พิมพิสาร (ตามศาสนาพุทธ) หรือ เศรณิก (Śreṇika ) และ เสนีย์ (Seṇiya ) ตามประวัติศาสตร์เชน (ป. 558 – 491 ปีก่อน ค.ศ. [ 4] [ 5] หรือ ป. 472 – 405 ปีก่อน ค.ศ. [ 6] [ 7] ) เป็นกษัตริย์แห่งมคธ (ค. 543 – 492 ปีก่อน ค.ศ. [ 8] หรือ ค. 457 – 405 ปีก่อน ค.ศ. [ 6] [ 9] ) และอยู่ในราชวงศ์หรยังกะ [ 10] พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าภัตติยะ การขยายอาณาจักร โดยเฉพาะการผนวกอาณาจักรอังคะ ทางตะวันออก ถือเป็นการวางรากฐานสู่การขยายตัวของจักรวรรดิเมารยะ [ 12]
พระราชประวัติ
แผนที่ที่ราบลุ่มคงคาตะวันออกก่อนหน้าการพิชิตของพระเจ้าพิมพิสาร (แสดงลิจฉวีในสีเขียว และแยกมัลละออกจากกัน)
พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าภัตติยะ พระองค์ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมพรรษา 15 พรรษใน 543 ปีก่อน ค.ศ. พระองค์สถาปนาราชวงศ์หรยังกะ และจัดตั้งป้อมปราการในหมู่บ้านแถวแคว้นมคธ ซึ่งภายหลังกลายเป็นนครปาฏลีบุตร เมืองหลวงแรกของพระเจ้าพิมพิสารอยู่ที่ Girivraja (ระบุเป็นราชคฤห์ ) พระองค์ทำสงครามต่ออังคะ ซึ่งอาจเป็นการแก้แค้นต่อความปราชัยของพระราชบิดาด้วยน้ำพระหัตถ์ของ Brahmadatta
พันธมิตรทางการสมรส
ถูกจำคุก
คุกหลวงเมืองราชคฤห์ สถานที่พระเจ้าพิมพิสารถูกจองจำจนเสด็จสวรรคตในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ
ตามศาสนาพุทธ พระเจ้าพิมพิสารถูกพระเจ้าอชาตศัตรู พระราชโอรสที่ได้รับอิทธิพลจากเทวทัต (ภิกษุ ) จำคุกใน ป. 493 ปีก่อน ค.ศ. แล้วขึ้นครองราชย์ต่อ ส่วนในศาสนาเชนระบุว่าพระเจ้าพิมพิสารทรงทำการอัตวินิบาตกรรม[ 15]
รายงานตามธรรมเนียม
พุทธ
พระเจ้าพิมพิสารทรงต้อนรับพระโคตมพุทธเจ้า ภาพแกะสลักบนงาช้าง
พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงพบกับพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกที่กรุงราชคฤห์ เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังผนวชได้ไม่นานและยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่[ 16] พระเจ้าพิมพิสารทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์กำลังเสด็จดำเนินไปในเมืองเพื่อบิณฑบาต และด้วยพระรูปอันงาม, กิริยาอันสำรวม พร้อมกับลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ ของพระโพธิสัตว์ทำให้พระเจ้าพิมพิสารเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างมาก จึงทรงส่งคณะราชทูตติดตามไปเพื่อสืบว่าพระโพธิสัตว์จะเสด็จไป ณ ที่ไหน เมื่อทรงทราบความแล้วพระเจ้าพิมพิสารจึงได้รีบเสด็จตามไปเพื่อสนทนากับพระโพธิสัตว์ โดยที่พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงเสนอที่จะยกราชสมบัติให้แล้วจึงตรัสถามถึงพระชาติ พระโพธิสัตว์ได้ทรงตอบคำถามนั้น [ของพระเจ้าพิมพิสาร] ทรงกล่าวถึงเหตุผลที่ทำให้ตัดสินพระทัยออกผนวช แล้วจึงทรงปฏิเสธข้อเสนอด้วยเหตุผลว่าพระทัยของพระองค์ไม่ได้ทรงยินดีในกามสุข แต่ทรงมีความยินดีในการบำเพ็ญเพียรเพื่อความหลุดพ้นเท่านั้น[ 17]
หลังจากที่พระสิทธัตถะโพธิสัตว์ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แล้ว ได้ทรงแสดงธรรมโปรดพระปัญจวัคคีย์ ,[ 18] [ 19] [ 20] [ 21] [ 22] ยสกุลบุตร พร้อมทั้งบิดา มารดา ภรรยาเก่าและเพื่อนอีก 54 คน,[ 23] ภัททวัคคีย์ 30 คน,[ 24] และชฎิล 3 พี่น้องกับบริวาร 1,000 องค์[ 25] [ 26] ไปตามลำดับ แล้วได้เสด็จพร้อมด้วยหมู่ภิกษุผู้เป็นอดีตชฎิล 1,003 รูปมาถึงเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารได้ยินชื่อเสียงของพระพุทธองค์มาก่อนแล้วว่าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ จึงพร้อมด้วยพราหมณ์คหบดีชาวมคธ 12 นหุต (12 หมื่น หรือ 120,000) เสด็จมาเข้าเฝ้า หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เปลื้องความสงสัยของชาวเมืองราชคฤห์ที่คิดว่า ระหว่างพระพุทธเจ้ากับชฎิลนั้นใครเป็นอาจารย์ของใคร ด้วยการตรัสเชื้อเชิญให้พระอุรุเวลกัสสปะ ผู้เป็นหัวหน้าของภิกษุอดีตชฎิล 1,002 รูปถึงเหตุผลที่ทำให้เลิกบูชาไฟ เมื่อชาวราชคฤห์หมดความสงสัยแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนา คือ อนุปุพพิกถา และอริยสัจ 4 เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวารอีก 11 นหุตะได้บรรลุอริยผล ส่วนอีก 1 นหุตะได้แสดงตนเป็นอุบาสก[ 27]
พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน [ 28] [ 29] มีพระอัครมเหสีพระนามว่าพระนางเวเทหิ เป็นพระกนิษฐาในพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้พระกนิษฐาของพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมเหสีเช่นกัน พระเจ้าพิมพิสารมีพระราชโอรสนามว่าอชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู) โหร ทำนายว่าพระโอรสองค์นี้จะทำปิตุฆาต แต่พระเจ้าพิมพิสารก็มิสนพระทัยต่อคำทำนาย ทรงอบรมให้การศึกษาพระโอรสเป็นอย่างดี เจ้าชายก็อยู่ในพระโอวาทเป็นอย่างดี แต่พอเจ้าชายน้อยได้รู้จักพระเทวทัต ถูกพระเทวทัตหลอกให้เห็นผิดเป็นชอบ จนจับพระเจ้าพิมพิสารขังคุกให้อดพระกระยาหาร และทำการทรมานต่างๆ เช่น กรีดพระบาทของพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อให้เดินจงกรมทำสมาธิไม่ได้ เป็นต้น จนพระองค์เสด็จสวรรคต ไปเกิดเป็นยักษ์ชื่อ "ชนวสภะ"[ 30] [ 31] ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรม ทรงอุปถัมภ์ศาสนาพุทธ เป็นอย่างดี ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลายทั่วแคว้นมคธ[ 32]
อ้างอิง
↑ Chandra, Jnan (1958). "SOME UNKNOWN FACTS ABOUT BIMBISĀRA". Proceedings of the Indian History Congress Proceedings of the Indian History Congress . Indian History Congress. 21 : 215–217.
↑ Hugh George Rawlinson (1950), A Concise History of the Indian People . Oxford University Press, p. 46.
↑ F. Max Muller (2001): The Dhammapada And Sutta-nipata . Routledge (UK), p. xlvii. ISBN 0-7007-1548-7 .
↑ 6.0 6.1 Sarao, K. T. S. (2003), "The Ācariyaparamparā and Date of the Buddha." , Indian Historical Review , 30 (1–2): 1–12, doi :10.1177/037698360303000201
↑ Keay, John: India: A History. Revised and Updated : "The date [of Buddha's meeting with Bimbisara] (given the Buddhist 'short chronology') must have been around 400 BC."
↑ V. K. Agnihotri (ed.), Indian History . Allied Publishers, New Delhi 26 2010, p. 166 f.
↑ Keay, India: A History
↑ Peter N. Stearns (2001), The Encyclopedia of World History . Houghton Mifflin, p. 76 ff. ISBN 0-395-65237-5 .
↑ "Bimbisara" . Encyclopædia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ 25 January 2013 .
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
↑ "มจร. 1. ปัพพัชชาสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ 25" . 84000.org .
"[410]
พระพุทธองค์ครั้นบรรพชาแล้ว
ทรงเว้นบาปกรรมทางกายและละวจีทุจริตได้
ทรงชำระอาชีวะให้หมดจด
[411]
พระพุทธองค์ผู้มีพระลักษณะอันประเสริฐทั่วพระวรกาย
เสด็จไปถึงกรุงราชคฤห์ คิริพพชนคร แคว้นมคธ
ได้เสด็จเที่ยวไปเพื่อทรงบิณฑบาต".
↑ "มจร. 1. ปัพพัชชาสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ 25" . 84000.org .
↑ "มจร. 6. ปัญจวัคคิยกถา ว่าด้วยภิกษุปัญจวัคคีย์ เป็นต้น : พระไตรปิฎกเล่มที่ 4" . 84000.org .
↑ "มจร. เรื่องทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ : พระไตรปิฎกเล่มที่ 4" . 84000.org .
↑ "มจร. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ 4" . 84000.org .
