Share to:

 

พิทักษ์ จารุสมบัติ

พิทักษ์ จารุสมบัติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 (74 ปี)
อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ (2562–ปัจจุบัน)

พลตำรวจโท พิทักษ์ จารุสมบัติ (เกิด 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2493) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 4 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ

ประวัติ

พล.ต.ท.พิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ที่อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพี่ชายแท้ๆ ของนายพินิจ จารุสมบัติ นักการเมืองที่มีชื่อเสียงและอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง[1] จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา ปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (รัฐศาสตรบัณฑิต-ร่วมรุ่นเดียวกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) และปริญญาโท มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ[2]

รับราชการเป็นตำรวจ โดยมีตำแหน่งสำคัญ ๆ ได้แก่ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ดูแลพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด, รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ดูแลพื้นที่ภาคตะวันออก, รองผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล และรองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

หลังเกษียณอายุราชการในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 พล.ต.ท.พิทักษ์ ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่เขต 4 จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งประกอบไปด้วย อำเภอบ้านโพธิ์, อำเภอบางปะกง และอำเภอแปลงยาว โดยต้องแข่งขันกับนายวุฒิพงศ์ ฉายแสง จากพรรคเพื่อไทย และเป็นฝ่ายได้รับเลือกตั้งไป โดย พล.ต.ท.พิทักษ์ได้คะแนนไปทั้งสิ้น 59,036 คะแนน ขณะที่นายวุฒิพงศ์ได้ไป 36,723 คะแนน [3] [4]

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "ปชป."เปิดตัว"โหร ส.ว.-พี่ชายพินิจ จารุสมบัติ"ชิงเก้าส.ส.ฉะเชิงเทรา"เดือนเต็มดวง"ลุยเชียงใหม่ จากมติชน
  2. [1]เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วุฒิพงศ์ ฉายแสง/พล.ต.ท.พิทักษ์ จารุสมบัติ จากข่าวสด
  3. "พล.ต.ท.พิทักษ์ จารุสมบัติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-08. สืบค้นเมื่อ 2012-02-14.
  4. ตามไปดู เขตเลือกตั้ง พลิกล็อก โค่นเซียน แบบชนิด"หลงจู๊"คลั่ง นี่มันไต้ฝุ่นนี่หว่า !!! จากมติชน
  5. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๔, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔
Kembali kehalaman sebelumnya