มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (อังกฤษ: Srinakharinwirot University; อักษรย่อ: มศว – SWU) ถือกำเนิดจาก โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ประสานมิตร ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2492 และต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น "วิทยาลัยวิชาการศึกษา" เมื่อ พ.ศ. 2497 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัย" เมื่อ พ.ศ. 2517 นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 11 ของประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยได้ทำการเรียนการสอนมาแล้วกว่า 75 ปี มีรองศาสตราจารย์ ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยคนปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่ใช้คำว่า "นิสิต" เรียกผู้เข้าศึกษา โดยคำว่า "นิสิต" มีความหมายว่า "ผู้อยู่อาศัยชายคา" โดยคำว่า "นิสิต" ได้เริ่มใช้ครั้งแรกในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงที่เป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับการสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยถือว่าอยู่นอกเมือง การคมนาคมเพื่อมาศึกษาเป็นการยากลำบาก ดังนั้น ผู้ที่มาเรียนส่วนใหญ่จำเป็นต้องพักภายในหอพักของมหาวิทยาลัย และเรียกบุคคลที่อาศัยในห้องปฏิบัติการว่านิสิตเช่นเดียวกันด้วย ซึ่งในภายหลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยพะเยา ได้เปิดอยู่นอกเมือง และผู้ที่มาศึกษาก็จำเป็นต้องอยู่หอพักเช่นเดียวกัน จึงได้ใช้คำว่า "นิสิต" เช่นเดียวกัน ในปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่าผู้ที่มาเรียนจะไม่ได้พักในหอพักเหมือนในสมัยก่อนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังนิยมเรียกว่า "นิสิต"[4] สำหรับมหาวิทยาลัยดังกล่าว ประวัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แรกเริ่มได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นการผลักดันของ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น โดยจัดตั้งเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2492 เพื่อผลิตวิชาชีพครู ซึ่งกำลังประสบปัญหาขาดแคลนเป็นจำนวนมากในขณะนั้น นับว่าเป็นการเริ่มต้นการศึกษาในระดับวุฒิประกาศนียบัตรครูประถมศึกษา และประกาศนียบัตรครูมัธยมศึกษา มีผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรกคือ หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ (สวัสดิ์ สุมิตร) ในกาลต่อมา พ.ศ. 2496 ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงในขณะนั้น ได้เสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการให้ก่อตั้ง วิทยาลัยวิชาการศึกษา[5] ในยุคสมัยนั้นวิชาชีพครูสูงสุดแค่วุฒิ ป.ม. (ประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม) ซึ่งรับนักเรียกจากระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มาศึกษาต่อเทียบเท่ากับอนุปริญญาเท่านั้น ทำให้ปัญญาชนในสมัยนั้นหันไปเรียนวิชาชีพอื่นที่ได้รับใบปริญญา ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี เป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เข้าชี้แจงให้คณะรัฐบาลเข้าใจถึงเหตุและผลที่จะดำเนินการและสิ่งที่เกิดขึ้น หากให้สามารถเปิดสอนครูถึงระดับปริญญาและสามารถชี้แจงจนเข้าใจร่วมกันได้ ซึ่งในที่สุดที่ประชุมจึงได้มีมติยอมรับ และผ่านพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษาออกมา แต่กว่าที่จะได้มีการยอมรับนั้นค่อนข้างพบอุปสรรคพอสมควร
เพื่อพัฒนาความรู้ทางด้านการศึกษาให้เป็นวิชาชีพที่มีระบบแบบแผนมากขึ้น พร้อมทั้งได้เปิดการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งในระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต โดยมี ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ดำรงตำแหน่งอธิการ และศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชาการศึกษา หลังจากนั้น จึงได้ดำรงตำแหน่งอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา ในระยะนี้ได้มีการตั้งโรงเรียนสาธิต (Demonstration School) เพื่อให้เป็นแปลงทดลองค้นคว้าในระบบการศึกษาพื้นฐานสมัยใหม่ พร้อมกับมีการขยายวิทยาลัยวิชาการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคต่าง ๆ โดยขยายวิทยาเขตปทุมวัน วิทยาเขตบางแสน วิทยาเขตพิษณุโลก วิทยาเขตมหาสารคาม วิทยาเขตสงขลา วิทยาเขตพระนคร และวิทยาเขตพลศึกษา โดยมีวิทยาเขตประสานมิตรเป็นศูนย์กลางการบริหาร ในปี พ.ศ. 2516 ก่อนหน้า เหตุการณ์ 14 ตุลา ในช่วงเวลาที่ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร ดำรงตำแหน่งอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา คณาจารย์ นิสิต และข้าราชการ ได้ร่วมกันเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ปรับฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย และย้ายสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นกับทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ท่ามกลางการปกครองที่เข้มงวดรุนแรงของรัฐบาลทหารในขณะนั้น เพื่อความคล่องตัวในการพัฒนาโครงสร้าง การบริหาร และการเรียนการสอนที่จำกัด ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยและการขยายตัวที่มีความหลากหลายวิชาชีพ ท้ายที่สุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามความหมายที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระราชทานให้กับมหาวิทยาลัยฯ แปลว่า "มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร" มหาวิทยาลัยฯ ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517[6] มีศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยฯ และชื่อมหาวิทยาลัยฯ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ฯ พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงมาเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2517 โดยพระราชทานฯ ชื่อเต็มและความหมายของชื่อดังกล่าว มหาวิทยาลัยมีระบบบริหารจัดการในรูปวิทยาเขตมาจนถึง พ.