↑ "มจร. ภิกษุปัญจวัคคีย์ทูลขอการบรรพชาอุปสมบท : พระไตรปิฎกเล่มที่ 4" . 84000.org .
↑ "มจร. อนัตตลักขณสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ 4" . 84000.org .
↑ "มจร. เรื่องยสกุลบุตร บิดาตามหายสกุลบุตร เป็นต้น : พระไตรปิฎกเล่มที่ 4" . 84000.org .
↑ "มจร. 10. ทุติยมารกถา ว่าด้วยมาร เรื่องที่ 2 เป็นต้น : พระไตรปิฎกเล่มที่ 4" . 84000.org .
↑ "มจร. เรื่องชฎิล 3 พี่น้อง เป็นต้น : พระไตรปิฎกเล่มที่ 4" . 84000.org .
↑ "มจร. เรื่องชฎิล 3 พี่น้อง เป็นต้น : พระไตรปิฎกเล่มที่ 4" . 84000.org .
↑ "มจร. เรื่องสวนตาลหนุ่ม เป็นต้น : พระไตรปิฎกเล่มที่ 4" . 84000.org .
↑ "[56] ...ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีปราศจากมลทินได้เกิดแก่พราหมณ์คหบดีชาวมคธ 11 นหุต ซึ่งมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข ณ ที่นั่งนั้นแลว่า 'สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา...'”
"มจร. เรื่องสวนตาลหนุ่ม เป็นต้น : พระไตรปิฎกเล่มที่ 4" . 84000.org .
↑ "[281] (ชนวสภะยักษ์ ในอดีตคือพระเจ้าพิมพิสาร ทูลกับพระพุทธเจ้าว่า ) 'ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่มีทางตกต่ำ ทราบดีถึงความไม่ตกต่ำมาช้านาน ข้าพระองค์ตั้งความปรารถนาไว้เพื่อเป็นพระสกทาคามี ฯลฯ"
"มจร. 5. ชนวสภสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ 10" . 84000.org .
↑ "[280] 'อานนท์ ทันใดนั้น ยักษ์ที่ไม่ปรากฏตัว เปล่งเสียงให้ได้ยินว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ชื่อชนวสภะ ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ชื่อชนวสภะ’ อานนท์ ชื่อชนวสภะนี้ เธอรู้จัก (หรือ) เคยได้ยินมาก่อนหรือไม่' ฯลฯ"
"มจร. 5. ชนวสภสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ 10" . 84000.org .
↑ "[280] ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "อานนท์ ขณะที่มีเสียงดังขึ้น ยักษ์มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ปรากฏขึ้นต่อหน้าเรา ยักษ์นั้นเปล่งเสียงให้ได้ยินอีกเป็นครั้งที่ 2 ว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์คือพิมพิสาร ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์คือพิมพิสารครั้งนี้เป็นครั้งที่ 7 ที่ข้าพระองค์เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับท้าวเวสวัณมหาราชจุติจากสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชนี้แล้ว สามารถไปเกิดเป็นพระราชาในโลกมนุษย์"
"มจร. 5. ชนวสภสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ 10" . 84000.org .
↑ ชาดกและประวัติพุทธสาวก-พุทธสาวิกา โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม
ข้อมูล
Dundas, Paul (2002) [1992], The Jains (Second ed.), Routledge , ISBN 0-415-26605-X
Jain, Hiralal; Upadhye, Dr. Adinath Neminath (2000), Mahavira his Times and his Philosophy of Life , Bharatiya Jnanpith
Jain, Kailash Chand (1972), Malwa Through the Ages (First ed.), Motilal Banarsidass , ISBN 978-81-208-0805-8
Jain, Kailash Chand (1991), Lord Mahāvīra and His Times , Motilal Banarsidass , ISBN 978-81-208-0805-8
Jaini, Padmanabh S. (1998) [1979], The Jaina Path of Purification , Delhi : Motilal Banarsidass , ISBN 81-208-1578-5
Raychaudhuri, Hemchandra (1923), Political History of Ancient India , University of Calcutta
Sastri, Kallidaikurichi Aiyah Nilakanta , บ.ก. (1988) [1967], Age of the Nandas and Mauryas (Second ed.), Delhi : Motilal Banarsidass , ISBN 81-208-0465-1
Sen, Sailendra Nath (1999) [1988], Ancient Indian History and Civilization (Second ed.), New Age International Publishers, ISBN 81-224-1198-3
Singh, G. P. , Early Indian Historical Tradition and Archaeology , p. 164
Singh, Upinder (2016), A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century , Pearson Education , ISBN 978-93-325-6996-6
von Glasenapp, Helmuth (1999), Jainism: An Indian Religion of Salvation [Der Jainismus: Eine Indische Erlosungsreligion ], Shridhar B. Shrotri (trans.), Delhi : Motilal Banarsidass , ISBN 81-208-1376-6
แหล่งข้อมูลอื่น
แผนผังหรยังกวงศ์