมืองตักสิลา
ฐานะเดิม
ชาวเมืองสาวัตถี
บิดาปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิ นามว่า "คัคคะ"
มารดานางมันตานี
วรรณะเดิมวรรณะแพศย์
สถานที่รำลึก
สถานที่ซากบ้านมารดาองคุลิมาล ภายในเมืองสาวัตถี และป่าองคุลีมาล สถานที่หลบซ่อนตัว บวช และบรรลุธรรมของท่าน
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

องคุลิมาล หรือ พระองคุลิมาลเถระ เป็นบุคคลสำคัญในยุคต้นแห่งพุทธศาสนา โดยเฉพาะตามพุทธประวัติพุทธฝ่ายเถรวาท เดิมนั้นเป็นโจรปล้นฆ่าคน แต่ภายหลังมีศรัทธาในพุทธศาสนา ได้กลับใจบวชเป็นพระภิกษุ และบรรลุเป็นพระอรหันต์ อีกทั้งมียังบทสวดของท่านอีกด้วย ชื่อ อังคุลิมาลปริตร คำว่า องคุลิมาล นั้นมาจากภาษาบาลี องฺคุลิมาล, จาก องฺคุลิ (นิ้วมือ) + มาล (มาลัย สร้อยคอ สาย แถว) แปลว่า ผู้มีนิ้วมือเป็นมาลัย

แต่เดิมนั้นองคุลิมาลชื่อว่า อหิงสกะ เป็นบุตรของปุโรหิตในราชสำนักของ พระเจ้าปเสนทิโกศล เมืองสาวัตถี บิดามีนามว่า "คัคคะ" มารดามีนามว่า นางมันตานี อหิงสกะได้ไปเรียนวิชาที่เมืองตักกสิลา[1] และสามารถเรียนได้รวดเร็วอีกทั้งยังปรนนิบัติอาจารย์อย่างดี จนเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์อย่างมาก เป็นเหตุให้ศิษย์อื่นริษยา จึงยุยงอาจารย์ว่าองคุลิมาลคิดจะทำร้าย อาจารย์จึงคิดจะกำจัดองคุลิมาลเสีย โดยบอกกองคุลิมาลว่า ถ้าจะสำเร็จวิชาต้องฆ่าคนให้ได้ 1,000 คนเสียก่อน องคุลิมาลจึงออกเดินทางฆ่าคน แล้วตัดนิ้วหัวแม่มือมาคล้องที่คอเพื่อให้จำได้ว่าฆ่าไปกี่คนแล้ว เหตุนี้เอง อหิงสกะจึงได้รับสมญานามว่า องคุลิมาล เมื่อฆ่าจนครบ 999 คน ก็มาพบพระพุทธเจ้า และได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ออกบวชเป็นพุทธสาวก[2]

เรื่องราวขององคุลิมาลมีการเล่าขยายความเอาไว้ในเรื่อง กามนิต ของคาร์ล อดอล์ฟ เจลเลอร์รุป กวีชาวเดนมาร์ก

อ้างอิง

  1. พระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร.และคณะ. (2557). พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : Thai Tipitaka Dictionary Mahachulalongkornrajavidyalaya University.รายงานการวิจัย, กองวิชาการ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หน้า 271 หรือ ขุ.อป.(ไทย) 32/585/89
  2. พระไตรปิฎก เล่มที่ 13 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 5 มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ อังคุลิมาลสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 15-7-52
Kembali kehalaman sebelumnya