วุฒิพงศ์ ฉายแสง
นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นน้องชายของนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ประวัตินายวุฒิพงศ์ ฉายแสง มีชื่อเล่นว่า โก้ เกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2502 ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรของนายอนันต์ ฉายแสง กับนางเฉลียว ฉายแสง เป็นน้องชายของนายจาตุรนต์ ฉายแสง และเป็นพี่ชายของนางฐิติมา ฉายแสง[1] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง วุฒิพงศ์ สมรสกับนันทิภา ฉายแสง มีบุตร 1 คน[1]ชื่อ นายภูมิพัฒน์ ฉายแสง การทำงานนายวุฒิพงศ์ ฉายแสง เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2528 ต่อมาได้หันไปประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ และด้านเกษตร[2] ในด้านการเมืองเคยลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2539 และเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2539 ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และได้รับตำแหน่งดังกล่าวต่อเนื่องในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[3] อีกสมัย ซึ่งสื่อมวลได้วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการตอบแทนนายจาตุรนต์ ฉายแสง ที่คอยเป็นหัวหมู่ให้พรรคไทยรักไทยตลอดมา[4] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่แพ้ให้กับ พล.ต.ท.พิทักษ์ จารุสมบัติ จากพรรคประชาธิปัตย์[5] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ)[6] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 วุฒิพงศ์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ แต่พรรคถูกยุบเสียก่อน จึงทำให้หมดสิทธิ์ในการลงเลือกตั้ง โดยให้สัมภาษณ์ว่า ทันทีที่ทราบว่าพรรคถูกยุบ ตนก็ประกาศสนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ทันที และจะเดินหน้าช่วยอย่างเต็มที่เพื่อช่วยฝ่ายประชาธิปไตย เพราะมีอุดมการณ์เดียวกัน คือไม่เอาการสืบทอดอำนาจ[7] ก่อนจะกลับเข้าพรรคเพื่อไทยในเวลาต่อมา ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 วุฒิพงศ์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรวุฒิพงษ์ ฉายแสง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|