ศ. 2533 รวมเป็นระยะเวลา 16 ปี และวิทยาเขตในสังกัดตามภูมิภาค ทั้ง 5 แห่ง ได้เจริญขึ้นสมดั่งในเจตนารมณ์ ที่พระราชทานนาม "ศรีนครินทรวิโรฒ" และเริ่มแยกออกไปเป็นมหาวิทยาลัยอิสระ โดยมีการบริหารจัดการและงบประมาณเป็นของตนเอง เพื่อขยายการศึกษาให้คล่องตัวนำความเจริญก้าวหน้าสอดคล้องไปกับบริบทพื้นที่ทุกภูมิภาคขณะที่มหาวิทยาลัยแม่ ในฐานะหลักนั้นก็ขยายตัวเองออกไปที่ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ในปี พ.ศ. 2539 จากยุคก่อตั้ง 7 คณะในอดีตประกอบด้วย คณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะพลศึกษาวิทยาเขตปทุมวัน และบัณฑิตวิทยาลัย เข้าสู่ยุคเป็นมหาวิทยาลัยพาหุศาสตร์ ที่จะเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์ที่มีการจัดการศึกษาให้ครบถ้วนทุกสาขาวิชา ภายหลังจึงผลักดันพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่หยุดนิ่งมาจนถึงปัจจุบัน มีการจัดตั้งคณะสายวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างครบถ้วน ประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์(คณะกายภาพบำบัด) คณะพยาบาลศาสตร์ จวบจนปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประกอบไปด้วยคณะวิชาทั้งสิ้นจำนวน 20 คณะ 3 วิทยาลัย 1 บัณฑิตวิทยาลัย มีหน่วยงานภายใต้มหาวิทยาลัยที่สถานภาพเทียบเท่าเสมอกับ สหกรณ์, สำนัก, ศูนย์, โรง สถาบัน และ คลีนิค จำนวนทั้งหมด 16 หน่วยงาน เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ[7] ได้ส่งผลให้มหาวิทยาลัยปรับโครงสร้างเดิมในพระราชบัญญัติรูปแบบมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ หรือ "มหาวิทยาลัยรัฐออกนอกระบบ" ตามราชกิจจานุเบกษาเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน โดยนับแต่วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือมีผลบังคับแปรสภาพฯ อย่างสมบูรณ์ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป สัญลักษณ์
ได้มาจากกราฟที่เขียนแทนสมการทางคณิตศาสตร์ Y = ex หมายถึง การเพิ่มหรือการงอกงาม ซึ่งตรงกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า การศึกษาคือความเจริญงอกงาม (สิกขา วิรุฬฺ หิ สมฺปตฺตา)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความหมายว่า "มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร" "วิโรฒ" มาจากคำว่า "วิโรฒ" ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความงอกงามหรือเจริญ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (อ่านว่า สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด) มีชื่อย่อว่า "มศว" (ไม่มีจุด) เขียนอักษรโรมันว่า "Srinakharinwirot University" มีชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า SWU (อ่านว่า สะ-วู)
สีเทา คือ สีของสมอง หมายถึง ความคิดหรือสติปัญญา สีแดง คือ สีของเลือด หมายถึง ความกล้าหาญ สีเทา-แดง จึงหมายถึง มีความกล้าหาญที่จะคิด และมีความคิดอย่างกล้าหาญ การศึกษาตามประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ระบุประเภทและหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ผลิตบัณฑิต บัณฑิตเฉพาะด้าน หรือเน้นด้านบัณฑิตศึกษา วิจัย บริการวิชาการ ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและหน้าที่อื่นตามที่สภามหาวิทยาลัย สภาวิชาการ และอธิการบดีมอบหมาย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มคณะได้ ดังนี้ คณะกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพระดับบัณฑิตศึกษาหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสำนักงานสภามหาวิทยาลัยสำนักงานสภามหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัยและคณะกรรมการต่าง ๆ ของสภามหาวิทยาลัย และหน้าที่อื่นตามที่สภามหาวิทยาลัยหรือนายกสภามหาวิทยาลัยมอบหมาย สำนักงานอธิการบดีสำนักงานอธิการบดีเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่สนันสนุนการบริหารงานของมหาวิทยาลัยเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย และหน้าที่อื่นตามที่อธิการบดีมอบหมาย สถาบันเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่สนับสนุนการวิจัย หรือพันธกิจเฉพาะด้านและหน้าที่อื่นตามที่สภามหาวิทยาลัย สภาวิชาการ และอธิการบดีมอบหมาย ซึ่งสถาบันตามประกาศมหาวิทยาลัยมีดังนี้
อันดับและมาตรฐานมหาวิทยาลัยอันดับมหาวิทยาลัย
นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่ การจัดอันดับโดยเว็บโอเมตริกซ์การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics)[8] ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อยู่ในอันดับที่ 1,270 ของโลก อันดับที่ 478 ของทวีปเอเชีย[9] อันดับที่ 33 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[10] อันดับที่ 13 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[11]
การจัดอันดับโดย Qs มีเกณฑ์การจัดอันดับ ดังนี้
โดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 301-350 ของเอเชีย ที่ตั้งมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตรวิทยาเขตประสานมิตร เป็นวิทยาเขตหลักของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งอยู่เลขที่ 114 ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 เป็นที่ตั้งของคณะและหน่วยงานส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัย ได้แก่
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ตั้งอยู่เลขที่ 63 หมู่ที่ 7 ถนนรังสิต-นครนายก คลอง 16 ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120 โทรศัพท์ 0-2649-5000 โทรสาร 0-3739-5542 ถึง 3 และ 0-3739-5545 ถึง 6 เป็นที่ตั้งของคณะและหน่วยงานได้แก่
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จังหวัดตาก วิทยาลัยโพธิวิชชาลัยตั้งอยู่เลขที่ 209 หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110 โทรศัพท์/โทรสาร 0-5550-8975 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จังหวัดสระแก้ว วิทยาลัยโพธิวิชชาลัยตั้งอยู่เลขที่ 9 หมู่ที่ 3 ตำบลหนองหมากฝ้าย อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว 27160 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย ตั้งอยู่เลขที่ 100 หมู่ที่ 17 ตำบลบ้านสันเกี๋ยง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ 50270 วันสำคัญของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2492 เป็นวันที่กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ที่ถนนประสานมิตร อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร วันที่ 28 เมษายน จึงเป็นวันมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และชาวศรีนครินทรวิโรฒ ควรจะรำลึกถึงปูชนียบุคคลที่สำคัญ 2 ท่าน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อตั้งสถานศึกษาแห่งนี้ คือ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ผู้ดำเนินการซื้อที่ดิน วางผัง บุกเบิกงาน และอีกท่านหนึ่ง ที่ได้ดำเนินการบริหารการศึกษา ได้ดำเนินการบริหารการศึกษาแห่งนี้คู่กันตลอดมาก็คือ หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ (สวัสดิ์ สุมิตร) ผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2497 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ วิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ. 2497 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 71 ตอนที่ 61) ถือเป็นวันยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา และเป็นวันที่ตรงกับวันเกิดของศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรีด้วย และเพื่อเป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี จึงเรียกวันที่ 16 กันยายน เป็นวันสาโรช บัวศรี
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 เป็นวันยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 มหาวิทยาลัยจึงถือเอาวันที่ 29 มิถุนายน เป็นวันยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คือ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร และเพื่อเป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร จึงเรียกวันที่ 29 มิถุนายน เป็นวันสุดใจ เหล่าสุนทร งานเทางามสัมพันธ์กิจกรรมเทางามสัมพันธ์ เกิดขึ้นหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตต่าง ๆ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยทักษิณ แม้ว่าวิทยาเขตต่าง ๆ จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ แต่ด้วยความตระหนักถึงความผูกพันทั้ง 5 มหาวิทยาลัย จึงมีปณิธานที่จะร่วมมือกันในภารกิจอันควรแก่มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงได้ร่วมมือกันจัดงานเทา-งามสัมพันธ์ ขึ้น โดยใช้สี "เทา" ซึ่งเป็นสีประจำโดยรวมของทุกวิทยาเขตเป็นพื้นฐาน และเพิ่มคำว่า "งาม" ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายและมีคุณค่ายิ่ง มีความหมายรวมเป็น "เทา-งามสัมพันธ์" ในปี พ.ศ. 2538 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา หรือมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นเจ้าภาพโดยมีรูปแบบกิจกรรมที่เน้นด้านกีฬาและด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ทั้ง 5 มหาวิทยาลัย โดยอธิการบดีร่วมเล็งเห็นความสำคัญต่อภารกิจของมหาวิทยาลัยและประเทศชาติ จึงได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งามสัมพันธ์ เป็นต้นมา ซึ่งมีข้อตกลงชัดเจนใน 4 ด้าน คือ ด้านการวิจัย ด้านการบริหารวิชาการแก่สังคม ด้านการสร้างความสามัคคีระหว่างมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งาม ตลอดจนถึงการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการกีฬา และด้านการพัฒนาองค์กรบริหาร การจัดการและวิชาการ ในปี พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือเทางามอย่างเป็นทางการ เป็นมหาวิทยาลัยที่ 6 ของกลุ่ม และปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยในเครือทั้งสิ้น 6 แห่งด้วยกัน คือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยพะเยา (อนึ่ง มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ไม่ได้ใช้สีเทาเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย และเป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ไม่ได้เกี่ยวข้องในการเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒโดยตรงเหมือนอีก 4 แห่ง แต่แยกตัวมาจากวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยนเรศวร) สภามหาวิทยาลัย
ทำเนียบผู้อำนวยการ อธิการ และอธิการบดี
บุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่นบทความ
เว็บไซต์
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตองครักษ์
|